Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1483
Title: | ACHEIVEMENT OF BLENDED LEARNING WITH PROBLEM BASED LEARNING ON C++ PROGRAMMING LAUGUAGE SUBJECT OF MATTAYOMSUKSA FIVE STUDENTS WITH DIFFERENT LEARNING STYLES. ผลการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาซีพลัสพลัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีแบบการเรียนต่างกัน |
Authors: | Warayuphat PANUMPHAN วรายุภัสร์ ปานอำพันธ์ Somying Jaroenjitakam สมหญิง เจริญจิตรกรรม Silpakorn University. Education |
Keywords: | Keyword : Blended Learning, Problem-based Learning, Computer Programming, C++Language, C++ Programming Language, Different Learning Style, e-Learning Lesson การเรียนแบบผสมผสาน / ปัญหาเป็นฐาน / การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาซีพลัสพลัส / แบบการเรียนต่างกัน / บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง Blended Learning Problem-based Learning Computer Programming C++Language C++ Programming Language Different Learning Style e-Learning Lesson |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research was aimed 1)to design and to develop activity arrangement of blended learning with problem based learning on C++ programming language subject for the Mathayom5 with different learning style for criteria-oriented efficiency. 2)it is to compare the learning achievement before and after learning 3)it is to compare the learning achievement of the students in Mathayom5 with different learning style 4)it is to investigate the opinion of students towards the problem-based blended learning style on programming the C++ Language. The research instrument comprised of 1)the structured interview form 2)Lesson plans 3)lessons on programming the C++ Language 4)the achievement test 5)Measurement of learning styles 6)a questionnaire form to question student’s opinions. The basic statistics were means (average, standard deviation, t-test dependent and one-way ANOVA.
Results showed that 1)designing the problem-based blended learning lessons on programming the C++ Language of UNIT 3–the Decisionmaking Structure with different learning style having very good quality. (average 4.77, standard deviation 0.35) 2) The learning achievement was equal to (average 9.34, standard deviation 3.60)after learning equals (average 20.74, standard deviation 3.58). Higher than before Statistically significant at the .05 level. 3) Comparison of learning achievement of learners with different learning styles showed that:The highest mean accommodation learning style(average 21.95, standard deviation 3.98),followed by convergent learning style.( average 20.90, standard deviation 3.74)Third was assimilation learning style. (average 20.80, standard deviation 3.35) and divergent learning style. (average 19.30, standard deviation 2.90) When comparing grades before and after class,it was found that the learners in all learning styles After studying with blended learning with problem based learning. There was no difference in learning achievement. Statistically significant at the .05 level.4)The students’ opinions towards the problem-based blended learning lessons were very good level.(average 4.66, standard deviation 0.53) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาซีพลัสพลัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีแบบการเรียนต่างกัน ให้มีคุณภาพ 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ที่มีแบบการเรียนต่างกัน 4)ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาซีพลัสพลัส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2)แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3)บทเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 4)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 5)แบบวัดรูปแบบการเรียน 6)แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.77, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.35) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน คะแนนก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 9.34,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.60) คะแนนหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 20.74, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.58) พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนแตกต่างกัน พบว่า แบบการเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ แบบการเรียนแบบปรับปรุง (Accommodation) (ค่าเฉลี่ย 21.95, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.98) อันดับที่2 แบบการเรียนแบบคิดเอกนัย (Convergent) (ค่าเฉลี่ย 20.90, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.74) อันดับที่3 แบบการเรียนแบบดูดซึม (Assimilation) (ค่าเฉลี่ย 20.80, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.35) อันดับสุดท้าย คือ แบบการเรียนแบบอเนกนัย (Divergent) (ค่าเฉลี่ย 19.30, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.90) และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า ผู้เรียนในทุกแบบการเรียน หลังจากเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐานแล้ว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4)ความคิดเห็นของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาซีพลัสพลัส มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.66, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53) |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1483 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57257311.pdf | 11.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.