Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1371
Title: The Development of Knowledge Management Model of Aging Groups for Promoting into the Intellectual Capital in Lifelong Education Management
การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
Authors: Verawat KEMKENG
วีรวัฒน์ เข้มแข็ง
KANIT KHEOVICHAI
คณิต เขียววิชัย
Silpakorn University. Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุ
ทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
KNOWLEDGE MANAGEMENT
MODEL OF AGING GROUP
INTELLECTUAL CAPITAL IN LIFELONG EDUCATION MANAGEMENT
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract:                        The objectives of this research were 1) to study the General information and the current condition in the knowledge management of aging group for promoting into the intellectual capital in lifelong education. 2) to development model of knowledge management of aging group for promoting into the intellectual capital in lifelong education. 3) to evaluate and improve the model of  knowledge management of aging group for promoting into the intellectual capital in lifelong education, this research divided the study area is 2 phases, Phase 1 study information in the area of Chiang Mai, the target amount 3 districts: Phrao District, Saraphi District, and Mae Rim District. Phase 2 educational information space Yang Noeng sub-district, Saraphi District, Chiang Mai Province.  The research tools used in this research were: the model of knowledge management of aging group for promoting into the intellectual capital in lifelong education; Interview form, Questionnaire, Satisfaction evaluation, the data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and content analysis. The research result finds that: 1. The information and knowledge management in the current conditions of the knowledge management of aging group for promoting into the intellectual capital in lifelong education to found that in the area of Chiang Mai, knowledge management has the typical characteristics of each community Through learning activities that relate to the traditions, culture, philosopher, expert. In the community which the learning process takes place naturally. (1) The relationship of the factor for people in the community. (2) Cultural factors, the local tradition of the community. (3) A factor of the physical characteristics of the community. (4) Occupational factors in the community. (5) Factors, lifestyle in the context of the community. The results of the questionnaire showed that the community is the understanding in the process, models, and methods of operation in various activities. In the community, respectively. Is management activity of lifelong education, the most 68.37 percent, by the community give precedence that there should be education, the intellectual capital of the community in the use of educational management for the rest of my life, in the average of at most every item of the question, (Amphoe Proa 86.92 percent, Amphoe 74.62, Amphoe Saraphi 59.23). Best Practices & Benchmark found education management model of the school elderly 3 area. Also, the search pattern does not appear to convey knowledge from the intellectual capital and the storage is clear. But to convey new knowledge through activities based on the context of learning, by found that the factors that result in elderly people can convey knowledge from vocational experience, way of life (Tacit Knowledge) into their own knowledge (Explicit Knowledge), and the aging group of other exchanges to learn. The factors are as follows: (1) The recognition and respect of knowledge from the experiences of one another, (2) The factors reinforcing the power and encouraging each other, (3) The factors to foster the knowledge exchange between together, 4) The factors to create an atmosphere conducive to learning Analysis of environmental factors (SWOT Analysis) revealed that Thailand has its strengths and opportunities. In the elderly population A total of 256 873 people, which accounted for 15.3 percent of the population of the province. Most of the elderly population is in the 60-74 age range up to 164 074 people, or 63.8 percent of the total elderly population, it also has cultural and historical resources on both space and a variety of high ground. The Quartet three know of the community can be used to produce goods to sell a broad range, and the demand of the market. Weaknesses and obstacles it found that Chiang Mai has no local-level agencies that promote knowledge management clearly. Lack of plan-driven knowledge management. The city society is changing rapidly with the development of intellectual capital in modern times made new. Denotes the various worlds He easily penetrates Youth lack of interest in the capital of the intelligence community. 2. The development model of knowledge management of aging group for promoting into the intellectual capital in lifelong education (SLRT) component model consists of four parts: 1) Principle 2) objective, 3) process / method 4) conditions bringing style to use, The step / methods, the procedures of 3 main steps are as follows; 1) step search and share of knowledge (Search and Sharing Intellectual Knowledge). S consists of:  (1) The activities meet of the aging group in the community (Socialization). (2) To build and share the knowledge deep to knowledge that manifest (Externalization). (3) Analysis of knowledge from experience to produce a data intelligence capital (Combination of Intellectual Capital). 