Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1889
Title: MEDIA DESIGN AND SPACE FOR COMMUNITY CULTURE WOOD CARVING BAN LUK
การออกแบบสื่อและพื้นที่เพื่อสืบสานวัฒนธรรมชุมชนหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านหลุก
Authors: Jirutchaya PANYA
จิรัชยา ปัญญา
PREECHA PUN-KLUM
ปรีชา ปั้นกล่ำ
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: การออกแบบสื่อและพื้นที่
สืบสานวัฒนธรรม
แกะสลักไม้บ้านหลุก
Media design and space
Cultural heritage
Wood carving Ban Luk
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Ban Luk – a forgotten village of woodcraft is not as commonly well-known as other woodcraft villages such as Tawai Village. Ban Luk is a small village located in Na Khrua Sub-district, Mae Tha District, Lampang Province. Many villagers who worked as woodcrafters and woodcraft business owners decreased recently in contrast to the past where most earned living from doing these businesses. Many turned their career due to various reason – production cost problem and market that can be correlated to production and changing needs of people that affected the village. These problems in Ban Luk were analyzed for strengths and weaknesses to publicize and spread culture of woodcraft and sculpture. The purposes of the study were 1) to study background of local wisdom and culture for building the village identity, 2) to build up knowledge and media for tourism public relation, and 3) to develop souvenirs. In the study methodology, all problems were set to analyze documents and field survey through interviews and observation. The village leader and the woodcrafters including business owners were selected to interview before collecting field data to be analyzed in order to find a solution and collect all the data to a process of designing in accordance with the set purposes. From the data analysis before processing to design, 1) communal identity build-up, 2) Media design Cognitive information Inside the Learning Center, Wood carving and the Community way Ban Luk., 3) design media relation to promote tourism, 4) Create a wayfinding sign board recommends tourist attractions and tourist maps inside Ban Luk village. 5) develop souvenirs. Next, local specialist-designed creations were analyzed and evaluated through observation and evaluation questionnaire. It was found that the satisfaction was at the high level. For the evaluation of the creations designed by the village leader and village woodcrafters, the satisfaction arose at the high level. From the abovementioned study, it can prove the hypothesis of media design and space for community culture wood carving Ban Luk. Appreciation in a form of knowledge and tourism public relation media including tourism route activities in Ban Luk. As a result, satisfaction arose as well as it could promote cultural tourism in Ban Luk, Na Khrua Sub-district, Mae Tha District, Lampang Province.
บ้านหลุกหมู่บ้านแห่งไม้แกะสลักที่ถูกลืมเลื่อนเมื่อพูดถึงหมู่บ้านหลุกคนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้จักมากนักถ้าเทียบกับหมู่บ้านแกะสลักอื่น ๆ อาทิเช่นหมู่บ้านถวายเป็นต้น บ้านหลุกเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่ที่ ต.นาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง  ชาวบ้านในหมู่บ้านหลุกส่วนมากประกอบอาชีพแกะสลักไม้แต่ในปัจจุบันพบว่ามีการลดลงของจำนวนผู้ประกอบการร้านค้าและรวมถึงช่างฝีมือในหมู่บ้าน ชาวบ้านหันไปประกอบอาชีพอื่นเนื่องจากปัจจัยที่หลากหลายอาทิ ปัญหาด้านต้นทุนในการผลิตรวมถึงปัญหาตลาดที่รองรับการผลิตและความต้องการของผู้คนเปลี่ยนไปจึงส่งผลกระทบแก่หมู่บ้านอย่างมาก ผู้วิจัยจึงนำเอาปัญหาต่าง ๆ ที่พบภายในหมู่บ้านหลุกใต้มาศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจุดอ่อนและจุดแข็งเพื่อนำไปสู่การออกแบบสื่อและพื้นที่เพื่อสืบสานวัฒนธรรมชุมชนหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านหลุกโดยกำหนด วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชน 2) การสร้างสื่อข้อมูลองค์ความรู้และสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก โดยวิธีการศึกษาผู้วิจัยได้ทำการตั้งประเด็นปัญหาเพื่อศึกษารวบรวมภาคเอกสารและภาคสนามโดยการสัมภาษณ์และสังเกตโดยเลือกสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและช่างฝีมือรวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าจากนั้นนำข้อมูลภาคสนามมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขและสรุปผลการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่กระการออกแบบให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การออกแบบ 1) การสร้างอัตลักษณ์ชุมชน 2) การออกแบบสื่อข้อมูลองค์ความรู้ภายในศูนย์การศึกษาเรียนรู้การแกะสลักไม้และวิถีชุมชนบ้านหลุก 3) การออกแบบสื่อประชาสัมพันธุ์เพื่อการท่องเที่ยว 4) Wayfinding ป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและแผนที่ท่องเที่ยวภายในหมู่บ้านหลุก 5) พัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จากนั้นผู้วิจัยนำผลงานการออกแบบทำการประเมินผลการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญภายในชุมชนโดยใช้การสังเกตและแบบสอบถามในการประเมินผล พบว่าผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการประเมินผลงานการออกแบบโดยกลุ่มผู้นำชุมชนและช่างฝีมือภายในหมู่บ้าน พบว่าผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากการศึกษาดังกล่าวสามารถยืนยัน สมมติฐานที่ว่าการออกแบบสื่อและพื้นที่เพื่อสืบสานวัฒนธรรมชุมชนหัตถกรรมไม้กะสลักบ้านหลุกประเภท สื่อข้อมูลองค์ความรู้และสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวรวมถึงการกิจกรรมรูทท่องเที่ยวต่าง ๆ ของหมู่บ้านหลุก สามารถสร้างความพึงพอใจและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของหมู่บ้านหลุก ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางได้ดียิ่งขึ้น
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1889
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59156317.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.