Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1901
Title: THE CONCEPT OF NATION AND NATIONALIST MOVEMENTS OF THE KHMER INTELLECTUALS, 1930-1955
แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติและการเคลื่อนไหวด้านชาตินิยมของปัญญาชนเขมร ค.ศ.1930-1955
Authors: Yingyot BOONCHANT
ยิ่งยศ บุญจันทร์
CHULEEPORN VIRUNHA
ชุลีพร วิรุณหะ
Silpakorn University. Arts
Keywords: ประวัติศาสตร์กัมพูชา
ปัญญาชนเขมร
สำนึกถึงความเป็นชาติ
พระสงฆ์เขมรกับการอนุรักษ์พุทธศาสนา ภาษา และวรรณกรรม
การเคลื่อนไหวด้านชาตินิยมของปัญญาชนเขมร
การเรียกร้องเอกราชของกัมพูชา
History of Cambodia
Khmer Intellectuals
Khmer National Consciousness
Khmer Sangha and the Preservation of National Language and Literature
Nationalist Movement of the Khmer Intellectuals
Cambodia Struggle for Independence
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis has two main aims, the first is to study Khmer intellectuals’ thought process and the manifestation of their thinking in order to augment existing bodies of work that normally give precedence to the role of French Colonial Government in developing khmer national consciousness. The study will attempt to examine the sense of “khmerness” from the khmer intellectuals’ point of view. This will highlight a continuity in the fundamental belief of the Khmer. Secondly, this thesis aims at studying different aims and approaches used by various groups of khmer intellectual in the struggle for independence. This will enable a better understanding on the circumstances and factors upon which the success of failure of various intellectual groups depended.  Study’s results indicate that the French organized modern system of education for the Khmer to serve the need for educated manpower. However, because of the adherence to traditional practice as well as economic burden and resentment toward the Vietnamese and the Chinese, the Khmer preferred to send their offspring to Buddhist temple schools taught by the sangha. This compelled the French to reform both temple schools and the sangha’s education in order to lessen Siamese influence and to create a new group of educated sangha who would be teaching in the reformed temple schools under French’s control and in a way that the French wanted. The scheme, however, produced results that the French did not quite anticipate, for it was responsible for the sangha’s involvement in the khmer nationalist movement together with other intellectuals. The interesting issue here is that sangha’s movement arose less out of political concept than the need to preserve Khmer cultural roots, - Buddhism, language and literature-, thus suggesting that the rise of Khmer national consciousness was not propagated totally by the French. Rather, it connected with continued awareness within Khmer society of its own cultural identity and the sangha’s important role in the dissemination of such cultural awareness. For the nationalist movement of khmer intellectuals during 1930-1955, this can be divided into 3 phases. The first period from the 1930s to the beginning of the 1940s was the period in which khmer consciousness was developed, characterized by the debate on Cambodia’s problems arising from French colonial policies. The movement were twofold, the first was a cultural movement, with progressive elements within the sangha active in maintaining the purity of Buddhism and preserving Khmer language and literature. The French-educated khmer intellectuals, on the other hand, called for political participation and attempted to create awareness through written media. The second period was during the second world war (1940-1945) when circumstances during wartime transformed existing cultural and nationalist awareness into a goal of independence. After the second world war and with the French’s return to Indochina, the khmer independent movement was in full swing. However, it was also a period where different opinions, aims and methods of struggle of various groups became apparent, between various political parties as well as the Free Khmer Movement. The disunity and subsequent political instability ushered the political control of King Norodom Sihanouk in 1955, thus temporarily halted the roles of the khmer intelligentsia.