2) The management of Lifelong Education (Leaning Life Long Education) L of intellectual capital has gone to relay (Internalization) by organizing the basic skill of life. To solve problems and develop their happy images based on industry upgrade philosophy thinking. 3) The reflection of learning (Reflection) R to reflect the opinions and satisfaction evaluation to learn to use. A problem solving, self-development and life context community. The learning that still cannot satisfy the demand at all. Could go back to the search for knowledge in the aspect of new. To take to solve the problem, develop self and life by community context again, until he feels pleased until as happy as trash by the philosophy thought. 4) Changes in the intellectual capital of the Aging T (Transformative Learning) Use qualitative data synthesis from reflective learning. To summarize and find the factors that contribute to the change from the intellectual capital of the Aging. The following issues: 1) the issue of Basic knowledge skills that affect community life. 2) The insight into the intellectual capital of the Aging. 3) Good attitude to appreciate the intellectual capital of the elderly. 3. The evaluation model of knowledge management of aging group for promoting into the intellectual capital in lifelong education. Contains 1) evaluation by experts, by the experts, 5 people. Therefore, the index value IOC compliance equal to accordance 0.97, aptitude 0.96. 2) Inspection and certification form. The participation of the stakeholders in the community (Stakeholders) found that the group all have broken in the community (Stakeholders). That model is useful to the community development. Knowledge management of the aging group. As the intellectual capital of community forward because such pattern process and how to operate since. Find knowledge take knowledge summary information storage is included. The knowledge and learning process to promote the application of intellectual capital to use benefit the dependents and the life. Production and development of the community. 4. The results model of knowledge management of aging group for promoting into the intellectual capital in lifelong education. (SLRT) models manage the learning process consists of short courses, courses of study organized to develop life skills, vegetable matter in the community education courses to improve the society and the community. Stories, traditions, culture and way of life 12 months of Yang Noeng community. The course of educational management for professional development of agricultural product processing and medicinal herbs. The learning environment. That can be classified as learners short-term 2 categories (1) students are explained, including the students have inherited, demonstration, practice to see the real activities. By the way in the community throughout the ages past which this group of students will group students aged since 50 years upward. Sleep (2) students with no background knowledge. Found students with ageless 40 years. Including students the working-age population group youth issues in promoting positive attitudes of students was found. Transfer of knowledge the intellectual capital of the aging group. In the short term courses trainer’s aging group can convey knowledge. Can explain the means is going and link between the beliefs, customs, traditions, culture and the fountain. Embrace the religion with poignant clarity. The basic skills in the life style of people in the community, it was found that the knowledge in intellectual capital has been learning. Can be applied to daily life, because the knowledge related to the way of life of the students according to the context of the community. Make students understand more knowledge feedback showed that there should be extended and promote learning to increase. Water and should have a knowledge discovery as intellectual capital from the aging group to be more, because it is very useful in the development of the community. And good knowledge toward to serve in the way of life of the community members, Yang Noeng both also promotes the value of the aging group in the community.                         5. Evaluate and improve model of knowledge management of aging group for promoting into the intellectual capital in lifelong education. (SLRT Model) based on the results of the expert group meeting (Connoisseur ship) number of 5 persons. To found that the evaluation of the model. The process-based model is particularly useful as learners, teachers / trainers and community content, because the learning process is the content of the knowledge capital intellectual of the community, deputation sent the results to improve the quality of life development and build unity within the community to organize the learning process by providing opportunity for seniors has come to convey the knowledge of the teacher. Suggestions on issues that should be found in the update process overview stages according to the format as well, and there are appropriate. Can be used to provide benefits but the suggestion to have an update on the part of the pattern diagram for clarity in the applied, add an arrow in the results of the reflexive learning (Reflection) to achieve a circle of learning the flow patterns. The expert that reflective learning. There occur throughout all the process. According to the requirements in the learning of students to achieve knowledge be adapted in the life to fix the problem, and knowledge to their own development and community happy as conventionally.