Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1433
Title: The conditions promoting the saving of high school students who are members of the Banking School Lopburi 
แนวทางการส่งเสริมภาวะการออมเงินของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน จังหวัดลพบุรี 
Authors: Nattapol KHONGTONG
ณัฐพล กองทอง
Ratchadaporn Ketanon
รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม
Silpakorn University. Education
Keywords: แนวทางการส่งเสริม
โครงการธนาคารโรงเรียน
CONDITIONS PROMOTING
THE BANKING SCHOOL
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research were to 1) study level of savings of senior high school that are members of school bank, Lopburi province. 2) to study factors that involve level of savings of senior high school that are members of school bank, Lopburi province. 3) to study how to promote savings of senior high school that are members of school bank, Lopburi province. The research sample used for the members of school bank, senior high school, Lopburi province. were 280 by stratified from Simple  random sampling. And key information interviews were provided through Focus Group Discussion were 21. Statistical data were analyzed using data calculated of frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for independent, one way ANOVA and content analysis. The research results were revealed that: 1. Level of savings of members in school bank, senior high school, income per month, most of students were 500-2,000 baht. Source of income of students get from their parents. The reason of savings is save for to buy something. Frequency of savings 10 baht per time. The factors that involve decision in savings are because themselves. Students will savings money in 1-7 of every month. In the present, students savings from expense that left every day. And savings by themselves. 2. The factors that support by teachers, support by Staff of AOMSIN Bank, support by their parents. The factor about their friends. The different of opinion about savings that affect to savings of senior high school, members of school bank. 3. How to promote savings of senior high school, members of school bank. The qualitative results were found the development approaches of the teachers to know about savings and have knowledge about financial. In addition, have to training students about professional skills, they are important for increasing income of student.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน จังหวัดลพบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน จังหวัดลพบุรี 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียนที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดลพบุรี จำนวน 280 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แนวทางการส่งเสริมภาวะการออมเงินของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียนในจังหวัดลพบุรี ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ จำนวน 21 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะการออมเงินของนักเรียนที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียนที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้านรายได้ต่อเดือน ส่วนใหญ่ มีรายได้ 500-2,000 บาท/เดือน ด้านแหล่งที่มาของรายได้ มาจากผู้ปกครอง ด้านสาเหตุของการออมเงิน ออมเพื่อนำเงินไปซื้อของ ด้านความถี่ในการออมเงิน ออมเงิน 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ ด้านจำนวนเงินกับธนาคารโรงเรียนในแต่ละครั้ง ออมเงิน ไม่เกิน 10 บาท/ครั้ง ด้านสิ่งที่มีส่วนในการตัดสินใจในการออมเงินคือ ตัวเอง ด้านช่วงวันในการออมในแต่ละเดือน ในช่วงวันที่ 1-7 ของเดือน ด้านลักษณะในการออมเงินในปัจจุบัน คือ นำเงินส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายมาออม ด้านรูปแบบในการออมเงิน คือ ออมเงินด้วยตนเอง 2.ปัจจัยด้านการสนับสนุนของครู/อาจารย์ ปัจจัยด้านการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ธนาคารโรงเรียน/ธนาคารออมสิน ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากพ่อแม่/ผู้ปกครอง ปัจจัยจากกลุ่มเพื่อน ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการออม มีผลต่อระดับการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน ที่แตกต่างกัน 3. แนวทางการส่งเสริมการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน จากการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ควรมีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ทางด้านการประหยัดอดออม รวมทั้งครูต้องมีความรู้ทางการเงิน เช่น การฝึกอบรมเพิ่มความรู้ทางการเงินแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา นอกจากนี้การฝึกฝนให้นักเรียนได้มีทักษะอาชีพ เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1433
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56260311.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.