Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1792
Title: Shades of Southern Multicultural Society
สีสันในสังคมพหุวัฒนธรรมของชาวใต้
Authors: Jirarot SRIYAPHAN
จิรโรจน์ ศรียะพันธุ์
VICHOKE MUKDAMANEE
วิโชค มุกดามณี
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: สีสันชาวใต้
พหุวัฒนธรรมชาวใต้
บาติก
จุดสี
ชาวใต้พุทธ
ชาวใต้มุสลิม
SHADES OF SOTHERNERS
SOTHERN MULTICULTURES
BATIK
BUDDHISM SOUTHERNERS
MUSLIM SOUTHERNERS
CHINESE SOUTHERNERS
POINT COLORS
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract:   The art “The Shades of Southern Multicultural Society” is the implementation of acrylic colors combined with Batik paintings, which aims to portray the beauty and personality of the diverse shades in the southern multi-cultures: Buddhism, Islamism and Chinese. The process of this art’s creation “The Shades of Southern Muticultural Soceity” starts with the research of colors and patterns seen in the lifestyles, the local sounthern fine arts as well as relatable Thai and western artists’ wokrs through collecting data, photography and interviewing folks and experienced experts of creating local artworks. Afterwards, study interesting art pieces from publishing like program cards, art textbooks, articles and other information media, and finally, gather all the data to form the method of creation. This work has been inspired from shapes of prominent southern fine arts, local performance arts, religious rites, dietary traditions, routine vehicles and daily costumes and outfits. These aspects are placed as a subject in the center of the canvas and surrounded by other aspects related to itself along with the visual element to depict the art “The Shades of Southern Muticultural Soceity.” The creation of the painting “The Shades of Southern Muticultural Soceity” begins with canvas preparation followed by a large brush to entirely paint onto the canvas and cover the picture with bee wax at each wanted point, so then dye the raw fabric as desired. The next step is to use acrylic colors onto the Batik to control the feeling of the art piece by completing each color schemes. The painting requires acrylics to paint, drop and point colors to form shapes and graceful patterns as the creator’s imagination. Therefore, the art helps develop the technique and method between modern and international creation, the acrylic and local creation of Southern Thais, the Batik. This led to brand new knowledge which shows the combination of colors and patterns belonging to the Buddhism, Islamic and Chinese southerners, identifying the value of Southern multi-cultures from Thais who are Buddhism, Islamism and Chinese.
  ผลงานชุด “สีสันในสังคมพหุวัฒนธรรมของชาวใต้” เป็นผลงานจิตรกรรมสีอะคริลิกผสมกับการเขียนสีเทคนิคบาติกที่มีจุดประสงค์เพื่อแสดงบุคลิกภาพและความงามของสีสันที่มีอยู่อย่างหลากหลายในพหุวัฒนธรรมภาคใต้อันได้แก่ ชาวใต้ที่นับถือพุทธศาสนา ชาวใต้ที่นับถือศาสนาอิสลาม และชาวใต้เชื้อสายจีน การดำเนินการสร้างสรรค์ผลงานชุด “สีสันในสังคมพหุวัฒนธรรมของชาวใต้” โดยการ ศึกษาและรวบรวมข้อมูลของสีและลวดลายที่ปรากฏในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวใต้ ผลงานศิลปกรรมท้องถิ่นภาคใต้ ศิลปินที่มีความสอดคล้องทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศโดยการเก็บข้อมูล การถ่ายรูปและการสัมภาษณ์จากชาวบ้านและผู้ที่มีประสบการณ์ในสร้างสรรค์ผลงานท้องถิ่น ศึกษาจากเอกสารเผยแพร่ เช่น สูจิบัตร หนังสือวิชาการทางศิลปะ บทความ และสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ศึกษารายละเอียดของข้อมูลที่สามารถรวบรวมได้ เพื่อนำมาสร้างแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม รูปแบบสร้างสรรค์ผลงานมาจากรูปทรงของศิลปกรรมที่โดดเด่นในวัฒนธรรมภาคใต้ ศิลปะการแสดงท้องถิ่น ประเพณีทางศาสนา วัฒนธรรมการบริโภคอาหาร พาหนะในการดำรงชีวิต การแต่งกายและเครื่องนุ่งห่มในชีวิต ประจำวัน โดยเนื้อหาดังกล่าวจะได้รับการจัดวางเป็นประธานของภาพ แล้วรายล้อมด้วยรายละเอียดที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาเป็นตัวประกอบของการสร้างสรรค์ ที่นำมาใช้ร่วมกันกับทัศนธาตุในการแสดงออกเพื่อนำเสนอเป็นผลงานชุดนี้ การสร้างสรรค์ผลงานในชุด “สีสันในสังคมพหุวัฒนธรรมของชาวใต้” จะเริ่มต้นจากการเตรียมผ้าใบแล้ว จากนั้นใช้พู่กันขนาดใหญ่ระบายสีลงบนเฟรมผ้าใบจนเต็มภาพ แล้วปิดด้วยขี้ผึ้งลงบนเฟรมผ้าใบตามจุดที่ต้องการ จากนั้นจึงนำผ้าดิบไปย้อมสีตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการ ต่อจากนั้นเป็นการลงสีอะคริลิกทับบนเทคนิคบาติกเพื่อควบคุมบรรยากาศของภาพให้เป็นไปตามโครงสีที่ต้องการแต่ละชิ้น ในการสร้างภาพจะใช้สีอะคริลิกระบาย หยดสี จุดสีให้เป็นรูปทรงและลวดลายตามจิตนาการของผู้สร้างสรรค์ ดังนั้นผลงานศิลปะจะเป็นการพัฒนาเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะระหว่างเทคนิคสมัยใหม่คือ การใช้สีอะคริลิกที่เป็นเทคนิคสากลกับเทคนิคบาติกซึ่งเป็นเทคนิคท้องถิ่นในภาคใต้ ซึ่งเป็นลักษณะการสร้างองค์ความรู้ใหม่ แสดงการใช้สีสันและการผสมผสานกับลวดลายของชาวใต้พุทธ ชาวใต้มุสลิม และชาวใต้เชื้อสายจีนเข้าด้วยกันอันทำให้ผู้ชมตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นพหุวัฒนธรรมภาคใต้ที่มีที่มาจากชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม และชาวไทยเชื้อสายจีน
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1792
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57007804.pdf19.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.