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปและสภาพปัจจุบันในการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเป็นทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้กลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต 3) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการความรู้กลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเป็นทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตการวิจัยนี้ได้แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพร้าว อำเภอสารภี และอำเภอแม่ริม ระยะที่ 2 การศึกษาข้อมูลพื้นที่ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า:  1. ผลศึกษาข้อมูลทั่วไปและสภาพปัจจุบันในการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเป็นทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต พบว่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดการความรู้ที่มีแบบฉบับเฉพาะของแต่ละชุมชน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม อาชีพ ปราชญ์ผู้รู้ในชุมชนซึ่งกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมให้เกิดการค้นหาและถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชนนั้นประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านสัมพันธ์ภาพของคนในชุมชน (2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของชุมชน (3) ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพของชุมชน (4) ปัจจัยด้านการประกอบอาชีพหลักของคนในชุมชน (5) ปัจจัยด้านวิถีการดำเนินชีวิตในบริบทของชุมชน ผลจากการตอบแบบสอบถามพบว่า ชุมชนมีความเข้าใจในกระบวนการ รูปแบบ วิธีการของการดำเนินการในกิจกรรมด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนตามลำดับ คือกิจกรรมด้านการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมากที่สุดจำนวนร้อยละ 68.37 โดยชุมชนมองว่าควรมีการศึกษาและนำทุนปัญญาของชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ในระดับคะแนนเฉลี่ยที่มากที่สุดในทุกๆ ข้อของประเด็นคำถาม (อำเภอพร้าว คิดเป็นร้อยละ 86.92 อำเภอแม่ริม คิดเป็นร้อยละ 74.62 อำเภอสารภี คิดเป็นร้อยละ 59.23 ตามลำดับ) การศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและการเทียบเคียง (Best Practices & Benchmark)  พบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุทั้ง 3 แห่งนั้นยังไม่ปรากฏรูปแบบการค้นหาการถ่ายทอดความรู้จากทุนทางปัญญาและการจัดเก็บเป็นสารสนเทศที่ชัดเจน แต่เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมตามบริบทของการเรียนรู้ โดยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์การประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิต (Tacit Knowledge) ของตนเองออกมา เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ให้ผู้สูงอายุท่านอื่นๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นเกิดเพราะมีปัจจัยดังนี้คือ (1) ปัจจัยด้านการยอมรับและเคารพองค์ความรู้จากประสบการณ์ของกันและกัน (2) ปัจจัยด้านการเสริมแรงพลังใจและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน (3) ปัจจัยในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน (4) ปัจจัยด้านการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) พบว่าจังหวัดเชียงใหม่มีจุดแข็งและโอกาส ในด้านประชากรผู้สูงอายุ ซึ่งจำนวนทั้งสิ้น 256,873 คน คิดเป็นร้อยละ 15.3 ของประชากรทั้งจังหวัด โดยส่วนใหญ่ประชากรผู้สูงอายุจะอยู่ในช่วงอายุ 60-74 ปี มากถึง 164,074 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 63.8 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด ทั้งมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่หลากหลายทั้งบนพื้นที่สูงและพื้นราบ องค์ความรู้ของชุมชนสามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายได้อย่างหลากหลาย และเป็นที่ต้องการของตลาด จุดอ่อนและอุปสรรค พบว่าจังหวัดเชียงใหม่ไม่มีหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่สนับสนุนส่งเสริมการจัดการความรู้อย่างชัดเจน ขาดแผนงานขับเคลื่อนการจัดการความรู้ ประกอบกับสังคมเมืองเชียงใหม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามกระแสการพัฒนาของโลกในยุคปัจจุบันทำให้ทุนทางปัญญาแบบใหม่ๆ จากซึกโลกต่างๆ เข้ามาแทรกซึมโดยง่าย เยาวชนขาดความสนใจในทุนปัญญาของชุมชน 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (SLRT) องค์ประกอบรูปแบบ ประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอน/วิธีการ 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้  โดยมี ขั้นตอน/วิธีการ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานหลัก จำนวน 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นตอนค้นหาและแบ่งปันองค์ความรู้ (Search and Sharing Intellectual Knowledge) S ประกอบด้วย (1) กิจกรรมการพบปะพูดคุยของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน (Socialization)   (2) การสร้างและแบ่งปันความรู้ที่ฝังลึกสู่องค์ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Externalization) (3) การวิเคราะห์องค์ความรู้จากประสบการณ์เพื่อจัดทำเป็นข้อมูลทุนปัญญา (Combination of Intellectual Capital)  2) ขั้นจัดการศึกษาตลอดชีวิต (Leaning Life Long Education) L การนำทุนปัญญาที่ได้ไปสู่การถ่ายทอด (Internalization) โดยการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหา และพัฒนาตนเองให้มีความสุขตามอัตภาพ ตามแนวคิดปรัชญาคิดเป็น 3) ขั้นสะท้อนกลับการเรียนรู้ (Reflection) R เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจในการได้เรียนรู้เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาตนเอง และการดำเนินชีวิตตามบริบทชุมชน