Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1844
Title: | City Pillar:The Delvelopment of Concept to Art & Architecture หลักเมือง:พัฒนาการคติ แนวคิดสู่งานศิลปะและสถาปัตยกรรม |
Authors: | Sawan TANGTRONGSITTHIKUL สวรรค์ ตั้งตรงสิทธิกุล RUNGROJ THAMRUNGRAENG รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง Silpakorn University. Archaeology |
Keywords: | หลักเมือง พัฒนาการ คติ แนวคิด ศิลปะ สถาปัตยกรรม City Pillar Development Concepts Art Architecture |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objective of this thesis is to study the development of city pillar concepts. The main concepts comprise important elements, namely, landscape location (location), building (shrine), main city pins (pillars) The thesis is aimed at studying the Rattanakosin city pillars during the reigns of King Rama I and King Rama IV as the city center of the state, which transcends ideas and patterns to the creation of cities in different places.
The study found that the main city has a relationship with sacred spaces in the city and has a direct relationship with “Chaiyaphum” (meaning favorable location). This refers to the has physical geographical element as an important factor in determining the city location. Also, it was found that the city of Rattanakosin started with the concept of “Lak Chai” (meaning the goal post of victory) of the capital. This is related to the strategic city concept, where the pattern of the city pillar is round wooden pillars with a lotus flower tip (Rama 1 pole) and the Hua Met Songmun (Rama IV pole). All are meant to refer to Phra Su-mane, the center of the universe, parallel to the idea of the center of state.
Regarding the form of landscape location, buildings and city pins, it was found that the landscape location is often near the most important places in the city, such as the city center temple or the City Hall. Such places are generally located near the main thoroughfare next to the corner of the road . The building is usually located on the hill, with a a square layout, tiered roofs and usually a “prasat” top, with the application of art and architecture belonging to the major cities of each region. In the area of the main pin, there are usually wooden round pillars, with the top part developed from the shape of a lotus flower and the “Hua Met Songmun”. Over time, the main city concept has moved away from the original, reflecting a more complex mix of art forms and architecture.
When considering the periods of the creation of the city, it was found that the city piilar during the reigns of King Rama I-IIIwas set up for a strategic city, as a border town of Rattanakosin. On the other hand, the city pillar during the period from the reign of King Rama IV to 2475 B.E., was built according to the popular concept among the Siamese elite. With the city pillar of Bangkok as a template. After the 1932-1982 period, it was built under the concept of modern city architecture combined with traditional Thai art styles, showing the dimensions of shapes together with decorative patterns and using modern construction techniques. The city pillars from 1982 to the present then saw the extension of the concept and development of the style of the city pillars with diverse forms, materials and construction techniques. In addition, small replicas of the city pillar have also been made available as charms, for the faithful to hold on to, The changes or transformations detected in different periods indicate the movement or the development of city pillar concepts in Thai society. วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการคติ แนวคิดหลักเมืองอันมีองค์ประกอบสำคัญคือ ภูมิสถาน(ที่ตั้ง) อาคาร(ศาล) หมุดหลักเมือง(เสา)โดยมุ่งศึกษาหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 4 ในฐานะเมืองศูนย์กลางของรัฐ ซึ่งส่งแนวคิดและรูปแบบไปสู่การสร้างหลักเมืองในที่ต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าหลักเมืองมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลางเมืองและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชัยภูมิ ซึ่งมีกายภาพทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกที่ตั้งเมือง และพบว่าหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์มีแนวคิดแรกเริ่มมาจาก“หลักชัย”ของราชธานี ซึ่งมีความสัมพันธ์กับแนวคิดเมืองยุทธศาสตร์ โดยมีรูปแบบของเสาหลักเมืองเป็นเสาไม้กลม ปลายยอดเป็นดอกบัว(เสารัชกาลที่ 1) และหัวเม็ดทรงมัณฑ์(เสารัชกาลที่ 4 ) ซึ่งล้วนมีความหมายสื่อถึงเขาพระสุเมรุศูนย์กลางจักรวาลที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นศูนย์กลางรัฐ จากการศึกษารูปแบบของภูมิสถาน อาคารและหมุดหลักเมืองพบว่าภูมิสถานมักตั้งอยู่พื้นที่บริเวณใกล้กับสถานที่มีความสำคัญที่สุดของเมือง อาทิวัดศูนย์กลางเมือง ศาลากลางจังหวัด ฯลฯ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางสัญจรหลักที่ติดกับทางแยกหัวมุมถนน ในส่วนของอาคารมักตั้งอยู่บนที่เนิน มีรูปแบบผังจัตุรัส มีหลังคาซ้อนชั้นและมักมีส่วนยอดปราสาท โดยมีการประยุกต์ศิลปะและสถาปัตยกรรมหลักเมืองของแต่ละภูมิภาคร่วมกัน ในส่วนของหมุดหลักเมืองมักมีรูปแบบเป็นเสาไม้กลม โดยมีส่วนยอดที่พัฒนามาจากรูปทรงของดอกบัว และหัวเม็ดทรงมัณฑ์ เมื่อเวลาผ่านไปแนวคิดหลักเมืองได้เคลื่อนออกจากคติเดิมโดยมีการผสมผสานรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมต่างๆให้มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาตามช่วงสมัยของการสร้างหลักเมืองจะพบว่า หลักเมืองในสมัยรัชกาลที่ 1-3 ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองยุทธศาสตร์ในฐานะเมืองขอบขัณฑสีมาของกรุงรัตนโกสินทร์ หลักเมืองในสมัยรัชกาลที่ 4 - พ.ศ.2475 ถูกสร้างขึ้นตามแนวคิดนิยมของชนชั้นนำสยาม โดยมีหลักเมืองกรุงเทพฯเป็นแม่แบบ หลักเมืองหลัง พ.ศ.2475-2525 ถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดศิลปะสถาปัตยกรรมหลักเมืองสมัยใหม่ ผสมผสานรูปแบบศิลปะแบบไทยประเพณีโดยแสดงมิติของรูปทรงร่วมกับลวดลายตกแต่งโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างสมัยใหม่ หลักเมืองหลังพ.ศ.2525 – ปัจจุบัน เป็นการต่อยอดแนวคิดและพัฒนารูปแบบของหลักเมืองโดยมีการใช้รูปแบบ วัสดุและเทคนิคการก่อสร้างที่มีความหลากหลาย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการจำลองหลักเมืองเพื่อการพกพาในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ปรากฏการณ์ในแต่ละช่วงสมัยดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงการเคลื่อนทางด้านคติ แนวคิดหลักเมืองที่เคยมีมาแต่เดิม ซึ่งส่งผลต่อ“พัฒนาการแนวคิดหลักเมือง” ในสังคมไทย |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1844 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56107902.pdf | 10.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.