Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2018
Title: Genealogy: Model for Learning Center of Community's Self-Management in the Eastern Region
วงศาวิทยาการเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการจัดการตนเองของชุมชนในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออก
Authors: Katchaphon JANPETCH
คัชพล จั่นเพชร
PITAK SIRIWONG
พิทักษ์ ศิริวงศ์
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: วงศาวิทยา
การเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน
การจัดการตนเองของชุมชน
GENEALOGY
LEARNING CENTER
COMMUNITY’S SELF-MANAGEMENT
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to study Genealogy: Model for Learning Center of Community's Self-Management in the Eastern Region. The researcher used the qualitative research in Step 1: the researcher used the Discourse Analysis method to start with research papers and community interviews from 18 key informants in 8 communities in the Eastern region. The data were collected from the general and social context to describe and Ideological analysis of power and knowledge. Step 2: The researcher analyzed the social practice sector by organizing knowledge sharing activities that brought the results to use in social production (Social Constructivism). Tools was used by Document and Text analysis, in-depth interviews, and discourse analysis through the Text. The researcher brought the signaling media and elements of the community in the Eastern region to sort the discourse that was related to the context of the community. 1. The Power and knowledge discourses in modern times that is in learning resources for traditional self-management of communities inclusive (Ideal, Vision, Power and Knowledge in traditional management). 2. The establishment of a self-management learning resource is for modern communities. (2.1 Community self-management process, 2.2 New vision production in the community self-management and 2.3 Transition to the modern era) 3. The traditional knowledge was pushed and connected the discourse of the modern era as a learning resource for modern self-management of the community. (3.1 The traditional knowledge was pushed and 3.2 Being a self-management learning source was for modern communities) and 4. The researcher synthesized the results of the study inclusive (4.1 Ideal, 4.2 Vision, 4.3 Power and 4.4 Knowledge in modern management).
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวงศาวิทยาการเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการจัดการตนเองของชุมชนในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออก ใช้การวิจัยหลังยุคสมัยใหม่ (Posmodrnism Research) ในขั้นตอนที่ 1 ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) โดยเริ่มจากการวิจัยเอกสารและบทสัมภาษณ์ชุมชน จำนวน 18 คน จาก 8 ชุมชนที่เป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออก เป็นการวิเคราะห์อุดมการณ์และภาคปฏิบัติการของอำนาจ/ความรู้ ขั้นตอนที่ 2 ผู้วิจัยวิเคราะห์ภาคปฏิบัติการทางสังคมโดยการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) โดยนำผลที่ได้มาใช้ในการผลิตสร้างทางสังคม (Social Constructivism) เครื่องมือที่ใช้ การวิเคราะห์เอกสาร ตัวบท และการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้การวิเคราะห์วาทกรรมผ่านตัวบท   ผลการศึกษาพบว่า วงศาวิทยาการเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการจัดการตนเองของชุมชนในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออก ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่สืบสาวมาจัดวางและเรียงร้อยวาทกรรมที่มีความสัมพันธ์กับบริบทของชุมชนในรูปแบบสนามวาทกรรม (1) วาทกรรมอำนาจและความรู้ ยุคสมัยแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการตนเองของชุมชนแบบดั้งเดิม เป็นการสืบค้นวาทกรรมที่ประกอบด้วย 1.1 อุดมการณ์ 1.2 โลกทัศน์ 1.3 อำนาจ และ 1.4 ความรู้ทางการจัดการตนเองของชุมชนแบบดั้งเดิม (2) การสถาปนาการแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการตนเองของชุมชนสมัยใหม่ ได้แก่ 2.1 กระบวนการสร้างการจัดการตนเองของชุมชน 2.2 การผลิตโลกทัศน์ใหม่ทางการจัดการตนเองของชุมชน 2.3 การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยใหม่ (3) การเบียดขับวงศ์วานความรู้สมัยเก่าและยุคสมัยการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านจัดการตนเองของชุมชนแบบทันสมัย ได้แก่ 3.1 การเบียดขับวงศ์วานความรู้สมัยเก่า 3.2 การเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านจัดการตนเองของชุมชนแบบทันสมัย (4) การผลิตสร้างทางสังคมเพื่อรื้อถอนวงศ์วานความรู้สู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านจัดการตนเองของชุมชน ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ผลการศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย 4.1 โลกทัศน์ทางการจัดการตนเองของชุมชนยุคสมัยใหม่ 4.2 อุดมการณ์ทางการจัดการตนเองของชุมชนยุคสมัยใหม่ 4.3 อำนาจทางการจัดการตนเองของชุมชนยุคสมัยใหม่ และ 4.4 ความรู้ทางการจัดการตนเองของชุมชนยุคสมัยใหม่ ทั้งนี้ ชุมชนสามารถนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปปรับใช้ตามบริบทที่มีความสอดคล้องกับพื้นที่ โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานของชุมชนร่วมกับองค์ประกอบเชิงวงศาวิทยา เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสามารถยกระดับไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบในด้านการจัดการตนเองของชุมชน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2018
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58604912.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.