Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1373
Title: Development model of enhancing active aging for elder club in thailand
การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภาวะพฤฒิพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย
Authors: Thanaya SOMPOO
ฐาณญา สมภู่
Kanit Kheovichai
คณิต เขียววิชัย
Silpakorn University. Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
ภาวะพฤฒิพลัง
ผู้สูงอายุ
DEVELOPMENT OF MODEL
ACTIVE AGING
ELDER PERSON
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to 1) to study levels of Thai active aging 2) to study best practice of Thai elderly club 3) to develop a model of enhancing active aging for elder club in Thailand, Mixed methodology for the research design. The samples and key informants consisted of 410 elderly questionnaire respondents, club committee and 30 elderly students. The instruments were the PLS Model, the questionnaires, pretest and posttest, in-depth interview, an interview form and an evaluation. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test and content analysis. The findings of the research were as follow: 1. The levels of Thai active aging was at the moderate level and health was at the highness level. 2. The Key elements to enhance the active aging of elder club, to composed of 3 components; 1) Preparating 2) Learning person 3) Social behavior. The results indicated that, Continuation of activities and variety of activity for elder club, The contents and Activities such as exercise activity, meditation activity, knowledge of local herb activity, knowledge of laws activity and etc. the conditions to enhance the active aging of elder club as follows; 1) connecting of partnership network 2) setting of environment for elderly 3) the potential of leaders 4) connecting of Local Learning Resource. 3. The PLS Model: Preparating Learning Social behavior Model composed of 5 components; 1) principle 2) objectives 3) process of enhancing management 4) the conditions for using the model and 5) the evaluation. The PLS Model was integrated knowledge and elder needs, The results revealed that the elderly students had the posttest scores in overall and in each unit higher than the pretest ones at the 0.05 level of statistical significance. and the interview results that the elderly toward using the PLS Model was appropriate as well as experts certificate and suggested that The model were to the appropriate numbers of elder, variety of activity for elder club and intergrated learning of multi-aging way of living.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุในสภาพปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของชมรมผู้สูงอายุไทยในการส่งเสริมภาวะพฤฒิพลัง และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภาวะพฤฒิพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย ซึ่งเป็นการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methods) กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุไทย โดยตอบแบบสอบถามจากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอนจำนวน 410 คน คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินวัดระดับภาวะพฤฒิพลัง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น แบบประเมินความเหมาะสม และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T-test แบบเป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาระดับภาวะพฤฒิพลังในสภาพปัจจุบันในการศึกษา พ.ศ.2558 ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ มีระดับพฤฒิพลังปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 และในด้านสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.81 2. ผลการศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จากการศึกษาพหุเทศะกรณีชมรมผู้สูงอายุต้นแบบ มีขั้นตอนที่สำคัญในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมภาวะพฤฒิพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย ประกอบด้วย ขั้นตอนแรก การตระหนักและวางแผนการ ขั้นตอนที่สอง การเรียนรู้พึ่งพาตนเอง และขั้นตอนสุดท้าย การลงมือทำซ้ำและการดำเนินจัดกิจกรรมมีความต่อเนื่องและกิจกรรมหลากหลาย โดยกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ กิจกรรมออกกำลังกายประยุกต์การรำท้องถิ่น กิจกรรมฝึกจิตใจด้วยสมาธิ กิจกรรมกีฬาสามัคคี กิจกรรมร่วมใจพหุวัย กิจกรรมความรู้พืชสมุนไพรยาท้องถิ่น กิจกรรมความรู้สิทธิศักดิ์ศรีผู้สูงวัย และเงื่อนไขภายนอกที่สนับสนุนการส่งเสริมภาวะพฤฒิพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย ได้แก่ ภาคีเครือข่าย การจัดการและออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ศักยภาพแกนนำ และแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่น 3. ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภาวะพฤฒิพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย ในส่วนแรก รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า PLS Model ประกอบด้วย 1. หลักการและเหตุผล 2. วัตถุประสงค์ 3. การดำเนินกิจกรรมและกิจกรรมสำคัญ 4. เงื่อนไขการจัดรูปแบบ และ5.การติดตามและการประเมินผล ในส่วนที่สอง ผลการทดลองและปรับปรุงรูปแบบ โดยผลการทดลองจากการวัดระดับพฤฒิพลังก่อนและหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มทดลองผู้สูงอายุมีระดับพฤฒิพลังหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค่าเฉลี่ยก่อนทดลองเท่ากับ 3.55 ค่าเฉลี่ยหลังทดลองเท่ากับ 3.94) จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุหลังการทดลองรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและการประเมินรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสมกับจำนวนสมาชิกชมรมไม่มากเกินไป กิจกรรมชมรมมีความหลากหลายตามบริบทท้องถิ่น กิจกรรมสืบสานภูมิปัญญา และการร่วมมือทำกิจกรรมเน้นลักษณะพหุวัย
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1373
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55260805.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.