Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1316
Title: The development of interlocking block with fly ash from solid waste to reduce the environmental impact.
การพัฒนาบล็อกประสานผสมขี้เถ้าลอยจากขยะเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Authors: Panapan LERSKITTIKULYOTIN
พนาพรรณ เลิศกิตติกุลโยธิน
Satta Panyakaew
สัทธา ปัญญาแก้ว
Silpakorn University. Architecture
Keywords: ขี้เถ้าลอยจากขยะ
ดินลูกรัง
อิฐบล็อกประสาน
fly ash from solid waste
lateritic soil
interlocking block
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were to develop the interlocking block with fly ash from solid waste to reduce environmental impact. By producing block Portland cement : lateritic soil ratios 1 : 6 and 1 : 7 with substitution of Portland cement with fly ash from 10% to 50%. It is possible to reduce the Portland cement by 50%. As well fly ash from solid waste as 1.336 tons / day. By the block with dimension of 12.5 x 25 x 10 cm. Curing time is from 7 to 42 days. The process starts from the optimal water content to the maximum dry density for Standard Proctor Test. All 12 examples was made and tested physical will be laboratory tested and mechanical properties in accordance with TIS 58 - 2533 and thermal properties. By testing the simulation model width x length x height to 0.50 x 0.50 x 0.45 m. The temperature measurement with standard equipment. A study of contaminants of fly ash from solid waste is found that it pass the standard of EIA. Therefore, fly ash from solid waste can be used as a substitute for Portland cement. The tested results development the interlocking block with fly ash showed that the block Portland cement : lateritic soil ratios 1 : 6 and 1 : 7 with substitution of Portland cement with fly ash to 50%. The compressive strengths were 4.33 MPa and 3.71 MPa at the age of 7 days which was standardized by TIS 58 – 2533. When the test to curing time more than 7 days by compressive strength of up to TIS. 57 - 2533. The test results from the thermal simulation models found block Portland cement : lateritic soil ratios 1 : 7 with substitution of Portland cement with fly ash to 50%. The internal air temperature can be reduced up to 1.20 ºC. The low thermal conductivity coefficient from 1.787 to 1.587 W/m-K. It also has a lower heat dissipation rate from 1.014 mm²/s to 0.750 mm²/s. The heat capacity increased from 1.762 MJ / m³ to 2.117 MJ / m³ compared to the conventional interlocking block. Therefore, the block with fly ash substitution can reduce the impact on the underground environment by landfilling fly ash. Can also heat transfer to buildings. There are also the cost of its production can be reduced to 40 baht per sq.m.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบล็อกประสานที่ทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยขี้เถ้าลอยจากขยะเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการผลิตบล็อกประสานอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ : ดินลูกรัง เท่ากับ 1 : 6 และ 1 : 7 ที่มีการทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยขี้เถ้าลอยจากขยะในปริมาณตั้งแต่ 10% - 50% ซึ่งมีขนาดกว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 12.5 x 25 x 10 cm. ที่อายุบ่มตั้งแต่ 7 – 42 วัน ในกระบวนการจะเริ่มตั้งแต่การหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมต่อความหนาแน่นแห้งสูงสุดด้วยมาตรฐาน Standard Proctor Test ทั้งหมด 12 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบคุณสมบัติเชิงกลตามมาตรฐานมอก.58 – 2533 บล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก ทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพจะการทดสอบด้วยห้องปฏิบัติการ และทดสอบการลดความร้อน โดยการทดสอบกล่องจำลองโมเดลขนาดกว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 0.50 x 0.50 x 0.45 m. ซึ่งวัดค่าอุณหภูมิด้วยอุปกรณ์มาตรฐาน จากการศึกษาข้อมูลสารปนเปื้อนในขี้เถ้าลอยจากขยะที่สำนักงานเทศบาลเมืองจังหวัดภูเก็ต พบว่าสารปนเปื้อนไม่เกินมาตรฐานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) จึงนำขี้เถ้าลอยจากขยะมาทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ได้ ผลการทดสอบการพัฒนาวัสดุบล็อกประสานผสมขี้เถ้าลอยจากขยะพบว่า บล็อกประสานอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ : ดินลูกรัง เท่ากับ 1 : 6 และ 1 : 7 ที่มีการทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยขี้เถ้าลอยจากขยะในปริมาณ 50% สามารถลดปริมาณปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ได้ 50% รวมทั้งยังสามารถปริมาณขี้เถ้าลอยจากขยะได้ 1.336 ton / day โดยมีค่ากำลังรับแรงอัดเท่ากับ 4.33 MPa และ 3.71 MPa ที่อายุบ่ม 7 วัน ซึ่งผ่านมาตรฐานมอก.58 – 2533 บล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก และเมื่อทดสอบที่อายุบ่มมากกว่า 7 วันขึ้นไปจะทำให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงขึ้นถึงมาตรฐานมอก.57 – 2533 บล็อกชนิดรับน้ำหนัก รวมทั้งผลการทดสอบการลดความร้อนจากกล่องจำลองโมเดลพบว่า อัตราส่วน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ : ดินลูกรัง เท่ากับ 1 : 7 ที่มีขี้เถ้าลอยจากขยะในปริมาณ 50% สามารถลดอุณหภูมิอากาศภายในได้สูงสุดถึง 1.20 º C ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำลงจาก 1.787 W/m-K เป็น 1.587 W/m-K รวมทั้งมีค่าการแพร่ความร้อนต่ำลงจาก 1.014 mm²/s เป็น 0.750 mm²/s และมีค่าความจุความร้อนเพิ่มขึ้นจาก 1.762 MJ/m³ เป็น 2.117 MJ/m³ เมื่อเทียบกับบล็อกประสานทั่วไป ดังนั้นการทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยขี้เถ้าลอยสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมใต้ดินด้วยการฝังกลบขี้เถ้าลอยจากขยะ รวมทั้งยังสามารถลดความร้อนที่เข้าสู่อาคารได้ อีกทั้งยังมีราคาต้นทุนการผลิตต่ำกว่าบล็อกประสานโดยทั่วไปถึง 40 baht/sq.m.
Description: Master of Architecture (M.Arch)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1316
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58054201.pdf23.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.