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ประการแรกต้องการศึกษากระบวนการทางความคิดและการแสดงออกทางความคิดของปัญญาชนเขมร เพื่อเพิ่มเติมความรู้จากผลงานการศึกษาที่ผ่านมาที่ให้ความสำคัญกับรัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศสในฐานะผู้มีบทบาทในการสร้างสำนึกถึงความเป็นชาติของกัมพูชา โดยจะพิจารณามุมมองเกี่ยวกับ “ความเป็นชาติเขมร” ในสำนึกหรือทรรศนะของปัญญาชนเขมร ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับรากฐานทางความคิดของคนเขมรที่ได้รับการสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ประการที่สอง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาความแตกต่างทางความคิดและความแตกต่างในวิธีการที่ปัญญาชนเขมรกลุ่มต่าง ๆ ใช้ในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช เพื่อทำความเข้าใจว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวของปัญญาชนกลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้นในสภาวการณ์และปัจจัยอะไร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าฝรั่งเศสดำเนินนโยบายจัดระบบการศึกษาแบบใหม่แก่ชาวเขมรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการแรงงานที่มีการศึกษา แต่ด้วยธรรมเนียมที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ประกอบกับภาระทางเศรษฐกิจและความขัดแย้งกับชาวเวียดนามและชาวจีน ทำให้ชาวเขมรเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่วัดโดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการสอน ทำให้ฝรั่งเศสหันมาจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนวัดพร้อมกับปฏิรูปการศึกษาแก่คณะสงฆ์เพื่อลดอิทธิพลของสยามและสร้างกลุ่มพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถสำหรับการสอนโรงเรียนวัดแบบใหม่ในแบบที่ฝรั่งเศสต้องการและควบคุมได้ แต่การจัดการศึกษาแบบใหม่ส่งผลที่ฝรั่งเศสไม่ได้คาดคิด กล่าวคือทำให้พระสงฆ์ก้าวเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้เคลื่อนไหวด้านชาตินิยมควบคู่กับกลุ่มปัญญาชน ประเด็นที่น่าสนใจคือการเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ไม่ได้เกิดขึ้นจากแนวคิดทางการเมือง แต่เกิดจากความต้องการธำรงรักษารากฐานทางวัฒนธรรมของเขมร อันได้แก่ พุทธศาสนา และภาษา-วรรณกรรมเขมร จึงแสดงให้เห็นว่าสำนึกถึงความเป็นชาติของชาวเขมรนั้น ไม่ได้เกิดจากการผลักดันของฝรั่งเศสแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังเกิดจากความสืบเนื่องของการเพาะบ่มสำนึกถึงความเป็นชาติที่เชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมซึ่งพระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้สึกดังกล่าวต่อสังคม ในส่วนของการเคลื่อนไหวด้านชาตินิยมของปัญญาชนเขมรระหว่าง ค.ศ. 1930-1955 นั้น สามารถแบ่งการเคลื่อนไหวออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ถึงต้นทศวรรษ 1940 เป็นระยะของการเคลื่อนไหวทางความคิดที่มุ่งเน้นการอภิปรายปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมกัมพูชาจากนโยบายของอาณานิคม ปรากฏใน 2 ลักษณะ ลักษณะแรกคือการเคลื่อนไหวทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งพบว่าพระสงฆ์หัวก้าวหน้าฝ่ายธรรมใหม่มีบทบาทโดดเด่นที่สุดในการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องรักษาพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์และธำรงรักษาภาษา-วรรณกรรม ลักษณะต่อมาคือการเรียกร้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการปลุกจิตสำนึกแก่ประชาชนผ่านสื่อสิ่งพิมพ์นำโดยปัญญาชนที่เป็นผลผลิตจากการจัดการศึกษาแบบใหม่ ระยะต่อมาคือ ระหว่าง ค.ศ. 1940-1945 ผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และสภาพการณ์ในประเทศส่งผลให้ปัญญาชนและพระสงฆ์พัฒนาความคิดที่ได้เพาะบ่มจากช่วงเวลาก่อนหน้าไปสู่การเรียกร้องเอกราช และระยะสุดท้ายคือ ระหว่าง ค.ศ. 1945-1955 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ฝรั่งเศสกลับเข้ามาปกครองดินแดนอีกครั้ง ระยะนี้นอกจากเป็นช่วงของการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชแล้ว ยังเป็นช่วงของการแย่งชิงความเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเอกราชระหว่างพรรคการเมืองกลุ่มต่าง ๆ และกลุ่มเขมรอิสระ ส่งผลให้เกิดความแตกแยกและภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง เปิดโอกาสให้พระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นผู้นำทางการเมืองใน ค.ศ. 1955 ซึ่งการควบคุมอำนาจทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุทำให้การเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองอื่นเป็นไปอย่างจำกัด  จึงยุติการเคลื่อนไหวของปัญญาชนเขมรไปชั่วคราว
Description: Master of Arts (M.A.)
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1901
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58205206.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.