Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2021
Title: Development of Indicators in Intangible Cultural Heritage Management for Creative Tourism, Chumphon Province
การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐาน สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร
Authors: Athip JANSURI
อธิป จันทร์สุริย์
PITAK SIRIWONG
พิทักษ์ ศิริวงศ์
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: การพัฒนาตัวบ่งชี้
การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
DEVELOPMENT OF INDICATORS
INTANGIBLE CULTURAL HERITAGE MANAGEMENT
CREATIVE TOURISM
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to 1) study the characteristics of Intangible cultural heritage management and characteristics of creative tourism 2) study the scenario of trends composition to intangible cultural heritage management for creative tourism and 3) develop the indicators of the intangible cultural heritage management for creative tourism of Chumphon Province. The process had 3 steps: Step 1 used grounded theory method by studying theoretical concepts and document research to obtain information about the characteristics of Intangible cultural heritage management and characteristics of creative tourism. Step 2 used EDFR Future Research Techniques by interviewing 17 experts along with the applied  MTMM Multitrait-Multimethod Analysis to examine construct validity and step 3 used focus group method and policy meeting. The study revealed that the characteristics of intangible cultural heritage management for creative tourism from grounded theory method had 12 main components and the study from interviewing experts revealed that there were 8 main-indicators included 1) creative cultural activity 2) knowledge and skill 3) community and network 4) successor 5) Platform 6) management 7) authentic 8) creative experience. More over, the study showed that there were 32 sub-indicators in measuring the performance of the characteristics of intangible cultural heritage management for creative tourism. Step 3 used focus group and policy meeting comprised of the representative of academic sectors, public sectors and communities. The result showed that every sector and community in Chumphon Province must work and had a participation to strengthen the develop the indicators of the intangible cultural heritage management for creative tourism of Chumphon Province. Moreover, the final result of this research will create the tangible indicators of creating tourism in Chumphon Province which can be used as the role model in developing cultural heritage management for creative tourism in other provinces.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและคุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษาแนวโน้มองค์ประกอบการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร และ 3) พัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร โดยในขั้นตอนที่ 1 ใช้เทคนิคการวิจัยทฤษฎีฐานราก โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และการวิจัยเอกสาร เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และคุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และในขั้นตอนที่ 2 ใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต EDFR โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและการทำแบบสอบถาม จำนวน 17 คน และการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์พหุลักษณะ-พหุวิธี เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง และในขั้นตอนที่ 3 การจัดสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงนโยบาย ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะด้านการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จากการวิจัยทฤษฎีฐานราก ได้องค์ประกอบหลักจำนวน 12 องค์ประกอบ และแนวโน้มองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยที่ได้จากการสัมภาษณ์รอบที่ 1 แบบสอบถามรอบที่ 2 จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวโน้มองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยที่ได้เป็นตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบหลัก 32 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 กิจกรรมทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ องค์ประกอบหลักที่ 2 ความรู้ และทักษะ องค์ประกอบหลักที่ 3 ชุมชนและเครือข่าย องค์ประกอบหลักที่ 4 ผู้สืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม องค์ประกอบหลักที่ 5 ช่องทางการส่งผ่านจากฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม องค์ประกอบหลักที่ 6 การจัดการ องค์ประกอบหลักที่ 7 ความแท้บนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม องค์ประกอบหลักที่ 8 ประสบการณ์เชิงสร้างสรรค์ และการจัดสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงนโยบาย ภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคชุมชน ต้องมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร ทั้งนี้เพื่อให้จังหวัดชุมพรมีตัวบ่งชี้ที่เป็นรูปธรรม สามารถเป็นต้นแบบด้านการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2021
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58604931.pdf9.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.