Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1438
Title: The Development a model of Learning Network for Conservation Upland rice of Karen Ethnic
การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ข้าวไร่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
Authors: Aphinya CHONGPHATTHANAKORN
อภิญญา จงพัฒนากร
Thirasak Unaromlert
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ
Silpakorn University. Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
เครือข่าย
การอนุรักษ์ข้าวไร่
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
Model Development
Network
Upland Rice Conservation
Karen Ethnic
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study were Participatory Action Research (PAR) of which Qualitative Research Methodology is applied. The objectives of research includes: 1.To study the overall upland rice farming conditions of the Karen People in Uthai Thani Province, 2.To develop Karen upland rice conservation model and 3.To evaluate Karen upland rice conservation model.The data in this study was collected through Documentary Research, In-depth Interview, Focus Group Discussion and Participant Observation. Evaluation data was analyzed using mean (  ) and standard deviation (S.D) The research findings were as follows, 1. Kaen Magrood Sub-district population is largely made up of Pwo Karen People. This tribal group communicates using local dialect and mainly worships Buddhism and spirits. Pwo Karen Tribe is also found to have unique set of tradition, culture and beliefs. They formed not only a tight-knit community but also treated each member like their own family. Due to strong bond towards their community, this tribal group prefers to stay and work within their village. Important traditions of Pwo Karen Tribe include eating new rice, worshipping chedi, life prolonging ceremony and worshipping Bodhi Trees. Due to their tight-knit bonds, every member of the tribe is closely related and constantly communicates through traditions and cultural events. In the past, Pwo Karen Tribe mainly survived on gathering wild products and growing rice and Karen chili. Later, the community was introduced to advanced technology and merchant middlemen system. Monoculture farming began to replace the existing cultivation practice of the Pwo Karen Tribe, causing multiple upland rice species of the Pwo Karen Tribe to be reduced down to 2-3 species. Nevertheless, these Pwo Karen upland rice species have continued to exist today due to strong cultural landscape and local knowledge-sharing habits of the Pwo Karen People coupled with having younger generations that highly treasure the local resources of Pwo Karen Tribe. 2. Key elements which helped to drive the success of “Karen Upland Rice Conservation Model”include: 1.Community knowledge and wisdom, 2.Adjustment a Human Resource, 3.Resource in community  4.Exchange each other, 50Network of seeds, 6.Rice genetic, 7.Identity of community, 8.Cultural landscape and 9.Environmental conservation. This model which had already been evaluated by the advisors can also be referred to as “KAREN RICE MODEL”.
งานวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) โดยใช้วิธีการเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory  Action  Research : PAR) มีวัตถุประสงค์ 1.ศึกษาสภาพการณ์การปลูกข้าวไร่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี 2.เพื่อพัฒนารูปแบบเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ข้าวไร่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง 3.เพื่อประเมินรูปแบบเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ข้าวไร่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ใช้วิธีการศึกษาเชิงวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)  และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) วิเคราะห์ผลการประเมินรูปแบบโดยใช้ค่าเฉลี่ย (X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1.ชุมชนตำบลแก่นมะกรูดมีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นชาวกะหรี่ยงโปว์หรือโผล่วมีการสื่อสารกันด้วยภาษาถิ่น นับถือศาสนาพุทธและนับถือผี มีประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเผ่า ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเป็นไปในลักษณะเครือญาติ ประชาชนมีความรักในถิ่นฐานไม่นิยมเดินทางไปทำงานนอกหมู่บ้าน  ประเพณีที่สำคัญของชุมชนได้แก่  กินข้าวใหม่ บูชาเจดีย์ พิธีสืบชะตา บูชาต้นโพธิ์ต้นไทร ชาวกะหรี่ยงโปว์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีมีการติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลาผ่านประเพณีและวัฒนธรรม  เดิมกะเหรี่ยงโปว์มีวิถีชีวิตคือการหาของป่า ปลูกข้าวไร่และพริกกะเหรี่ยงเป็นหลัก ต่อมาเมื่อความเจริญเข้ามาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนมาถึงเริ่มมีพ่อค้าคนกลาง บริษัทเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ส่งผลให้การปลูกข้าวไร่หลากหลายสายพันธุ์ในแปลงเดียวเหลือเพียง 2–3 สายพันธุ์ ด้วยมีภูมิวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง วิถีชีวิตที่เน้นการแลกเปลี่ยน ประกอบกับมีเยาวชนที่รักและหวงแหนทรัพยากรท้องถิ่นตนจึงทำให้ความคงอยู่ของสายพันธุ์ข้าวของกะเหรี่ยงโปว์ยังคงอยู่    2.สำหรับรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ข้าวไร่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะที่จะเป็นพลังขับเคลื่อน ได้แก่ 1.องค์ความรู้และภูมิปัญญาชุมชน 2.การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 3.ทรัพยากรชุมชน 4.การแลกเปลี่ยนกันและกัน 5.เครือข่ายเมล็ดพันธุ์  6.พันธุกรรมข้าว 7.อัตลักษณ์ของชุมชน 8.ภูมิวัฒนธรรม 9.การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยอาจเรียกรูปแบบนี้ว่า “KAREN RICE MODEL” ซึ่งผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1438
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56260906.pdf27.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.