Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1494
Title: THE ADMINISTRATOR’S EXERCISE OF POWER AND SCHOOL EFFECTIVENESS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 6
การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
Authors: Natida GROTINTAKOM
ณธิดา โกรทินธาคม
Saisuda  Tiacharoen
สายสุดา เตียเจริญ
Silpakorn University. Education
Keywords: การใช้พลังอำนาจ
ประสิทธิผลของสถานศึกษา
THE ADMINISTRATOR’S EXERCISE OF POWER
SCHOOL EFFECTIVENESS
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this study were to determine 1) the administrator’s exercise of power under the Secondary Educational Service Area Office 6 2) the school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 6 3) the relationship between the administrator’s exercise of power and the school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 6. The sample were 48 schools. The instrument was a questionnaire about the administrator’s exercise of power based on French and Raven concept and school effectiveness according to Hoy and Miskel’s concept. The statistical analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product – moment correlation coefficient. The results of this research were as follow:  1. The administrator’s exercise of power under the Secondary Educational Service Area Office 6, as a whole and each aspect were at a high level ranking from the highest to the lowest mean: reward power legitimate power coercive power referent power expert power. 2. The school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 6, as a whole and each aspect were at a high level ranking from the highest to the lowest mean: latency adaptation integration goal attainment. 3. The relationship between administrator’s exercise of power and the school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 6 was found at .01 level of statistical significance
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำนวน 48 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้พลังอำนาจของผู้บริหาร ตามแนวคิดของเฟรนซ์ และราเวน (French and Raven) และประสิทธิผลของสถานศึกษา ตามแนวคิดของฮอย และมิสเกล (Hoy and Miskel) สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้พลังอำนาจของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ พลังอำนาจการให้รางวัล พลังอำนาจตามกฎหมาย พลังอำนาจบังคับ พลังอำนาจอ้างอิง และพลังอำนาจความเชี่ยวชาญ 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพ ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการผสมผสาน และความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง 3. การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในลักษณะคล้อยตามกัน
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1494
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58252316.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.