Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1663
Title: PRODUCT AND SERVICE PURCHASING BEHAVIORS OF SHOPEE APPLICATION’S USERS IN THAILAND
พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application Shopee ในประเทศไทย
Authors: Nattakan KONGKAEM
ณัฐกานต์ กองแก้ม
Amarin Tawata
อมรินทร์ เทวตา
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: ส่วนประสมทางการตลาด , การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร , พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ , พฤติกรรมการซื้อ
Marketing mix Integrated marketing communications E-Commerce Purchase Behavior
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to study the product and service purchasing behaviors of Shopee application’s users in Thailand, and to study the marketing mix factors and integrated marketing communications affecting their behaviors in purchasing products and services via Shopee application. This quantitative research was conducted via online surveys. The respondents were 400 Shopee application’s users in Thailand. Percentages, means, standard deviations, and multiple regression analysis were used to analyze the marketing mix factors and integrated marketing communications affecting their products and services purchasing behaviors. The results showed that most of the respondents were females. The top age group using Shopee application was 21-35. Most of them resided in the central region of Thailand, made a living as employees/office workers, and earned more than THB 20,000 per month. For those regarding the products and services purchasing behaviors, marketing mix factors, and integrated marketing communications, the details were as follows: 1. Product and Service Purchasing Behaviors of Shopee Application’s Users:  The most interesting product for these users was clothing. After having been informed about the discount offers, the consumers decided immediately. The decisions resulted from the quality of the products and most users chose mobile Shopee application as their buying channel. The reputation of the application itself was the key to the users’ attention while price comparison among many shops was taken into account. After that, the consumers made the payment by bank transfer. 2. Marketing Mix Factors – Products: The product marketing mix had a significance positive impact on the users’ behaviors in purchasing products and services correlatively at 0.05 level. This was the 4th most important factor for the users with its mean at 3.91. 3. Marketing Mix Factors – Price: Pricing had a significance positive impact on the users’ behaviors in purchasing products and services correlatively at 0.05 level. This was the 2nd most important factor for the users with its mean at 4.18. 4. Marketing Mix Factors – Place (Distribution): This factor had a significance positive impact on the users’ behaviors in purchasing products and services correlatively at 0.05 level. This was the 3rd most important factor for the users with its mean at 3.95. 5. Marketing Mix Factors – Promotion: Promotion had no positive impact on the users’ behaviors in purchasing products and services. However, this was the most important factor for the users with its mean at 4.52. 6. Integrated Marketing Communications: These had a significant positive impact on the users’ behaviors in purchasing products and services correlatively at 0.05 level. Shopee application’ executive officers could use the information in this research, which pointed out its strengths and weaknesses, to further improve their business in order to respond to the customers’ needs and meet their satisfaction.  Moreover, this study was also beneficial to the sellers using Shopee application due to the fact that they would realize customer satisfaction and be able to make their shops better. Finally, this research was also helpful for any newcomer interested in selling goods and services via Shopee application.  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้Application Shopee ในประเทศไทย ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการผ่าน Application Shopee ของลูกค้าในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในระบบออนไลน์ โดยผู้ที่ตอบแบบสอบถาม คือผู้ใช้ Application Shopee ในประเทศไทยจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application Shopee ในประเทศไทย และ การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application Shopee ในประเทศไทย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง กลุ่มอายุที่ใช้ Application Shopee มากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 21-25 ปี สถานที่พักปัจจุบันของผู้ใช้ส่วนใหญ่ คือ ภาคกลาง อาชีพของผู้ใช้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ลูกจ้าง/พนักงานบริษัท รายได้ของผู้ใช้ส่วนใหญ่ 20,000 บาทขึ้นไป และแยกผลการศึกษาด้านพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร ได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application Shopee พบว่า สินค้าที่ผู้ใช้ Application Shopee สนใจมากที่สุด คือ สินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อทันทีที่ทราบว่ามีการให้ส่วนลดในช่วงเวลาต่างๆ สาเหตุในการซื้อสินค้าของผู้บริโภค พบว่า คุณภาพของสินค้ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ช่องทางในการซื้อส่วนใหญ่ ซื้อจาก Application Shopee ในโทรศัพท์มือถือ โดยชื่อเสียงของ Application Shopee ทำให้ผู้ใช้เกิดความสนใจซื้อสินค้ามากที่สุด การตัดสินใจซื้อของผู้ใช้ คือ มีการเปรียบเทียบราคาจากหลายๆร้านค้าก่อนการตัดสินใจซื้อ และชำระเงินโดยการโอนเงินผ่านธนาคาร 2.ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ ไปในทิศทางเดียวกันอย่าง อย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับ 0.05 เป็นด้านที่ผู้ใช้ Application Shopee ให้ความสนใจเป็นอันดับที่ 4 ที่ค่าเฉลี่ย 3.91 3.ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคามีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ ไปในทิศทางเดียวกันอย่าง อย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับ 0.05 เป็นด้านที่ผู้ใช้ Application Shopee ให้ความสนใจเป็นอันดับที่ 2 ที่ค่าเฉลี่ย 4.18 4.ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ ไปในทิศทางเดียวกันอย่าง อย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับ 0.05 เป็นด้านที่ผู้ใช้ Application Shopee ให้ความสนใจเป็นอันดับที่ 3 ที่ค่าเฉลี่ย 3.95 5.ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นด้านที่ผู้ใช้ Application Shopee ให้ความสนใจมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ที่ค่าเฉลี่ย 4.52 6.การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร พบว่า การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ ไปในทิศทางเดียวกันอย่าง อย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งผู้บริหารของ Application Shopee สามารถนำข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจ ทำให้องค์กรมองเห็นจุดที่ต้องการแก้ไข และจุดที่องค์กรได้ดำเนินงานมาได้อย่างดีอยู่แล้ว เพื่อนำข้อแก้ไขไปปรับปรุงในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าได้ดียิ่งๆขึ้นไป และจากการศึกษาครั้งนี้ยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ขายที่ขายสินค้าผ่าน Application Shopee ให้รู้ถึงความพึงพอใจของลูกค้าในด้านต่างๆเพื่อที่จะนำไปปรับปรุง พัฒนาร้านของตนให้ดียิ่งๆขึ้นไป สุดท้าย การศึกษาครั้งนี้ยังเป็นประโยชน์กับผู้ขายรายใหม่ที่มีความสนใจขายสินค้าผ่าน Application Shopee ในการตัดสินใจเข้าร่วมขายสินค้าและบริการเช่นกัน
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1663
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58602344.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.