Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1870
Title: | Applied Art Creation Project for Supportive Relationship at Nonthaburi Shelter for the Homeless โครงการสร้างสรรค์งานประยุกต์ศิลป์เพื่อความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุน ณ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี |
Authors: | Thanapol MORKYA ธนพล หมอกยา PREECHA PUN-KLUM ปรีชา ปั้นกล่ำ Silpakorn University. Decorative Arts |
Keywords: | เกื้อหนุน คุณค่า สมดุล ความสุข Supportive Value Balance Happiness |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: |
The creation of the “Supportive Relationship” artwork project aims to study social support using the Nonthaburi Shelter for the Homeless as a case study to determine behaviors, physical evidence, and needs of the homeless people at the shelter. With these factors in mind, an artwork was created to fit the setting and used as a reminder of support, value creation, and balanced society. The target population in this research was a group of homeless people at the Nonthaburi Shelter for the Homeless, which was appropriate and relevant to the author’s design work. The author conducted a field survey, recorded, and analyzed the problems, causes of problems, and needs of the population in the study. It can be concluded that these people need social support and acceptance. Therefore, the author’s design work is intended to symbolize help and support of people in the society.
This design work is inspired by the author’s realization of the value of life and the power of social support. Every individual has their own values in life, with different limitations or quality of life that lead to inequality problems at present. Nevertheless, a supportive society will create social balance and value which brings happiness into many people’s lives. This idea has motivated the author to create a support-reflecting artwork using the ancient Thai wisdom of wood joinery technique called ‘Tane Od Pane’ – a technique of joining wood pieces by means of notching, grooving, drilling, inserting, crossing, hooking, and making dovetail joints without using any glue or nails. Using ‘Tane Od Pane’ as the main mechanism in constructing this wood sculpture makes it possible to dissemble the pieces. Aesthetics, imagination, and creativity are integrated to create this piece of artwork that signifies the balance of social support. การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ “ความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุน” เป็นการศึกษาเรื่องความเกื้อหนุนของสังคม โดยใช้กรณีศึกษาสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ในการศึกษาพฤติกรรม ลักษณะทางกายภาพและความต้องการของกลุ่มคนเร่ร่อน ในสถานคุ้มครอง และนำมาสร้างสรรค์ประยุกต์ผลงานให้เหมาะสมกับสถานที่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ให้ตระหนักถึงการเกื้อหนุน การเพิ่มคุณค่าและสร้างความสมดุลให้สังคม โดยการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีกลุ่มประชากรเป้าหมายที่เหมาะสมและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับผลงานการออกแบบ คือ กลุ่มคนเร่ร่อนในสถานคุ้มครองนนทบุรี โดยผู้วิจัยได้ทำการสำรวจลงพื้นที่ ได้บันทึกและวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสภาพปัญหา สาเหตุ และความต้องการของกลุ่มคนเหล่านี้และนำมาวิเคราะห์ ซึ่งสรุปได้ว่า กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการ การเกื้อหนุนและการยอมรับจากสังคม ผลงานการออกแบบของข้าพเจ้าจึงเป็นสื่อกลางในการแสดงถึงความเกื้อหนุนและช่วยเหลือกันของคนในสังคม การสร้างสรรค์งานออกแบบชิ้นนี้ได้นำเสนอเนื้อหาที่เกิดจาก การที่ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของชีวิตและพลังแห่งการเกื้อหนุนกันของสังคม คนทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเองแต่อาจมีข้อจำกัดหรือคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกันไป ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน แต่ถ้าสังคมให้การช่วยเหลือและเกื้อหนุนกัน ก็จะทำให้เกิดความสมดุลเป็นการเพิ่มคุณค่าและคืนความสุขสู่หลายอีกหลายชีวิต จากเหตุผลนี้จึงทำให้เกิดเป็นแรงผลักดันในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เกิดจากการเกื้อหนุน โดยผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคของการต่อไม้แบบไทยโบราณ (เถร-อด-เพล) เป็นการเข้าไม้ ด้วยวิธีบาก เซาะร่อง โดยไม่ใช้กาว หรือตะปู ในการเชื่อมต่อ ซึ่งคำนึงและตระหนักถึง ความงามทางสุนทรียศาสตร์และนำมาผสานกับจินตนาการ ความสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นชิ้นงานที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของการเกื้อหนุนกันในสังคม ซึ่งเป็นการออกแบบผลงานประติมากรรมจากวัสดุไม้โดยใช้ข้อต่อแบบเถรอดเพลเป็น กลไกหลักในการประกอบสร้างสรรค์ผลงาน โดยผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจส่วนนึ่งมาจากภูมิปัญญาและ รูปแบบ เทคนิคกระบวนการต่อไม้แบบไทยโบราณ ได้แก่ (เถร-อด-เพล) เป็นการเข้าไม้ ด้วยวิธีการบาก เซาะร่อง โดยไม่ใช้กาว หรือตะปู ในการเชื่อมต่อด้วยการใช้ข้อต่อไม้เป็นกลไก หลักในการประกอบสร้างสรรค์ให้บรรลุผลสามารถถอดประกอบชิ้นงานได้ ซึ่งคำนึงและตระหนักถึง ความงามทางสุนทรียศาสตร์และนำมาผสานกับจินตนาการ ความสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นชิ้นงานที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของการเกื้อหนุนกันในสังคม |
Description: | Master of Fine Arts (M.F.A.) ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1870 |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57156312.pdf | 16.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.