Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1985
Title: STRATEGIC Management of commercial bank TO BE High Performance Organization
กลยุทธ์การบริหารจัดการของธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง
Authors: Arunkamon SUK-ANEK
อรุณกมล ศุขเอนก
Pornchai Dhebpanya
พรชัย เทพปัญญา
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: กลยุทธ์การบริหารจัดการ / ธนาคารพาณิชย์เอกชน / องค์การสมรรถนะสูง
STRATEGIC MANAGEMENT / COMMERCIAL BANK / HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research objectives are 1) to study the management and the environment affecting the development of private commercial banks to become high-performance organization 2) to propose and develop the strategic management for private commercial bank to be high performance organization 3) to define the strategic management and recommendations for the management of private commercial bank to be a high-performance organization by adopting qualitative research methods. This research is divided into 4 steps. Step 1 is to use the analysis research technique, the in-depth interviews, the results of the descriptive analysis, the study on the organizational environment with SWOT analysis, and to create strategic options with the TOWS Matrix. Step 2 is to create and to develop strategies which results are for step 3 is to assess the quality of the strategy by arranging the policy making process. Step 4 is to develop the strategies and the recommendations by proposing the results descriptive. The sampling group in total 32 people selected from 2 private commercial banks. The research found that the condition of managing private commercial banks is under pressure from economic globalization therefore, improvement of quality with innovation and digital technology and supporting customer need are important role of private commercial bank. The private commercial banks to be high-performance organization consisting of 5 strategies. Strategy 1 is focus on the creation of model and develops technological innovation to provide services with intelligent banking finance (AI) to cashless society. Strategy 2 is adhering to corporate governance principles. Strategy 3 to move organizational culture to forwards the 21st century society. Strategy 4 is supporting change agent development leaders and the strategy 5 is to focus on a buildup of the learning organization as entirely.The management strategy model for private commercial banks is the BANKING Strategy Model and provides strategic management recommendations for private commercial banks to high performance organizations with 14 Strategic Management Guidelines.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อ การพัฒนาธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (2) เพื่อสร้างและพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการของธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง และ (3) เพื่อจัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการ และข้อแนะนำ การบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยใน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ผลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์และศึกษาสภาพแวดล้อมด้วย SWOT Analysis และ TOWS Matrix เพื่อจับคู่สำหรับสร้างกลยุทธ์ ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนากลยุทธ์ ผลที่ได้นำเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ประเมินคุณภาพกลยุทธ์ด้วยการประชุมเชิงนโยบาย และขั้นตอนที่ 4 จัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการและข้อแนะนำการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารระดับต่างๆ ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวนรวมทั้งสิ้น 32 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารจัดการธนาคารพาณิชย์เอกชนอยู่ภายใต้ความกดดันจากกระแส โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ และด้วยบริบทของธนาคารพาณิชย์เอกชนซึ่งเป็นศูนย์กลางการออม การลงทุน จึงให้ความสำคัญต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการพัฒนาคุณภาพบริการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบกับสภาพแวดล้อมองค์การที่เป็นจุดแข็งของธนาคารพาณิชย์คือ มีศักยภาพด้านวิสัยทัศน์ ผู้บริหาร พนักงานที่มีขีดความสามารถ มีความพร้อมต่อการพัฒนาในทุกมิติ สอดรับโอกาสจากนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สู่ระบบสังคมไร้เงินสด เกิดการขยายตลาดการลงทุนไปยังประเทศภูมิภาคอาเซียน แม้ว่ามีจุดอ่อนคือ ประสบการณ์ผู้นำในการบริหารจัดการในหน่วยปฏิบัติ รวมทั้งอุปสรรคจากจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นและพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่  ดังนั้นการสร้างกลยุทธ์จึงเน้นสนองตอบต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการธนาคารพาณิชย์ และผ่านการเสวนาผู้กำหนดนโยบายเพื่อประเมินคุณภาพกลยุทธ์การบริหารจัดการของธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงได้ 5 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์ที่ 1 มุ่งสร้างและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อให้บริการด้วยระบบการเงินการธนาคารอัจฉริยะสู่สังคมไร้เงินสด โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง  กลยุทธ์ที่ 2 ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการบริหารกิจการที่ดี  กลยุทธ์ที่ 3 ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การให้รับรองสังคมศตวรรษที่ 21 กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง  กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์การ  การจัดทำกลยุทธ์ได้ตัวแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการสำหรับธนาคารพาณิชย์เอกชน คือ BANKING Strategy Model  และจัดทำข้อแนะนำการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่องค์การสมรรถนะสูงได้ 14 แนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1985
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56604908.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.