Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1298
Title: SPATIAL SPACE IN URBAN SMALL DWELING A CASE STUDY OF SHOPHOUSE ON CANALSIDE ONG ANG
การศึกษาที่อยู่อาศัยขนาดจำกัดในเมือง : กรณีศึกษา ตึกแถวชุมชนริมคลองโอ่งอ่าง
Authors: Poomipak BOONTHANOM
ภูมิภัค บุญถนอม
Supitcha Tovivich
สุพิชชา โตวิวิชญ์
Silpakorn University. Architecture
Keywords: ตึกแถว / อาคารแถว / ชุมชนริมคลองโอ่งอ่าง
ROW HOUSE / COMMERCIAL BUILDING / ONG ANG CANAL COMMUNITY
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract:             This study is inspired by the issue of living in the small and limited spaces. The community in Ong Ang Canal is then become the case study of this thesis because the row houses around Ong Ang canal are smaller than the general row houses. The reasons are that they were built near the riverside and the area of expansion from building a commercial building on the street. This case study can be divided in to 3 main fields, which are (1) The hidden dimension which is supporting public use (2) The dimension of overlaying space (3) The dimension which is supporting modification and expansion. After collecting data from the 14 samples, the row house can be categorized into 3 major types which are (1) Wooden row house (2) Row house with railing (3) Modern Row house, which can also be divided into 9 types of similar style of the side of the building. By analyzing the collected data from land survey and interview can conclude that the row houses in limited spaces are not enough for living and to do business by the reason that most of the activities occur in the first floor area. It is overused for both working and resting in a day. The sidewalk and public space are used for a stall and a cleaning area, and there is an extension of the canvas to occupy the area. The size of using space affects on the activities which results into an overlaying space. Also, some row houses are modified the rooftop to provide enough space for family members..
            การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ เกิดจากความสนใจในประเด็นของวิถีชีวิตการอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด ที่มีขนาดเล็กและคับแคบ กรณีศึกษาตึกแถวชุมชนริมคลองโอ่งอ่างจึงเป็นที่มาของการทำวิทยานิพนธ์นี้ เนื่องมาจากลักษณะพื้นที่ของตึกแถวอยู่ติดบริเวณริมคลองโอ่งอ่าง และเป็นพื้นที่จากการขยายตัวในการสร้างตึกแถวจากถนน ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีขนาดเล็กกว่าตึกแถวทั่วไป ประเด็นในการศึกษาจึงแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลักๆ คือ มิติที่ซ่อนอยู่เพื่อรองรับโลกของบุคคลและสาธารณะ, มิติที่ซ้อนทับของประโยชน์ใช้สอย และมิติซ่อนอยู่เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนและต่อเติม              การลงภาคสนามในพื้นที่ชุมชนได้ทำการเก็บข้อมูลพื้นที่ภาคสนามทั้งหมด 14 หลัง แบ่งรูปแบบตึกแถวออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ รูปแบบที่ 1 เรือนแถวโครงสร้างไม้ รูปแบบที่ 2 มีการตกแต่งลวดลายราวกันตก และรูปแบบที่ 3 รูปแบบทันสมัย ได้ทำการแบ่งรูปแบบย่อยออกเป็น 9 รูปแบบ ที่มีลักษณะตึกแถวคล้ายคลึงกันตามรูปแบบลักษณะรูปด้านของอาคาร เมื่อนำข้อมูลการลงภาคสนามทั้งการเก็บข้อมูลรางวัดและการสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยไปทำการวิเคราะห์ผ่าน 3 ประเด็น สรุปได้ว่า ลักษณะตึกแถวที่มีข้อจำกัดของพื้นที่นั้น ขนาดของพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการอยู่อาศัย และประกอบกิจการค้าขาย อันเนื่องมาจากลักษณะการใช้สอยพื้นที่และทำกิจกรรมภายในตึกแถวส่วนใหญ่ เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ชั้น 1 เป็นทั้งพื้นที่ขายของและพื้นที่พักผ่อนในช่วงเวลากลางวัน ถูกใช้สอยจนเกินขอบเขตของพื้นที่ โดยมีการใช้พื้นที่ทางเท้า พื้นที่สาธารณะใช้เป็นพื้นที่ตั้งร้านขายของบริเวณด้านหน้าและมีการใช้พื้นที่ทางเท้าบริเวณด้านหลังเป็นครัวและที่ซักล้าง โดยการต่อเติมกันสาดผ้าใบยึดครองพื้นที่และทำการม้วนเก็บในเวลากลางวัน ขนาดของพื้นที่ใช้สอยภายในส่งผลให้พื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆ ซ้อนทับกันโดยปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยตามช่วงเวลา และตึกแถวบางหลังมีการต่อเติมพื้นที่บริเวณดาดฟ้าเพื่อให้เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัว
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1298
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56057207.pdf17.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.