Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1957
Title: Comparative extraction method of Mitragynine for forensic scienceand their Antibacterial Property of Mitragyna speciosa Korth.
การเปรียบเทียบวิธีการสกัดสารไมทราไจนีนเพื่องานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์และฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียจากกระท่อม
Authors: Kittisak MUANDAO
กิตติศักดิ์ เหมือนดาว
Muhammad Niyomdecha
มูฮำหมัด นิยมเดชา
Silpakorn University. Science
Keywords: สารสกัดหยาบ
ไมทราไจนีน
ต้านแบคทีเรีย
Crude Extracts
Mitragynine
Antibacterial
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This experiment studied and compared the extracting method and separating of Mitragynine from Katom in a quantitative and speed of the extraction method. The method commonly used in the general extraction of alkaloids and the way that more modifications.The use of heat and Ultra sonicater in the extraction step with acitic acid.The results showed that the method of extraction Mitragynine from Katom. The increase heating and time, as well as the increase in the use of Ultra sonicater, resulted in an increase in the extraction of Mitragynine. The tendency extraction was increased by % Yield of Mitragynine Increased by of increase the time, temperature and use of Ultra sonicater. The best to extraction Mitragynine is acetic acid with heating at 80 ° C for 30 min resulted in the highest yield of Mitragynine. % Yield = 2.6910 ± 0.1287%. Their Antibacterial Activity of Mitragyna Speciosa Korth. Crude extracts from hexane, dichloromethane, ethyl acetate, ethanol and 50% acetic acid were used as the solvents extraction and purified mitragynine from the extract of Kratom showed antibacterial activity. Inhibit the growth of two species of Staphylococcus aureus and Escherichia coli tested by using disk diffusion technique and Minimum inhibitory concentration. Result found that purified mitragynine show the ability to inhibit bacterial growth especially S. aureus with inhibition zone 4.35±0.68 mm. in length and have the minimal inhibitory concentration (MIC) at 6 mg/ml. While crude extract with 50% acetic acid demonstrates the inhibition zone 5.52±0.44 mm. and 4.65±1.02 mm. in length and the MIC is 6 mg/ml. and 9 mg/ml. toward S. aureus and E. coli respectively. But crude extracts hexane, dichloromethane, ethyl acetate and ethanol has no inhibited the growth of all two species.
เปรียบเทียบวิธีการสกัด และการแยกสารไมทราไจนีนจากใบกระท่อม ในเชิงปริมาณ และความรวดเร็วของวิธีการสกัดด้วยวิธีที่นิยมใช้ในสกัดสารอัลคาลอยด์ทั่วไป (Yubin et al, 2014) และ วิธีที่ดัดแปลงเพิ่มเติมคือ การเพิ่มอุณหภูมิ เวลา และเครื่อง Ultra sonicator ในขั้นตอนการสกัดด้วย acetic acid จากผลการทดลองพบว่าวิธีการสกัดสารไมทราไจนีนจากใบกระท่อม การใช้วิธีเพิ่มอุณหภูมิ เวลา รวมถึงเพิ่มการใช้ เครื่อง Ultra sonicator มีผลทำให้สามารถสกัดสารไมทราไจนีนจากใบกระท่อมได้จำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวโน้มการสกัดได้เพิ่มขึ้นของ %Yield ของสารไมทราไจนีน เพิ่มขึ้นตามเวลา และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้ เครื่องUltra sonicator ซึ่งวิธีการสกัดสารไมทราไจนีนจากกระท่อมที่ดีที่สุดคือ การสกัดด้วยวิธีการใช้ acetic acid ร่วมกับการให้ความร้อน ที่อุณหภูมิ 80 ๐C นาน 30 นาที สามารถสกัดสารไมทราไจนีนมากที่สุดได้ %yield = 2.6910±0.1287 % แต่ ที่เวลา 30 นาที ในอุณหภูมิห้อง น่าจะดีที่สุด สามารถสกัดสารไมทราไจนีนได้ %yield = 1.4200±0.0679 %  ฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียจากพืชกระท่อม จากการสกัดแยกตัวทำละลาย 5 ชนิด ได้แก่ เฮกเซน, ไดคลอโรมีเทน, เอทธิล อะซีเตท, เอทานอล, กรดอะซีติก ความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ และสารไมทราไจนีนที่สามารถแยกได้จากใบพืชกระท่อม ถูกนำมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียโดยสนใจทำการศึกษาแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ สตาฟิโลคอคคัส ออเรียส และ เอสเชอริเชีย โคไล โดยใช้วิธี disk diffusion techniques และ Minimum inhibitory concentration พบว่า สารสกัดจากใบพืชกระท่อมมีฤทธิ์การต้านแบคทีเรีย S. aureus และ E. coli ได้ ซึ่งในสารไมทราไจนีน สามารถต้านแบคทีเรีย S.aureus มี Inhibition zone 4.35 ± 0.68 มิลลิเมตร และความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถต้านแบคทีเรียได้อยู่ที่ 6 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สารสกัดหยาบที่สกัดโดย 50 เปอร์เซ็นต์ Acetic acid มีฤทธิ์การต้านแบคทีเรีย S. aureus และ E. coli ได้ทั้ง 2 ชนิด โดยมี Inhibition zone 5.52 ± 0.44 และ 4.65 ± 1.02 มิลลิเมตร โดยความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถต้านต้านแบคทีเรียได้อยู่ที่ 6 และ 9 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1957
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60312315.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.