Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1885
Title: Self-learning area design within the school for children in kindergarten 3 to the development of human potential: Case study of Anubanphetburi
การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ด้วยตนเองในโรงเรียน สำหรับเด็กปฐมวัยระดับอนุบาล 3 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพมนุษย์: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี
Authors: Pattar SIRIRERK
ภัทธา ศิริฤกษ์
Rueanglada Punyalikhit
เรืองลดา ปุณยลิขิต
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การออกแบบประสบการณ์
จังหวัดเพชรบุรี
การออกแบบสื่อ
ดิจิทัลอินเทอร์แอคทีฟ
self-learning
experience design
Phetchaburi
media design
digital interactive
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Playing is an important part of childhood. The learning and development of children begins with playing. Therefore, the design of space is conducive to learning environment. Design of toys, media and accessories to suit the age. Will strengthen the development. Enhance creativity, memory, practice, observation and build good habits for children. This research aims to study how to design a self-directed learning space for children. Includes toys, toys and accessories. Within the same area. Using the principles of art and design to apply. And children can use it outside of class time, such as waiting for parents to pick up. It also offers new media, equipment and toys that combine a variety of media and entertainment activities. Create an exotic experience. And to promote freely. For children to learn effectively. And find their inner potential unknowingly. Through a new play that blends interactive digital media in a modest way. With the original play. Using the development of various children. The effect on the learning of children 5 years or kindergarten 3 living in Phetchaburi. And study in the mainstream (academic) schools of government agencies. Case study of Petchaburi Kindergarten The concept is from the story. Historical landmarks that are important to Phetchaburi include Phra Nakhon Khiri Historical Park (Khao Wang), inspired by the design of the media, toys and equipment installed in the school's original area. Media design The activities are divided into 5 activities according to the nature of the development of each media. In each activity There are different features and uses for the purpose of promoting development: "What's up Khiri Game" activity, "Color of Khiri Game" activity, "Khiri Gallery Game" activity, "Khiri of Green" And game activity. "Khiri Path"
การเล่นเป็นส่วนสำคัญของชีวิตช่วงวัยเด็ก การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กเริ่มจากการได้เล่น ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ การออกแบบของเล่น สื่อ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัย จะเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี เพิ่มประสิทธิภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ ความจำ ฝึกการสังเกต และสร้างพื้นฐานนิสัยที่ดีให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับเด็ก ซึ่งประกอบด้วย สื่อ ของเล่น และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่เดียวกัน โดยใช้หลักการของศิลปะและการออกแบบมาประยุกต์ใช้ และให้เด็กสามารถใช้งานได้ด้วยตนเองนอกเวลาเรียน เช่น เวลารอคอยผู้ปกครองมารับ และเวลาพักผ่อน เป็นต้น อีกทั้งเพื่อนำเสนอสื่อ อุปกรณ์ และของเล่น รูปแบบใหม่ที่ผสมผสานสื่อและกิจกรรมหลายรูปแบบที่สร้างความบันเทิง สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ และส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างอิสระ เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ค้นหาศักยภาพภายในตนเองอย่างไม่รู้ตัว ผ่านการเล่นรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานสื่อดิจิทัลอินเทอร์แอคทีฟอย่างพอเหมาะ ประกอบกับการเล่นรูปแบบดั่งเดิม โดยใช้แนวทางการพัฒนาเด็กรูปแบบต่างๆ ที่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กอายุ 5 ปี หรือระดับอนุบาล 3 ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี และศึกษาอยู่ในโรงเรียนระบบกระแสหลัก (วิชาการ) ของหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี โดยมีแนวความคิดมาจากเรื่องราว สถานที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) โดยนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลงานของสื่อ ของเล่น และอุปกรณ์ ที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมของโรงเรียน การออกแบบสื่อนั้น ได้แบ่งหมวดหมู่เป็น 5 กิจกรรม ตามลักษณะการส่งเสริมพัฒนาการของแต่ละสื่อ ซึ่งในแต่ละกิจกรรม จะมีจุดเด่นและการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการส่งเสริมพัฒนาการ ได้แก่ กิจกรรมเกม “คีรี มีอะไร” กิจกรรมเกม “คีรี สีสัน” กิจกรรมเกม “คีรี คีรีแกลลอรี่” กิจกรรมเกม “คีรี สีเขียว” และกิจกรรมเกม “เส้นทางคีรี”
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1885
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59156310.pdf11.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.