Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/190
Title: รูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
Other Titles: FORMAT AND STRATEGY FOR CONSTRUCTION MATERIALS SMALL RETAILER BUSINESS IN KAMPHAENG SAEN DISTRICT, NAKHON PATHOM PROVINCE
Authors: ฟองจันทร์, กฤติดา
FONGJAN, KRITTIDA
Keywords: กลยุทธ์
วัสดุก่อสร้าง
ผู้ประกอบการรายย่อย
STRATEGY
CONSTRUCTION MATERIALS
SMALL RETAILER
Issue Date: 1-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบและกลยุทธ์การดำเนิน ธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างของผู้ประกอบการรายย่อย โดยใช้ห่วงโซ่คุณค่าเป็นต้นแบบในการศึกษา การดำเนินธุรกิจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ประกอบการจำนวน 6 ราย ในเขตอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า ห่วงโซ่ การดำเนินกิจการ กิจกรรมหลักประกอบด้วย ด้านห่วงโซ่อุปทานคือ การเลือกซื้อสินค้า จากตัวแทน จำหน่าย ด้านการจัดการ คือจัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่ มีการทำระบบสต็อคสินค้า และการแบ่งหน้าที่ พนักงานให้ชัดเจน การบริหารสินค้าคงคลัง กิจการมีการควบคุมสินค้าคงคลังด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณความเหมาะสมในการสั่งซื้อ ด้านการจำหน่ายสินค้า จะเป็นการจำหน่ายสินค้าสู่ผู้บริโภค โดยตรง ทางด้านการตลาด จะเน้นความหลากหลายและครบวงจรของสินค้า และใช้กลยุทธ์ราคาต่ำ และด้านการส่งเสริมการขายเน้นการลดราคาสินค้าบางรายการเพื่อดึงดูดใจลูกค้าหรือให้ส่วนลดใน กรณีที่ลูกค้าซื้อเงินสดในปริมาณมาก ในด้านกิจกรรมสนับสนุนประกอบด้วยการวางแผนกำหนดกลยุทธ์ คือสังเกตพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า และเลือกสินค้ามาจำหน่ายให้ตรงกับความต้องการ การบริหาร ทรัพยากรบุคคล คือให้ความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้ากับพนักงาน และการบริหารจัดการด้านการเงิน คือมี การจัดทำบัญชีให้ชัดเจน The purpose of this qualitative research was to identify format and strategy of small retailers in the construction materials industry by adopting the value-chain model as a study guideline. Additionally, a research data was collected from various sources which consisted of paper-based documents, electronic media and in-depth interviews from six entrepreneurs in Kamphaeng Saen district, Nakhon Pathom province. The study indicated that the result could be divided by basing on each category of the value-chain approach; First, the aspect of supplychain was the businesses mainly purchased goods through wholesale dealers. Second, management aspect could be separated into three areas which contained well-catigorised stocks, inventories tracking systems and precisely arrangement of duties for each employee. Next aspect of an inventory management, every material was controlled by a computer-based system to conduct the appropriate amount of goods flow. The fourth aspect of distribution, the direct sale approach was applied to provide construction material for its customer. Then a variety of product categories and full services of the front shop including low-cost strategy, were an essential points of the marketing aspect. In term of a promotion aspect, a discount campaign either for some particular products or cash customers who bought a lot of goods at a time would be applied to attract more customers. Planning a strategy was the next aspect of supportive activity, the target customer behavior should be observed to provide the product that they suited for. Eighth, the human resource management aspect was an applicable training programme which every merchandise’s discribtion should be provided for all employees. Lastly, appropriated practice of accounting standard was a critical point for the financial management aspect.
Description: 57602370 ; หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต -- กฤติดา ฟองจันทร์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/190
Appears in Collections:Management Sciences



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.