Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1678
Title: Business model and marketing strategies of retail shop in areas where migrant workers living. Case study: The minimart at Takhram En, Thamaka, Kanchanaburi
รูปแบบการดำเนินธุรกิจและกลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีกในพื้นที่ที่มีกลุ่มแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา ร้านมินิมาร์ท ในพื้นที่ ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Authors: Hattaya YUEAMANPONG
หัทยา เยื่อแม้นพงศ์
Narong Srikriengthong
ณรงค์ ศรีเกรียงทอง
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: กลยุทธ์ธุรกิจค้าปลีก
รูปแบบธุรกิจค้าปลีก
STRATEGIES OF RETAIL
MODERN RETAILNG BUSINESS
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this study were three fold; 1) to study business model of retail shop in areas where migrant workers living, case study: The minimart at Takhram En, Tha Maka, Kanchanaburi; 2) to study marketing strategies of retail shop in areas where migrant workers living, case study: The minimart at Takhram En, Tha Maka, Kanchanaburi; and 3) to study obstacles and solutions for business model of retail shop in areas where migrant workers living, case study: The minimart at Takhram En, Tha Maka, Kanchanaburi by interviewing 10 people, which were entrepreneurs of the Samnakkro stationery office and Myanmar labors who were clients.  The study revealed that 1) the business model of the Samnakkro stationery office was a retail minimart and was managed by only one owner. The minimart sold consumer product. The business principle was to consider the diversity of products and focus on customer service. Most of the clients were migrant workers, Myanmar. 2) The marketing strategies were divided to 2.1) product strategy, which focused on daily necessities. 2.2) Price strategy was to determine less price than other shops or standard price. 2.3) Promoting strategy had discounted and gift for customer. 2.4) Packaging was used as the packaging from factory then arranged the products to be suitable for shelves. The goods in large package was divided into new small package. 2.5) Sales strategy might communicate in both Thai and Myanmar and had service mind. 2.6) Information strategy, there was advertising through the brochures and word of mouth both Thai and Myanmar languages. 2.7) Power strategy, customers could be a bargain and order quantity. There was only one wholesaler. Problem and solutions were: 1.) some problems of product were less selective product for customers since solution was that the shop should supply more variety product. 2.) The problem of product management was not a category and enough name of product tag. The solution was to organize the product into categories and arrange the name tag of the product was in Myanmar. 3.) The salesman’s problem who spent a lot of time to find goods, the solution was to train salesman always. 4.) Service time problem, the Myanmar clients need the shop to open 24 hours a day, so the solution was to evaluate the value of the store at the appropriate time.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกในพื้นที่ที่มีกลุ่มแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษาร้านมินิมาร์ท ในพื้นที่ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีกในพื้นที่ที่มีกลุ่มแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษาร้านมินิมาร์ท ในพื้นที่ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข การดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกในพื้นที่ที่มีกลุ่มแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษาร้านมินิมาร์ท ในพื้นที่ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านสำนักคร้อเครื่องเขียน และสัมภาษณ์กลุ่มลูกค้าแรงงานเมียนมา จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการดำเนินธุรกิจร้านสำนักคร้อเครื่องเขียนเป็นร้านค้าปลีกประเภท มินิมาร์ท บริหารงานโดยเจ้าของคนเดียว จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค มีหลักการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสินค้าต้องความหลากหลาย และเน้นความสำคัญของงานบริการ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานเมียนมา 2) กลยุทธ์การตลาด แบ่งออกเป็น 2.1) กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ เน้นการขายสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน 2.2) กลยุทธ์ราคา กำหนดราคาขายได้ถูกกว่าร้านอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง หรือตามราคาตลาด 2.3) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด มีการให้ส่วนลด และการให้ของสมานาคุณลูกค้า 2.4) กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ ใช้รูปแบบบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตจัดเรียงสินค้าให้เข้ากับชั้นวางสินค้า สำหรับสินค้าบริโภคที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ ร้านจะนำมาแบ่งบรรจุภัณฑ์ใหม่ 2.5) กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย ต้องสื่อสารได้ทั้ง ภาษาไทย และภาษาเมียนมา มีใจรักบริการ 2.6) กลยุทธ์การให้ข่าวสาร มีการโฆษณาสินค้าผ่านการบอกต่อ และแผ่นพิมพ์ต่างๆ เป็นภาษาไทยและภาษาเมียนมา 2.7) กลยุทธ์พลัง สามารถต่อรองราคา และกำหนดปริมาณสั่งซื้อได้ มีการจะผูกขาดผู้ค้าส่งเพียงรายเดียว ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข คือ 1.) ปัญหาสินค้าบางชนิดมีให้เลือกน้อย แนวทางแก้ไข คือ ร้านควรจัดหาสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น 2.) ปัญหาการจัดการสินค้ายังไม่เป็นหมวดหมู่ และมีป้ายชื่อสินค้าไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไข คือ จัดระเบียบสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ และมีป้ายบอกชื่อสินค้าเป็นภาษาเมียนมา 3.) ปัญหาพนักงานขายใช้เวลาหาสินค้านาน แนวทางแก้ไข คือ เจ้าของร้านจัดอบรมทำความเข้าใจสินค้านั้นแก่พนักงานขายอยู่เสมอ 4.) ปัญหาด้านเวลาการให้บริการ กลุ่มลูกค้าแรงงานเมียนมาต้องการให้ร้านค้าเปิด 24 ชั่วโมง แนวทางแก้ไข คือ ร้านควรมีการประเมินความคุ้มค่าในช่วงเวลาที่เหมาะสมของการเปิดปิดร้าน
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1678
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58602383.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.