Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1644
Title: MODELS AND MARKETING STRATEGIES FOR LOCAL GASTRONOMY TOURISM IN EASTERN SEABOARD AREA IN THE CONTEXT OF THAILAND 4.0 
รูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเพื่อรองรับบริบทของสังคมไทยแลนด์ 4.0 
Authors: Yada CHOPTHAMDEE
ญาดา ชอบทำดี
Narin Sungrugsa
นรินทร์ สังข์รักษา
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น
กลยุทธ์การตลาด
ไทยแลนด์ 4.0
local gastronomy tourism
marketing strategies
Thailand 4.0
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This R&D and policy research aimed to 1) study the situation and needs of local gastronomy tourism in eastern seaboard area 2) study the model of local gastronomy tourism in eastern seaboard area 3) study the marketing strategy of local gastronomy tourism in eastern seaboard area 4) present and certify the model and marketing strategy of local gastronomy tourism in eastern seaboard area. Data is collected from 20 in-depth interviewers and 17 draft review strategic experts. Data is collected by qualitative research and EDFR (Ethnographic Delphi Future Research). The researcher analyzes document, related research and policy meeting with stakeholders of local gastronomy tourism in eastern seaboard area in the context of Thailand 4.0. It is revealed that 1) The Eastern Seaboard has the potential of outstanding local gastronomy whole of lifestyle, wisdom and technology. Local gastronomy is unique from local ingredients including savory foods, sweets and fruits. There are also local festivals and activities throughout the year. 2) The model for local gastronomy tourism in eastern seaboard area in the context of Thailand 4.0 “ALLGAS Model” consist of A-Attraction, L-Local Community, L-Lifestyle and Culture, G-Gastronomy, A-Activity and S-Social Technology. 3) The marketing strategies for local gastronomy tourism in eastern seaboard area in the context of Thailand 4.0 consist of; 1) Promote and support local gastronomy tourism products and services. 2) Support for local gastronomy tourism and promote communication to create local pride. 3) Promote tourism personnel and support the participation of local communities to promote local gastronomy tourism. 4) Strengthen local communities with local gastronomy and environmental protection. According to policy meeting from stakeholders, all models and strategies are approved in consensus. 4) The model and marketing strategy of local gastronomy tourism in eastern seaboard area. According to policy meeting from stakeholders, all models and strategies are approved in consensus. This research found that adding value to local gastronomy tourism in the eastern seaboard require the participation of local communities.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาร่วมกับการวิจัยเชิงนโยบาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 2) สังเคราะห์รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 3) วิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 4) รับรองรูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 คน และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบร่างกลยุทธ์จำนวน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับเทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) โดยการวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการประชุมเชิงนโยบายร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเพื่อรองรับบริบทของสังคมไทยแลนด์ 4.0 ผลการวิจัยพบว่า 1) ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมีศักยภาพของอาหารพื้นถิ่นที่โดดเด่นทั้งวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และเทคโนโลยีท้องถิ่น ส่วนอาหารพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์จากวัตถุดิบภายในท้องถิ่น มีทั้งอาหารคาว อาหารหวาน และผลไม้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมและงานเทศกาลเกี่ยวกับอาหารพื้นถิ่นตลอดทั้งปี 2) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเพื่อรองรับบริบทของสังคมไทยแลนด์ 4.0 “ALLGAS Model” ประกอบด้วย A-Attraction (แหล่งท่องเที่ยว) L-Local Community (ชุมชนท้องถิ่น) L-Lifestyle and Culture (วิถีชีวิตและวัฒนธรรม) G-Gastronomy (อาหารการกิน) A-Activity (กิจกรรม) และ S-Social Technology (เทคโนโลยีสังคม) 3) กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเพื่อรองรับบริบทของสังคมไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น กลยุทธ์ที่ 2 สนับสนุนการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นและส่งเสริมการสื่อสารเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในท้องถิ่น กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการผลักดันการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น และกลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมความเข้มแข็งภายในชุมชนด้วยอาหารพื้นถิ่นและการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งรูปแบบและกลยุทธ์ทั้งหมดได้ผ่านมติที่ประชุมเชิงนโยบายจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) รูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในการประชุมเสวนาเพื่อเสริมสร้างปัญญา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยอมรับร่างรูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นเพื่อรองรับบริบทของสังคมไทยแลนด์ 4.0 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ การเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1644
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57604914.pdf13.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.