Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1504
Title: PHRAPARIYATTIDHAMMA SCHOOL IDENTITIES OF CHINESE BUDDHIST SECTS
อัตลักษณ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของคณะสงฆ์จีนนิกาย
Authors: Thawatchai KAEWSING
ธวัชชัย แก้วสิงห์
PRASERT INTARAK
ประเสริฐ อินทร์รักษ์
Silpakorn University. Education
Keywords: อัตลักษณ์
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
IDENTITIES
PHRAPARIYATTIDHAMIMA SCHOOL
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research was to determine; Phrapariyattidhamma school identities of Chinese Buddhist sects. The research methodology used Ethnographic Delphi Futures Research. The key informants were 21 experts comprising of 7 groups; 1) school director, 2) abbot, 3) Executive Chinese Buddhist sect, 4) Teachers and educational personnel, 5) School Board, 6) Alumni, and 7) The stakeholder who involved with Phrapariyattidhamma school. The instruments for collecting the data were unstructured interview and questionnaire. The statistics used in this research were Mode, Median, Interquartile range. and content analysis. The finding of this research shown that: Phrapariyattidhamma school identities of Chinese Buddhist sects composed of 10 dimensions with 90 variables; 1) School site and environmental management: 7 variables, 2) Qualifying administrators, teachers, students: 10 variables, 3) The patronage of the community: 7 variables, 4) Promoting the use of Chinese language in the course Phrapariyattidhamma school: 10 variables, 5) Focusing on the principles of Mahayana Buddhism: 10 variables, 6) Community participation in management.: 10 variables, 7) Promoting the culture and Chinese tradition: 10 variables, 8) Enhancing on public mind: 10 variables 9) Monitoring: 6 variables, 10) Evaluating and Reporting : 10 variables, and 10) Enhancing on public mind : 10 variables
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบอัตลักษณ์ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของคณะสงฆ์จีนนิกาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคต (EDFR) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน แบ่งเป็น 7 กลุ่มๆ ละ 3 คน ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มเจ้าอาวาสที่โรงเรียนตั้งอยู่ กลุ่มผู้บริหารคณะสงฆ์จีนนิกาย กลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา กลุ่มศิษย์เก่า กลุ่มผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของคณะสงฆ์จีนนิกาย เช่นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของคณะสงฆ์จีนนิกาย ประกอบด้วย 10 ด้าน 90 ตัวแปรย่อย ได้แก่ 1) การจัดสภาวะแวดล้อมในบริบทวัฒนธรรมจีน มี 7 ตัวแปรย่อย 2) การกำหนดคุณสมบัติผู้บริหาร ครู ผู้เรียน ในบริบทของความเป็นวัฒนธรรมจีน มี 10 ตัวแปรย่อย 3) การอุปถัมภ์จากชุมชนชาวจีน มี 7 ตัวแปรย่อย 4) การส่งเสริมการใช้ภาษาจีนในหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มี 10 ตัวแปรย่อย 5) การเน้นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามหายาน มี 10 ตัวแปรย่อย 6) การให้ชุมชนชาวจีนมีส่วนร่วมในการบริหาร มี 10 ตัวแปรย่อย 7) การส่งเสริมด้านวัฒนธรรมประเพณีจีน มี 10 ตัวแปรย่อย 8) การส่งเสริม จิตสาธารณะตามวัฒนธรรมแห่งจีนนิกาย มี 10 ตัวแปรย่อย 9) การกำกับและติดตามโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของคณะสงฆ์จีนนิกาย มี 6 ตัวแปรย่อย และ 10) การตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงานและการรายงานผลโรงเรียนของคณะสงฆ์จีนนิกาย มี 10 ตัวแปรย่อย
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1504
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58252801.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.