Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2020
Title: DEVELOPMENT OF COMMUNITY MANAGEMENT STRATEGIES PAYMENT FOR ECOSYSTEM SERVICES IN BIODIVERSITY TOURISM OF BANG KACHAO
การพัฒนากลยุทธ์การจัดการชุมชนแบบตอบแทนคุณระบบนิเวศในพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนบางกะเจ้า
Authors: Bhorntida TEPPRASIT
พรธิดา เทพประสิทธิ์
THIRAWAT CHANTUK
ธีระวัฒน์ จันทึก
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: การพัฒนากลยุทธ์
การตอบแทนคุณระบบนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
DEVELOPMENT STRATEGIES
PAYMENT FOR ECOSYSTEM SERVICES
BIODIVERSITY
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were 1) Developed guideline of community management strategies Payment for ecosystem services in biodiversity tourism of bang kachao 2) Developed elements of community management strategies Payment for ecosystem services in biodiversity tourism of bang kachao and 3) Established of community management strategies Payment for ecosystem services in biodiversity tourism of bang kachao. The first procedure was conducted by used documentary research, in-depth interview, and application of lesson distilled community. The second procedure was conducted by used Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) by interviewed with 17 experts then applied the process to AHP was also applied for repeated test. The third procedure was conducted by synthesized the consensus of strategic development with focus group. Subsequently, the results were evaluated in order to inspect content validity by used Index of Item Objective Congruence (IOC) from the experts.  From studying on elements of community management strategies Payment for ecosystem services in biodiversity tourism of bang kachao it was found that there were 9 dimensions of strategy elements including 1) Quality of Life and Community Development 2) Corporate Social Responsibility 3) Knowledge Management and Communities of Research 4) Community 5) Law and Regulatory Management practices 6) Eco-tourism 7) Sustainable Consumption and Production 8) Ecosystem Management and 9) Threat Management From consideration it was found that developed strategies were suitable. From applied AHP, the result of analysis on consistency ratio of all dimensions revealed that its value was ranged doing 0.067 – 0.099 with the value less than 0.1 which was consistent with the evaluation results to verify the content validity from the experts in a final study.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางกลยุทธ์การจัดการชุมชนแบบตอบแทน คุณระบบนิเวศในพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนบางกะเจ้า 2) เพื่อพัฒนา องค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการชุมชนแบบตอบแทนคุณระบบนิเวศในพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนบางกะเจ้า และ 3) เพื่อจัดทำกลยุทธ์การจัดการชุมชนแบบตอบแทน คุณระบบนิเวศในพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนบางกะเจ้า โดยในขั้นตอนที่ 1 ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และประยุกต์วิธีการถอดบทเรียนจากชุมชนต้นแบบขั้นตอนที่ 2 ใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต EDFR โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน และการประยุกต์เทคนิคกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (Analysis Hierarchy Process: AHP) เพื่อสรุปองค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการชุมชนแบบตอบแทนคุณระบบนิเวศในพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพชุมชนบางกะเจ้า และในขั้นตอนที่ 3 เป็นการสังเคราะห์ฉันทามติของการพัฒนากลยุทธ์โดยใช้เทคนิคการจัดเวทีการสนทนากลุ่ม จากนั้นประเมินเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้เทคนิคการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของกลยุทธ์ (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ จากผลการศึกษาองค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการชุมชนแบบตอบแทนคุณระบบนิเวศ ในพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนบางกะเจ้าพบว่ามีองค์ประกอบของกลยุทธ์ แบ่งออกเป็น 9 มิติ ได้แก่ 1) มิติการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน 2) มิติความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ 3) มิติด้านการจัดการองค์ความรู้และวิจัยของชุมชน 4) มิติด้านวิถีชุมชน 5) มิติด้านกฎหมาย หรือระเบียบ แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการ 6) มิติด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 7) มิติด้านการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 8) มิติด้านการจัดการระบบนิเวศ และ 9) มิติการจัดการภาวะคุกคาม จากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม และจากการประยุกต์เทคนิคกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้นมีผลการวิเคราะห์อัตราส่วนความสอดคล้องของทุกด้านที่ได้มีค่าเท่ากับ 0.067 – 0.099 โดยมีค่าน้อยกว่า 0.1 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับผลการประเมินเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญในขั้นตอนสุดท้าย
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2020
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58604924.pdf8.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.