Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1617
Title: BUSINESS DEVELOPMENT STRETEGIES FOR MUSIC STUDIO IN MUANG CHONBURI DISTRICT 
กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจโรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัยในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี
Authors: Siriporn YOOKAEW
ศิริพร อยู่แก้ว
Saksit Rachruk
ศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์
Silpakorn University. Music
Keywords: โรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัย
ผู้ปกครองในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี
การตลาดบริการ
MUSIC STUDIO
PARENTS IN MUANG CHONBURI DISTICT
SERVICES MARKETING
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this research were; 1) Study a problem of music studio business procedure in Muang Chonburi District. 2) Study influencing factors for parents in selecting music studio in Muang Chonburi District. 3) Create strategy business development strategies for music studio in Muang Chonburi District. The researcher use mixed research methods involving qualitative and quantitative methodologies. This consisted of an in-depth interview with three music studio manager. The quantitative data was collected from a viewer of 400 key respondents. The data analysis and statistical consist of frequencies distribution, percentage, mean, and factor analysis.                                   The results showed as followings: A problem of music studio business procedure in Chonburi are environment and facilities, teacher, information, time management. This consisted of late teachers or students, missing class, pay no time, strictly course, inaccessible information   From the results, therefore can create the strategy for Business development strategies for music studio in Chonburi. The Strategy contained S (Student Center leaning Technique ), P (Professional Staff ) A (Accession and Participation) C (Course and Time Flexibility) E (Environment and Facilities) These fiver factors are accorded to the results from qualitative research and quantitative research and conclude to a “SPACE” strategy, Business development strategies for music studio in Muang Chonburi District.
ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการดำเนินการธุรกิจโรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัยในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเข้ารับบริการโรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัยของผู้ปกครองในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี 3.เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจโรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัยในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นการวิจัยแบบ ผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยข้อมูลเชิงคุณภาพนั้นได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัย จำนวน 3 ราย ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณนั้นได้มาจากการแจกแบบสอบถามให้กับผู้ปกครองในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 ราย  สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติใช้นั้นผู้วิจัยได้ใช้การแจกแจงความถี่ (Frequencies Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าใช้บริการโรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัยของผู้ปกครองด้วยสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการดำเนินการธุรกิจโรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัยในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี คือปัญหาในการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ เช่น ผู้สอนไม่รู้จุดประสงค์ของผู้เรียน ครูผู้สอนไม่ตรงต่อเวลา ครูผู้สอนไม่ใส่ใจในการสอน หลักสูตรในการเรียนเข้มงวดมากเกินไป การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง รวมถึงปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการ  จากผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นนั้นได้นำไปสร้างเป็นกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจโรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัยในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี คือกลยุทธ์ SPACE ซึ่งประกอบไปด้วย S (Student Center leaning Technique) หมายถึงผู้เรียนคือคนสำคัญ P (Professional Staff) หมายถึง บุคลากรที่มีความสามารถ A (Accession and Participation) หมายถึง การเข้าถึงและมีส่วนร่วม C (Course and Time Flexibility) หมายถึง การจัดการที่มีความยืดหยุ่น E (Environment and Facilities) หมายถึง สภาพแวดล้อมที่ดีและมีความพร้อม
Description: Master of Music (M.Mus)
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1617
Appears in Collections:Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59701322.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.