Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1403
Title: Teachers’ Readiness in Classroom Management to Promote Learner Autonomy in English Language Courses for Undergraduate Students in Government Universities in the Northeastern Region of Thailand
ความพร้อมของครูในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองในรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับอุดมศึกษาในมหาวิยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: John Mark BELARDO
จอห์นมาร์ก เบลลาโด
PATTEERA THIENPERMPOOL
ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล
Silpakorn University. Education
Keywords: การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
learner autonomy
autonomous learner
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The goal of this research is to investigate the readiness of university teachers across the northeast of Thailand on promoting learner autonomy. Thai students still have lower proficiency comparing to that of the neighboring countries. According to several research on English teaching, English teaching in Thailand is still limited to the believe that learning can only happen within the classroom where teachers are the main source of knowledge and through the methods that has been proven to work within other context but has never fully been adapted to the context of Thai students. Learner autonomy is therefore an important ideology since it encompasses the importance of learners taking control of their own learning, in the case of this research, the ability to take control of their language learning.  Sets of questionnaires had been adapted and compiled and used as a tool to investigate the readiness of the university teachers. The questionnaire was divided into 5 parts: basic information, perception of learner autonomy, readiness of teachers, contributing external factors, and open-ended. The questionnaire was administered to 124 university teachers across the northeast of Thailand through both paper-based and electronically using Google Form service. The data was then collected, compiled, and processed using a statistical software. The result shows that, surprisingly, teachers who had experience studying abroad tend to have more narrow and conserved opinion when it comes to the idea of allowing students to make decisions on their own learning. Statement number 14, about  allowing learners to choose thier own learning ability shows the agreement mean score for teachers graduated from within Thailand of (x̄ = 4.18, SD = .343) while the agreement mean score for teachers graduated from abroad is at (x̄ = 3.43, SD = .938). For statement 33 on the relationship between learner autonomy and motivation, the mean score for teachers teaching 3-5 years for this statement is (x̄ = 3.84, SD = .973) while the mean for teachers teaching for 5-10 years is at (x̄ = 4.74, SD = .446) and teachers teaching 10-15 years is (x̄ = 4.58, SD = .572). One alarming result from this research was the fact that for many of the statements, teachers with higher level of education seem to agree less with the idea of learner autonomy. For instance, with statement 16 on peer learning, teachers with a BA degree ended up with the mean score of (x̄ = 4.56, SD = .705) while teachers with an MA degree ended up with the mean score of (x̄ = 3.93, SD = .691). In conclusion, several factors prove to affect the readiness of teachers on promoting learner autonomy. 
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้คือการศึกษาถึงความพร้อมของอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงทางการสอนภาษาเริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะพูดถึงการเน้นทักษะทางด้านการฟังและการพูด โดยไม่เน้นในเรื่องโครงสร้างในทางการเขียน ซึ่งผู้เรียนเองก็แทบจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับภาษาที่ตนกำลังเรียนอยู่เลย ในกรณีของประเทศไทย แม้ว่าจะมีความพยายามในการพัฒนาการสอนภาษาให้สอดคล้องกับวิธีการสอนภาษาในกระแสโลก ผู้เรียนไทยก็ยังคงมีความสามารถทางด้านภาษาต่ำกว่าผู้เรียนที่อยู่ในประเทศใกล้เคียง จากงานวิจัยทางด้านการสอนภาษาอังกฤษนั้น การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดกับความเชื่อที่ว่า การเรียนการสอนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะในห้องเรียนซึ่งมีครูผู้สอนเป็นแหล่ความรู้ที่สำคัญเพียงแหล่งเดียว รวมถึงการนำเอาวิธีการสอนซึ่งถูกใช้แล้วประสบความสำเร็จในบริบทที่ต่างกันมาใช้ในบริบทของผู้เรียนไทยโดยไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทดังกล่าวแต่อย่างใด รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นแนวติดที่สำคัญเนื่องจากเป็นการเน้นให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้ ซึ่งในบริบทงานวิจัยชิ้นนี้ จะเน้นถึงความสามารถในการควบคุมการเรียนรู้ทางด้านภาษาของผู้เรียนเอง   เครื่องมือในงานวิจัยชิ้นนี้ได้แก่แบบสอบถามซึ่งเป็นการรวบรวมเอาแบบสอบถามต่างๆเพื่อนำมาใช้ในการสำรวจความพร้อมของครูในระดับอุดมศึกษา โดยจะแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 5 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ความเข้าใจในประเด็นเรื่องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความพร้อมของครู ปัจจัยกระทบจากภายนอก และคำถามปลายเปิด แบบสอบถามได้ถูกนำมาใช้กับครูจำนวน 124 คนตลอดทั่วทั้งภาคอีสาน ทั้งผ่านทางแบบสอบถามที่เป็นเอกสารและแบบสอบถามแบบอิเล็คทรอนิค ข้อมูลที่ได้มาถูกนำมาวิเคราะห์โดยโปรแกรมวิเคราะทางสถิติ ผลของงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ครูที่เรียนจบมาจากต่างประเทศส่วนใหญ่จะมีกรอบความคิดที่ค่อนข้างแคบและออกเชิงอนุรักษ์ในประโนเรื่องการให้โอกาสผู้เรียนในการตัดสินใจเกี่ยวับการเรียนรู้ของตน จากแบบสอบถามข้อที่ 14 ว่า “ผู้เรียนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นเมื่อผู้เรียนสามารถที่จะเลือกกิจกรรมในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง” จากข้อความดังกล่าว ครูที่เรียนจบจากในประเทศระดับความเห็นด้วยอยู่ที่  (x̄ = 4.18, SD = .343) ส่วนครูที่จบจากต่างประเทศนั้นมีระดับความเห็นด้วยอยู่ที่ (x̄ = 3.43, SD = .938) อาจกล่าวได้ว่าปรสบการณ์ของครูผู้สอนเองมีผลอย่างมากในประเด็นเรื่องการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับแบบสอบถามข้อที่ 33 “ผู้ผู้เรียนภาษาที่มีแรงจูงใจมีแนวโน้มที่จะพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าผู้เรียนที่ไม่มีแรงจูงใจ ครูที่มีประสบการณ์ในการสอนตั้งแต่ 3-5 ปีให้ผลค่าเฉลี่ยที่  (x̄ = 3.84, SD = .973) ครูที่มีประสบการณ์ในการสอนตั้งแต่ 5-10 ปีให้ผลค่าเฉลี่ยที่  (x̄ = 4.74, SD = .446) และครูที่มีประสบการณ์ในการสอนตั้งแต่ 10-15 ปีให้ผลค่าเฉลี่ยที่  (x̄ = 4.58, SD = .572). ผลซึ่งเป็นที่น่าตกใจสำหรับงานวิจัยฉบับนี่คือในหลายประเด็นคำถาม ครูที่มีระดับการศึกษาที่สูงกว่ามักจะเห็นด้วยกับการเรียนรู้ด้วยตนเองน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น ในข้อที่ 16 “การเรียนรู้ด้วยตนเองจะถูกสนับสนุนผ่านทางกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ครูที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีให้ผลเฉลี่ยที่ (x̄ = 4.56, SD = .705) ในขณะที่ครูที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทให้ผลเฉลี่ยที่ x̄ = 3.93, SD = .691) อาจกล่าวได้ว่าทั้งสองประเด็นที่กล่าวมาได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง จะทำให้ความเข้าใจของครูผู้สอนเกี่ยวกับทักษะและความพร้อมทางด้านการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนของตนเองเพิ่มมากขึ้น
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1403
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56254304.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.