Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1908
Title: Writing Status on Facebook Fanpage “Khru Nok Krop”
การตั้งสถานะบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ครูนอกกรอบ”
Authors: Worawut YOUNGPRASERT
วรวุฒิ ยังประเสริฐ
SUMALEE LIMPRASERT
สุมาลี ลิ้มประเสริฐ
Silpakorn University. Arts
Keywords: เฟซบุ๊ก
การตั้งสถานะ
ทำเนียบภาษา
FACEBOOK
WRITING STATUS
LANGUAGE REGISTER
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This independent study aims to analyze 556 statuses on Facebook Fanpage “Khru Nok Krop” in terms of pattern, content, and language register. The patterns were divided into 3 groups, namely 1) text presentation, with sub-formats: 1.1 text only, 1.2 text like an article title + article link and 1.3 text of opinion + article link, 2) picture presentation, with sub-formats: 2.1 picture only and 2.2 picture + text, and 3) video presentation. With regard to frequency of appearance, the 1.2 sub-format was the most commonly found, the 2.2 sub-format was the second, the 1.3 sub-format was the third, The most found pattern encouraged page followers to read articles by themselves, and also helped them receive clear and accurate information. The content of statuses could be classified into 7 categories: 1) information of governmental organizations, 2) knowledge and understanding between teachers and students, 3) knowledge and understanding between parents and students, 4) lifestyle or obligation of teachers, 5) insights and moral of lifestyle, 6) news and general knowledge, and 7) personal information of fanpage founder. According to the finding, the most found content focused on the understanding between parents and students. This could urge teachers and parents to collaborate more in order to develop students. In terms of language register, there were 2 types: 1) media register, with sub-registers: 1.1 news language and 1.2 internet language, and 2) register on purposes, with sub-registers: 2.1 law language, 2.2 academic language and 2.3 language for specific purposes. With regard to frequency of appearance, academic language was the most frequently used, news language was the second, language for specific purposes was the third, Due to the intention of the fanpage establisher, professional teachers are required to develop their knowledge, so academic language was mostly used. Currently, knowledge development can be done and sought through new media because the technology for communication has been greatly developed. If there is some internet signal, one can access to knowledge anywhere. In addition, Facebook Fanpage “Khru Nok Krop” is a public-relations medium which operates accordingly to  Gatekeeper theory. If educational organizations appropriately use new media to enhance teachers’ knowledge, it will be the most beneficial for teachers.
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตั้งสถานะ ลักษณะบทบาทเนื้อหาของการตั้งสถานะ และการใช้ทำเนียบภาษาในการตั้งสถานะของเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ครูนอกกรอบ” จำนวน 556 สถานะ ผลการศึกษาพบว่ามีการใช้รูปแบบแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1) การนำเสนอด้วยข้อความ มีรูปแบบย่อย คือ 1.1 ข้อความเพียงอย่างเดียว 1.2 ข้อความเหมือนชื่อหัวข้อบทความ + เชื่อมโยง (Link) บทความ 1.3 ข้อความแสดงทรรศนะ + เชื่อมโยง (Link) บทความ 2) การนำเสนอด้วยรูปภาพ มีรูปแบบย่อย คือ 2.1 รูปภาพเพียงอย่างเดียว 2.2 รูปภาพที่มีข้อความประกอบ และ 3) การนำเสนอด้วยการใช้วีดิทัศน์  โดยพบว่าในกลุ่มของการนำเสนอด้วยข้อความ โดยเป็นข้อความเหมือนชื่อหัวข้อบทความ + เชื่อมโยง (link) บทความ มีมากที่สุด รองลงมา คือ ในกลุ่มการนำเสนอด้วยรูปภาพ โดยเป็นรูปภาพที่มีข้อความประกอบ อันดับสาม คือ รูปแบบในกลุ่มของการนำเสนอด้วยข้อความ โดยเป็นข้อความแสดงทรรศนะ + เชื่อมโยง (link) บทความ รูปแบบที่พบมากที่สุดนั้นเพื่อเน้นให้ผู้ติดตามเพจได้เข้าไปอ่านบทความต้นทางด้วยตนเอง อันเป็นการจะได้รับความรู้ที่ชัดเจนถูกต้อง ด้านบทบาทเนื้อหาของการตั้งสถานะโดยมีเนื้อหาทั้งหมด 7 กลุ่ม คือ 1) ข้อมูลข่าวสารการศึกษาทางราชการ 2) ความรู้ความเข้าใจระหว่างครูกับเด็กนักเรียน 3) ความรู้ความเข้าใจระหว่างพ่อแม่/ผู้ปกครองกับเด็กนักเรียน 4) ชีวิตความเป็นอยู่/ภาระหน้าที่การทำงานของครู 5) ข้อคิด คติสอนใจในการดำเนินชีวิต 6) ข่าวสาระความรู้ทั่วไป และ 7) เรื่องส่วนตัวของผู้ก่อตั้งแฟนเพจ ซึ่งพบว่ามีกลุ่มเนื้อหาที่เป็นความรู้ความเข้าใจระหว่างพ่อแม่/ผู้ปกครอง กับเด็กนักเรียนพบมากที่สุด รองลงมา คือเนื้อหาความรู้ความเข้าใจระหว่างครูกับเด็กนักเรียน ลำดับที่สาม คือเนื้อหาข่าวสาระความรู้ทั่วไป เนื้อหาที่พบมากที่สุดที่เน้นความเข้าใจระหว่างผู้ปกครองกับเด็กนั้น เพื่อกระตุ้นให้ครูได้มีส่วนเชื่อมโยงผู้ปกครองให้มีส่วนพัฒนาเด็กให้มากยิ่งขึ้น ด้านการใช้ทำเนียบภาษา พบ 2 ประเภท คือ 1) ทำเนียบภาษาตามสื่อ มีกลุ่มย่อยคือ 1.1 ภาษาข่าว กับ 1.2 ภาษาอินเทอร์เน็ต และ 2) ทำเนียบภาษาตามวัตถุประสงค์ มีกลุ่มย่อย คือ 2.1 ภาษากฎหมาย 2.2 ภาษาวิชาการการศึกษา และ 2.3 ภาษาเฉพาะกิจ โดยพบว่ามีการใช้ทำเนียบภาษาตามวัตถุประสงค์ คือภาษาวิชาการการศึกษามากที่สุด รองลงมาคือการใช้ทำเนียบภาษาสื่อ คือใช้ภาษาข่าว อันดับสามคือการใช้ทำเนียบภาษาเฉพาะกิจ การพบทำเนียบภาษาวิชาการการศึกษามาก เนื่องจากเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งแฟนเพจที่ต้องการให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูได้พัฒนาความรู้ของตนเองด้วยการเข้าถึงได้ง่าย การพัฒนาความรู้ในปัจจุบัน สามารถแสวงหาได้ผ่านสื่อใหม่ เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาไปอย่างมาก ไม่ว่าอยู่ที่ใดหากมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึงความรู้ได้ อีกทั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ครูนอกกรอบ” ยังทำหน้าที่เป็นสื่อประชาสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎีผู้รักษาประตูข่าวด้วย หากองค์กรที่ดูแลวิชาชีพครูนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นสื่อใหม่มาใช้เพื่อการพัฒนาความรู้ของครูได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
Description: Master of Arts (M.A.)
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1908
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59208309.pdf5.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.