Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1360
Title: THE MODEL DEVELOPMENT OF THE KNOWLEDGE MANAGEMENT FOR WICKER WORK HANDICRAFT CREATIVE COMMUNITY TO PROMOTE TOURISM IN THE CENTRAL REGION
การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของชุมชนหัตถกรรมจักสานแบบสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตภาคกลาง
Authors: Pirutcha RARUAYRUEN
พิรัชฌา ระรวยรื่น
Kanit Kheovichai
คณิต เขียววิชัย
Silpakorn University. Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การจัดการความรู้
หัตถกรรมจักสาน
THE MODEL DEVELOPMENT
KNOWLEDGE MANAGEMENT
WICKER WORK HANDICRAFT
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The research aims to 1) study the situation of Knowledge Management in Wicker work Handicraft 2) develop the model of Knowledge Management in Wicker work Handicraft 3) Implement use the model of Knowledge Management in Wicker work Handicraft 4) evaluate and improve the Knowledge Management Model for Wicker work Handicraft. The study was conducted by using the Research and Development Method collected the data by using questionnaire, interview, Data analysis by statistics: percentage, mean, S.D., t-test Dependent and Content Analysis. The findings revealed that 1) the Knowledge Management in Wickerwork Handicraft keep Knowledge used observation, remember, train the skill which was knowledge villagers by community leader / group leader weaves or an old man in a village teach the knowledge for achieve.  In now have building or seek for new knowledge.  There is the bringing relays and exchange, store and develop. 2) The Management Models Knowledge Wicker work Handicraft creative community to promote Tourism in the central region found that seek the knowledge, give the knowledge and implement the knowledge is in the highest level. The method learn and keep knowledge is in the most. 3) The Knowledge Management element of “RISC Model” consists of 4 sub-elements; (1) Repair (2) Interpolation (3) Support and (4) Creativity and 4) The overall of the evaluation and improvement of Knowledge Management Model which has been checked and assured by the experts to evaluate the propriety, the feasibility, and the real use are at the high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาบริบท ปัจจัย สภาพการณ์การจัดการความรู้ของชุมชนหัตถกรรมจักสานแบบสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตภาคกลาง 2) พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของชุมชนหัตถกรรมจักสานแบบสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตภาคกลาง 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการความรู้ของชุมชนหัตถกรรมจักสานแบบสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตภาคกลาง และ4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการความรู้ของชุมชนหัตถกรรมจักสานแบบสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตภาคกลาง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความรู้หัตถกรรมจักสานมีความต้องการในการจัดเก็บความรู้และมีการจัดการความรู้ที่อาศัยการสังเกต จดจำ ฝึกฝนทักษะ ซึ่งล้วนแต่เป็นการจัดการความรู้แบบชาวบ้าน โดยมีผู้นำชุมชน/ ผู้นำกลุ่มจักสานหรือผู้เฒ่าในหมู่บ้านที่เป็นจักสานจะเป็นผู้ถ่ายทอดหรือกำหนดความรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในปัจจุบันมีการสร้างหรือแสวงหาความรู้ใหม่ๆให้เท่าทันเหตุการณ์ มีการนำมาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยน จัดเก็บและพัฒนา 2)  รูปแบบการจัดการความรู้ของชุมชนหัตถกรรมจักสานแบบสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตภาคกลาง พบว่า ด้านหาความรู้ ด้านให้ความรู้ และด้านการนำความรู้ไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านวิธีการเรียนรู้และด้านจัดเก็บความรู้ อยู่ในระดับมาก 3) การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบของการจัดการความรู้ “RISC Model” มีองค์ประกอบย่อย 4 ประการ คือ (1) Repair (การซ่อมแซม)  (2) Interpolation (การสอดแทรก)  (3) Support (การส่งเสริม)  และ (4) Creativity (การสร้างสรรค์)  และ 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการความรู้ผ่านการตรวจสอบและรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1360
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54260816.pdf10.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.