Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1619
Title: Creative Tourism Model and Strategies in World Heritage City of Phranakorn Sri Ayudhaya Province
รูปแบบและกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองมรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Authors: Amara VERAWAT
อมรา วีระวัฒน์
Narin Sungrugsa
นรินทร์ สังข์รักษา
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: มรดกโลก
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
World Heritage City
Creative Tourism
Sustainable Tourism
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract:               Research on Creative Tourism Model and Strategies in World Heritage City of Phranakorn Sri Ayudhaya Province is Research and Development in conjunction with policy research. This research was aimed to 1) study the situation and analyze needs of creative tourism; 2) develop the model of creative tourism; 3) develop the strategy of creative tourism; 4) present and certify the model and strategy in the policy meeting on Creative Tourism in World Heritage City of Phranakorn Sri Ayudhaya Province. Data was collected from interviews with stakeholders; representatives from the public and private sectors; communities and tourists. It used purposive selections with a total of 30 in-depth interviewees and 20 expert reviewers using EDFR technique. Tools used include: SWOT Analysis, TOWS Matrix, PESTEL Analysis, 7s Model, Document Analysis, Expert Seminar, conducting policy meetings with stakeholders, collecting and analyzing data by using both quantitative and qualitative methods. Statistic used include: Median, Interquartile Range, and inductive analysis.                         The research found that, according to the situation and needs for Creative Tourism; World Heritage City of Phranakorn Sri Ayudhaya Province features prominently in the history, art, culture, architecture, and in the wisdom of the ancient community in the choice of a community location in the area where three rivers met; which is ideal for creation of creative tourism. However, there are social, natural resources, and environmental problems that might affect Creative Tourism in the area.             Regarding the Creative Tourism model, the “HERITAGEs” model were created. The model was composed of H – Horizontal; E – Effort; R – Reality; I – Identity; T – Technology; A (s) – Attractions, Activities, Accessibility, Accommodation, Amenities and Awareness; G – Good service; and E – Efficiency.             Strategies of Creative Tourism in the World Heritage City of Phranakorn Sri Ayudhaya province include: 1) Creating a model for the development of culture and economic knowledge based on history, Identity, and culture to be a sustainable tourism destination; 2) Developing elements that are conducive to creative tourism; 3) Promoting and developing communication and marketing for creative tourism; 4) Developing programs to enhance the capacity and effectiveness of tourism personnel to support the creative tourism; 5) Supporting the development of information technology and information systems for creative tourism; and 6) Developing quality accommodation for creative tourism.             For the results of presenting and certifying the model and strategies of creative tourism in the World Heritage City of Phranakhon Sri Ayutthaya; the consensus was reached by the stakeholders at the policy meeting. The terms "HERITAGEs Model" are modeled as a prototype model. To be able to implemented the model, it must be translated into an Action Plan for creative tourism in the World Heritage City of Phra Nakhon Sri Ayudhaya Province for the community to exchange learning, and to develop creativity in a concrete, stable and sustainable way.             The success of creative tourism in the World Heritage City of Phranakhon Sri Ayudhaya depends on the integration of the public, private and community sectors. Furthermore, the issue of law enforcement should be fair and flexible according to the context and situation in the area. And although the implementation of information technology systems is important and necessary for the management of creative tourism in the World Heritage City, there should be more training on the use of information technology for tourism personnel. The information that is being disseminated through the information system should be checked; and the level of data access should be maintained so that data is kept secure and can be properly used for the appropriate purposes.  
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาร่วมกับการวิจัยเชิงนโยบาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการในด้านรูปแบบและกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษาร่างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) ศึกษาร่างกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 4) นำเสนอและรับรองรูปแบบและกลยุทธ์ โดยการประชุมเชิงนโยบายในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองมรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นตัวแทนทั้งจากภาครัฐ เอกชน ชุมชน และนักท่องเที่ยว โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 30 คน และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบใช้วิธี EDFR ร่างยุทธศาสตร์จำนวน 20 คน โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ SWOT, TOWS Matrix, PESTEL Analysis, 7S Model การวิเคราะห์เอกสาร การสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และการประชุมเชิงนโยบายกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ มัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทร์ (Interquartile Range) และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. เมืองมรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความโดดเด่นในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และ สถาปัตยกรรม และความชาญฉลาดของชุมชนโบราณในการเลือกที่ตั้งชุมชนในบริเวณที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน แม้จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีต้นทุนด้านการท่องเที่ยวสูง แต่กลับยังพบปัญหาด้านสังคมอื่นๆ เช่น อัตราการเกิดของประชากรใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี ประชากรจากถิ่นอื่นย้ายเข้ามาในพื้นที่ สำหรับด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น พบปัญหามลพิษจากภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ และปัญหาการบริหารจัดการน้ำทั้งในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเป็นประเด็นสำคัญ 2. ได้รูปแบบที่เรียกว่า HERITAGEs Model และกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองมรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบไปด้วย กลยุทธ์ที่ 1) การสร้างรูปแบบในการพัฒนาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาบนพื้นฐานประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์และวัฒนธรรมสู่การเป็นการพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์ที่ 2) การพัฒนาองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์ที่ 3) การส่งเสริมและพัฒนาด้านการสื่อสารและการตลาดด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์ที่ 4) การพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 5) การสนับสนุนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และกลยุทธ์ที่ 6) การพัฒนาคุณภาพของที่พักเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3. ผลการนำเสนอและรับรองรูปแบบและกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองมรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ รูปแบบและกลยุทธ์ทั้งหมดได้ผ่านมติในที่ประชุมเชิงนโยบายจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีเงื่อนไขในการใช้ “HERITAGEs Model” คือ รูปแบบเป็นเพียงแบบจำลอง ซึ่งต้องนำไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan)  การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองมรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ในเชิงรูปธรรมอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ ความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองมรดกโลกขึ้นอยู่กับการบูรณาการการทำงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในส่วนของการบังคับใช้กฎหมายควรมีความยุติธรรมและยืดหยุ่นเหมาะแก่บริบทของสถานการณ์ในพื้นที่ และถึงแม้การดำเนินการด้านระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์พื้นที่มรดกโลก ควรมีการอบรมการใช้งานระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศให้แก่บุคลากรด้านการท่องเที่ยว มีการตรวจสอบข้อมูลที่นำเข้าหรือเผยแพร่ผ่านระบบสารสนเทศดังกล่าว และมีการกำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลเพื่อรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยและสามารถนำไปใช้อย่างถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1619
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55604812.pdf10.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.