Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1821
Title: Characteristic of Cartoon in Thai Contemporary Art.
การใช้ลักษณะการ์ตูนในศิลปะร่วมสมัยไทย
Authors: Wit KLABVISAT
วิศว์ กลับวิเศษ
SUTEE KUNAVICHAYANONT
สุธี คุณาวิชยานนท์
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: การ์ตูน
ศิลปะร่วมสมัยไทย
Thai contemporary art
cartoon
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: In the past, cartoon was categorized as applied art and obviously considered as “low art” and inferior to fine art. In these days, the barrier between fine art and cartoon has been partially diminished as it can be seen that there are a lot of contemporary artists who create fine art that yet contains cartoon elements. Thai contemporary artists are also fall in the group. This thesis aims to present the way cartoon is utilized in Thai contemporary art. It categorizes the aspects of cartoon into 6 aspects which are 1) cartoon containing elements of figurative art elements, 2) narrative cartoon, 3) visually simple cartoon, 4) surrealist cartoon, 5) comedic cartoon, and 6) cartoon focusing on language and text. The author applies these 6 aspects as criteria to choose Thai contemporary artists to analyze, consisting of 7 artists which are 1) Krissadank Intasorn, 2) Kiatanan Iamchan, 3) Tawee Rujaneekorn, 4) Thaweesak Srithongdee, 5) Patcharapol Tangruen, 6) Lampu Kansanoh and 7) Vasan Sitthiket. The article will categorize the artists into 4 groups based on contents which are 1) social issue group, 2) sexuality issue group, 3) political issue group and 4) religious issue group in which the author will describe what aspects of cartoon are contained on each work of art by each artist and how the aspects are utilized. The study shows that Thai contemporary artists present them artworks with different forms and quantities of aspects of cartoon. Furthermore, these aspects are popular at the present time, although the forms and the contents of the work contradicts each other, indicating that in these days Thai contemporary art movement accepts works that contain elements of cartoon as fine art. 
จากเดิมที่การ์ตูนนั้นถูกจำแนกให้เป็นประยุกต์ศิลป์และถูกมองว่าเป็นศิลปะระดับล่าง  แต่ในเวลาปัจจุบันกำแพงทางคุณค่าระหว่างวิจิตรศิลป์และการ์ตูนนั้นก็ได้เริ่มที่จะทลายลงไปบ้าง โดยสังเกตได้จากการที่มีศิลปินร่วมสมัยจำนวนมากที่สร้างสรรค์ผลงานในฐานะของวิจิตรศิลป์แต่กลับมีลักษณะของการ์ตูนปรากฏอยู่  รวมทั้งในวงการศิลปะร่วมสมัยไทยด้วยเช่นกัน วิทยานิพนธ์นี้จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิธีนำลักษณะของการ์ตูนมาใช้ในผลงานศิลปะร่วมสมัยไทย โดยกำหนดถึงลักษณะของการ์ตูนเอาไว้เป็น 6 ประการ ได้แก่ การ์ตูนมีลักษณะของศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative Art), การ์ตูนมีลักษณะของการเล่าเรื่อง, การ์ตูนมีลักษณะของการทำให้ดูเรียบง่าย, การ์ตูนมีลักษณะของการทำให้ดูเกินจริงหรือบิดเบี้ยว, การ์ตูนมีลักษณะของการสื่อสารด้วยอารมณ์ขัน และการ์ตูนมีลักษณะของการใช้ภาษาถ้อยคำ ซึ่งผู้เขียนได้นำลักษณะของการ์ตูนทั้ง 6 ประการมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกศิลปินร่วมสมัยของไทยมาวิเคราะห์ โดยได้คัดเลือกศิลปินมาทั้งหมด 7 ท่านได้แก่ กฤษฎางค์ อินทะสอน, เกียรติอนันต์ เอี่ยมจันทร์, ทวี รัชนีกร, ทวีศักดิ์ ศรีทองดี, พัชรพล แตงรื่น, ลำพู  กันเสนาะ และวสันต์ สิทธิเขตต์ บทความนี้จะแบ่งศิลปินออกเป็น 4 กลุ่มด้วยเกณฑ์ทางเนื้อหา ได้แก่ กลุ่มประเด็นทางสังคม กลุ่มประเด็นทางเพศ  กลุ่มประเด็นทางการเมือง และกลุ่มประเด็นทางศาสนา โดยจะอธิบายว่าในผลงานของศิลปินแต่ละท่านนั้นมีวิธีการใช้ลักษณะของการ์ตูนเหล่านั้นอย่างไรบ้าง จากการศึกษาพบว่าศิลปินร่วมสมัยของไทยนั้นมีวิธีการใช้ลักษณะการ์ตูนในรูปแบบและปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ศิลปะรูปแบบนี้ยังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ถึงแม้ว่ารูปแบบกับเนื้อหาจะดูเข้ากันได้ยากก็ตาม ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นได้ว่าปัจจุบันวงการศิลปะร่วมสมัยไทยได้ให้การยอมรับว่าผลงานที่มีลักษณะของการ์ตูนปรากฏอยู่ว่าเป็นผลวิจิตรศิลป์อย่างชัดเจน
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1821
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57005216.pdf13.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.