Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1332
Title: Jewelry reminds to the trace of memory
ศิลปะเครื่องประดับระลึกถึงร่องรอยแห่งความทรงจำ
Authors: Songkram BUBPHA
สงคราม บุปผา
Veerawat Sirivesmas
วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: บำบัดรักษา
ศิลปะบำบัด
ศิลปะเครื่องประดับ
Treat
Art Therapy
Art jewelry
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The propose of this research is to create the jewelry, which would be the thing to remind the people who had the bad experience in life or the victims from all assault,and how to recover themselves. The tool of this research is the experience in childhood of designer combine with all data from books and journal  about the  victim from drunkard assault. I heal this victim by using art therapy to create the activity that will be balance the body and mind and this therapy can be the way to discover how to create the jewelry piece. On this research, I found that the main propose of all therapies is to balance between body and mind. The benefit of this therapy is the people can create some jewelry, which present the conflict between mind and the product.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับที่ทำหน้าที่เป็นกุศโลบายในการสอนชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดการพิจารณาได้ง่ายขึ้นในการบำบัดทางใจที่สามารถใช้สื่อสารและช่วยให้มีแรงยึดเหนี่ยวหรือแบ่งเบาภาระความเจ็บปวดในใจทำให้ผ่านพ้นความทุกข์ไปได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เกิดจากการศึกษาพินิจพิเคราะห์พิจารณา จากเหตุการณ์ที่ตนเองประสบขึ้นแต่วัยเยาว์รวมถึง บทความ เอกสาร หนังสือ เป็นต้น โดยการศึกษาและวิเคราะห์ทฤษฎีกระบวนการของพฤติกรรม และผลกระทบของการถูกทำร้ายร่างกายในวัยเด็กสาเหตุจากการเมาสุราที่ก่อให้เกิดบาดแผลทางจิตใจ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาด้วยวิธีต่างๆ จากการศึกษาทำให้เกิดแนวความคิดในการใช้กระบวนการในการสร้างงานศิลปะเครื่องประดับ เพื่อเป็นการเรียนรู้เยียวยาบำบัดรักษา โดยการทำการอ้างอิงแนวคิดดังกล่าวจากทฤษฎีศิลปะบำบัด (Art Therapy) เพื่อใช้กิจกรรมทางศิลปะช่วยบำบัดรักษา ซึ่งเป็นการกระทำจากภายนอกร่างกายเข้าไปหลอมรวมสู่ภายในที่สร้างความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ และสามารถใช้ในการค้นหารูปแบบและวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับอีกทางหนึ่ง ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ทำให้ค้นพบวัสดุและกิจกรรมในการทดลองทางศิลปะ เพื่อสร้างรูปทรงที่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ โดยเริ่มจากการทดลองรื้อฟื้นเยียวยาวัสดุที่ถูกบันทึกความรุนแรงและแทนค่าความหมายในเชิงศิลปะ รวมทั้งการทดลองออกแบบร่าง 2 มิติและการสร้างหุ่นจำลอง 3 มิติ กระบวนการทั้งหมดในเบื้องต้นเป็นการค้นหาเทคนิคในการสร้างรูปทรงให้มีความหมายเฉพาะตัวในเชิงสัญลักษณ์ จากกระบวนการทั้งหมดสามารถทำการออกแบบเป็นเครื่องประดับที่แทนความหมายถึงการก้าวข้ามความทรงจำในอดีตได้ ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นว่ากระบวนการและกิจกรรมในการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องประดับ สามารถช่วยเยียวยาบำบัดรักษาร่องรอยบาดแผลทางจิตใจได้
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1332
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56157304.pdf6.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.