ซึ่งถ้าการเรียนรู้นั้นยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด ก็สามารถกลับไปค้นหาองค์ความรู้ในแง่มุมใหม่ๆ เพื่อนำกลับมาใช้ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาตนเอง และการดำเนินชีวิตตามบริบทชุมชนได้อีก จนกว่าจะรู้สึกพึงใจเกิดความสุขตามอัตถภาพ ตามแนวคิดปรัชญาคิดเป็น 4) ขั้นการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้ทุนทางปัญญาของผู้สูงอายุ T (Transformative Learning) ใช้การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากขั้นร่วมสะท้อนกลับการเรียนรู้ (Reflection) R เพื่อสรุปผลและหาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้ทุนทางปัญญาของผู้สูงอายุ (Transformative Learning) ในประเด็นดังนี้ 1) ประเด็นด้านทักษะความรู้พื้นฐานที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามบริบทชุมชน (Affective Attributes) 2) ด้านความรู้ความเข้าใจในทุนทางปัญญาของผู้สูงอายุ (Cognitive Attributes) 3) ด้านเจตคติที่ดีในการเห็นคุณค่าของทุนทางปัญญาของผู้สูงอายุ (Psychomotor Attributes) 3. ผลการประเมินเพื่อรับรองรูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย 1) ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านได้ค่าดัชนี IOC ด้านความสอดคล้องเท่ากับ 0.97 ด้านความเหมาะสมเท่ากับ 0.96  2) การตรวจสอบและรับรองรูปแบบ โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน (Stakeholder) พบว่า กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน (Stakeholders) มองว่ารูปแบบมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาชุมชน และการจัดการความรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อเป็นทุนทางปัญญาของชุมชนเป็นอย่างยิ่งด้วยเพราะรูปแบบดังกล่าวมีกระบวนและวิธีการดำเนินงานตั้งแต่ค้นหาองค์ความรู้ถอดองค์ความรู้ สรุปรวมรวม จัดเก็บเป็นสารสนเทศ และนำมาองค์ความรู้จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการนำทุนปัญญาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการพัฒนาชุมชน  4. ผลการใช้รูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (SLRT) รูปแบบได้จัดการจัดกระบวนการเรียนรู้หลักสูตรระยะสั้นประกอบด้วยหลักสูตรการจัดศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องพืชผักในชุมชนหลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เรื่อง ประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิต 12 เดือนของชุมชนยางเนิ้ง หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เรื่องการแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตรและยาสมุนไพร ผลจากการเรียนรู้ พบว่า สามารถจำแนกผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้นได้เป็น 2 ประเภทคือ (1) ผู้เรียนที่มีพื้นความรู้เดิม ได้แก่ เกิดจากการผู้เรียนได้รับการถ่ายทอด สาธิต การปฏิบัติให้เห็นจริงการกิจกรรมต่างๆ ตามวิถีในชุมชนตลอดช่วงอายุที่ผ่านมาซึ่งผู้เรียนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มผู้เรียนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป (2) ผู้เรียนที่ไม่มีพื้นความรู้เดิม พบว่าเป็นผู้เรียนที่มีช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี ได้แก่ ผู้เรียนกลุ่มประชากรวัยแรงงาน กลุ่มเยาวชน ประเด็นด้านการส่งเสริมเจตคติที่ดีของผู้เรียน พบว่า การถ่ายทอดองค์ความรู้ทุนทางปัญญาของผู้สูงอายุ ในหลักสูตรระยะสั้นวิทยากรผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดความรู้ สามารถอธิบายความหมายความเป็นมาเป็นไปและการเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมกับพุทธศาสนาได้อย่างกระจ่างชัด ประเด็นด้านทักษะขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน พบว่า ความรู้ทุนทางปัญญาที่ได้รับการเรียนรู้ สามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ เพราะเป็นความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เรียนตามบริบทของชุมชน ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการขยายและส่งเสริมการเรียนรู้ให้เพิ่มขึ้น และควรมีการค้นหาองค์ความรู้ที่เป็นทุนปัญญาจากผู้สูงอายุให้มีมากขึ้น เพราะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาชุมชน และเป็นความรู้ที่ดีต่อการนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของสมาชิกในชุมชนยางเนิ้ง ทั้งยังเป็นการส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุในชุมชน 5. การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการความรู้กลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเป็นทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (SLRT Model) ผลการจัดการประชุมอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 5 ท่าน พบว่า ด้านการประเมินคุณค่าของรูปแบบ ขั้นตอนการจัดกระบวนการตามรูปแบบมีประโยชน์อย่างยิ่งทั้ง ผู้เรียน ครูผู้สอน/วิทยากร และชุมชน ด้วยเพราะเนื้อหาที่นำมาจัดกระบวนการเรียนรู้เป็นเนื้อหาที่เกิดจากองค์ความรู้จากทุนปัญญาในชุมชน อันส่งผลอย่างยิ่งต่อการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความสามัคคีภายในชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มาถ่ายทอดองค์ความรู้ของตนเองโดยการเป็นครู ข้อเสนอแนะในประเด็นที่ควรปรับปรุง พบว่า ในภาพรวมกระบวนการขั้นตอนตามรูปแบบ เป็นไปด้วยดีและมีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ แต่ได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงในส่วนแผนภาพของรูปแบบเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปใช้ โดยให้เพิ่มลูกศรในผลการสะท้อนกลับการเรียนรู้ (Reflection) เพื่อให้เกิดเป็นวงกลมแห่งการเรียนรู้ที่เลื่อนไหลของรูปแบบ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าการสะท้อนกลับการเรียนรู้ มีการเกิดขึ้นได้ตลอดทุกกระบวน ตามความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้ที่นำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาต่อยอดเพื่อพัฒนาตนเองและชุมชนให้มีความสุขตามอัตถภาพ ต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1371
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55260802.pdf13.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.