Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1417
Title: Happiness of the Elderly in the Senior Citizens Club in Bangkok
ความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร
Authors: Attakorn CHEYTIM
อรรถกร เฉยทิม
NUANCHAVEE PRASERTSUK
นวลฉวี ประเสริฐสุข
Silpakorn University. Education
Keywords: ผู้สูงอายุ
ความสุข
ชมรมผู้สูงอายุ
การสร้างความสุข
Elderly
Elderly happiness
Elderly club
Creating happiness
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research is to compare the happiness level of the elder and to study guidelines for creating happiness of the elder. Sample of this study was divided into 2 groups. The sample used in quantitative research was 397 people. Questionnaires and interview forms were used as the tools in this research. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA. 5 people with highest score of happiness in the questionnaire were selected to interview for analysis and finding out the guidelines of creating happiness in the elder. The results found that: 1. The overall of happiness of elder who are the member of the elderly club in Bangkok is in high level. 2. Elder of the elderly club in Bangkok as classified by sex were difference in happiness levels, statistically significant at .05, while there were no difference in happiness by age, marital status, economic status, frequency of participation in club activities as well as health status. 3. The way to live happily of elder of the elderly club in Bangkok is taking care of theirselves in both of physical and mental health, having hope and planning in life, management with distress, living together or doing activities with family, being the dependence of the family, participating in religious or cultural activities, extending experience and knowledge to each other, doing activities or hobbies, developing theirselves by learning, preparing for aging self-esteem, realizing in value of heirselves as well as helping others or benefiting the society.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความสุขของผู้สูงอายุ จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 397 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้แบบสัมภาษณ์สัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่มีคะแนนความสุขจากการทำแบบสอบถามสูงสุด จำนวน 5 คน เพื่อนำมาวิเคาะห์หาแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร มีความสุขโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความสุขอันเกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรม ด้านความสุขอันเกิดจากการได้ช่วยเหลือผู้อื่น ด้านความสุขอันเกิดจากการตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง และความสุขอันเกิดจากการมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี อยู่ในระดับมาก 2. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร ที่มีเพศต่างกัน มีความสุขแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ สถานภาพสมรส ฐานะทางเศรษฐกิจ ความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม ภาวะสุขภาพต่างกัน มีความสุขไม่แตกต่างกัน 3. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร มีแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขคือการดูแลตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ การมีความหวังและมีการวางแผนในชีวิต การบริหารจัดการกับความทุกข์ การได้อยู่ร่วมกันหรือทำกิจกรรมกับครอบครัว การเป็นที่พึ่งของครอบครัว การเข้าร่วมทำกิจกรรมทางศาสนาหรือทางวัฒนธรรมประเพณี การได้ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ การทำกิจกรรมที่ชอบหรืองานอดิเรก การได้พัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้ มีการเตรียมตัวเพื่อวัยผู้สูงอายุ การตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง การได้ช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำประโยชน์ต่อสังคม
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1417
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56256317.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.