Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/183
Title: | แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด |
Other Titles: | MOTIVATION WHICH AFFECTS THE EFFICIENCY IN OPERATION OF THE PERSONNEL TOWARDS THE CONSTRUCTION COMPANY : INTER EXPERT CONSTRUCTION.,LTD |
Authors: | ฐิติพงศ์, ปัญญาพร THITIPONG, PANYAPORN |
Keywords: | แรงจูงใจ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน MOTIVATION EFFICIENCY OF WORK PERFORMANCE |
Issue Date: | 14-Jul-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาแรงจูงใจของบุคลากร บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด 2)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด 3)เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด จำนวน 120 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ผลข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยแบบที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 26-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนมากเป็นระดับพนักงาน ประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป รายได้เฉลี่ย 12,001-20,000 บาท โดยรู้จักบริษัทจากเพื่อนแนะนำ และมีปัญหา/อุปสรรคในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ด้านเวลา รองลงมาเป็นด้านปริมาณงาน ถัดไปเป็นด้านค่าใช้จ่าย และสุดท้าย ด้านคุณภาพงาน ตามลำดับ 4. ความสัมพันธ์ของปัจจัยแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในด้านรวม พบว่า แรงจูงใจด้านความรับผิดชอบและด้านการนิเทศงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สามารถพยากรณ์โดยภาพรวมได้ ร้อยละ 73.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้ Y ̂รวม = 0.124 - 0.018 (ด้านความสำเร็จของงาน) - 0.009 (ด้านการยอมรับนับถือ) + 0.084 (ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ) + 0.357 (ด้านความรับผิดชอบ)* + 0.012 (ด้านความก้าวหน้าในงาน) + 0.046 (ด้านค่าตอบแทน) - 0.006 (ด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา) + 0.019 (ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา) + 0.104 (ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน) + 0.167 (ด้านการนิเทศงาน)* + 0.139 (ด้านนโยบายและการบริการ) + 0.007 (ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน) + 0.053 (ด้านสภาพชีวิตส่วนตัว) The objectives of the research include 1) to study the motivation of the personnel staffs employed by Inter Expert Construction.,Ltd 2) to study the efficiency of the staffs’ work performance and 3) to study the motivation that affects the efficiency of the staffs’ work performance. The sample group is 120 staffs employed by the company. The research tool is the survey and the statistical methods include the frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One way ANOVA and multiple regression at the significant level of 0.05. The results are that 1. The mostly respondents are male, aged between 26-30 years old, single, graduated with bachelor’s degrees. They are mostly the employee with more than two years of work experience. Their average monthly income are between 12,001-20,000 baht. They first knew the company by the advice from their friends and they currently have the problems or the obstacles in their works in the medium level. 2. Motivation for working in the sense of overall motivator factors and hygiene factors are in the satisfied level. 3. Overall efficiency of the work performance is in the satisfied level. When each sector is considered, the most efficient sector is the time, followed by the amount of works, expenditures, and the quality sector, respectively. 4. The correlation between the motivator factors and the efficiency of work performance indicates that motivation from the responsibility and the supervision have the impact on the efficiency of work performance, which can estimate the percentage of 73.70 at 0.05 level of significance. The relationship is implied in the equation as Y_tot = 0.124 - 0.018 (Achievement) - 0.009 (Recognition) + 0.084 (work itself) + 0.357 (Responsibility)* + 0.012 (Advancement) + 0.046 (Salary) - 0.006 (Relationship with subordinate)+ 0.019 (Relationship with boss) + 0.104 (Relationship with peers) + 0.167 (Supervision)* + 0.139 (Company policies) + 0.007 (Working conditions) + 0.053 (Personal life) |
Description: | 57602399 ; หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต -- ปัญญาพร ฐิติพงศ์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/183 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต 44.57602399 ปัญญาพร ฐิติพงศ์.pdf | 2.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.