Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2024
Title: THE COMMUNITY’S ECONOMY MANAGEMENT FOR THA THONG MUANG KAO MARKET, KANCHANADIT DISTRICT, SURAT THANI PROVINCE
การจัดการเศรษฐกิจชุมชน หลาดท่าทองเมืองเก่า อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Authors: Wattana DAENGPRATHET
วัฒนา แดงประเทศ
Kreagrit Ampavat
เกริกฤทธิ์ อัมพะวัต
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: การจัดการเศรษฐกิจชุมชน
เศรษฐกิจชุมชน
หลาดท่าทองเมืองเก่า
COMMUNITY ECONOMY MANAGEMENT
COMMUNITY ECONOMY
THA THONG MUANG KAO MARKET
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research is a qualitative research which aims to study 1) Current Situation of Tha Thong Muang Kao Market Management 2) Proposed management of community economy at Tha Thong Muang Kao Market. Phenomenology method was used in content analysis expecting an understanding The Community’s Economy Management for Tha Thong Muang Kao Market, Kanchanadit District, Surat Thani Province. The researcher performed In-Depth interview and Observation 18 key informants which are Community Leaders, Board of Tha Thong Muang Kao Market, Merchants. The researcher paid role as a moderator, using Semi-Structured Interview and voice recorder as the evidence from the interview. The Key informants was liberated to describe their ideas about the topic plainly and contain was later interpreted by Descriptive Analysis method. The result from this study shown that 1) Current Situation of Tha Thong Muang Kao Market Management Divide the working group into 9 groups from public in Tha Thong Muang Kao Market Kanchanadit district and Function Process to applying as a guideline for other local communities interested in establishing a market and applying local Knowledge, Cultural, History and Natural resources to Community Strengths. Support the market management to be attractive. The important impact will be on employment, The economic revolutions within the community. And 2) Proposed approach of Community ,s Economy Management for Tha Thong Muang Kao Market, to finding 3 factor which are 2.1) Community Capabilities 2.2) Management of community economy at Tha Thong Muang Kao Market 2.3) Management of community economy in Natural resources and Environment Tha Thong Muang Kao Market.
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการหลาดท่าทองเมืองเก่า และ 2) เพื่อเสนอแนวการจัดการเศรษฐกิจชุมชนสำหรับหลาดท่าทองเมืองเก่า โดยใช้วิธีวิทยาแบบปรากฎการณ์วิทยา วิเคราะห์เนื้อหา เป็นการมุ่งศึกษาและทำความเข้าใจการจัดการเศรษฐกิจชุมชนหลาดท่าทองเมืองเก่า อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการหลาดท่าทองเมืองเก่า คือ ผู้นำของชุมชนท้องถิ่น คณะกรรมการตลาด พ่อค้าแม่ค้า และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของหลาด ท่าทองเมืองเก่า มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และเครื่องอัดเสียง โดยผู้วิจัยทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการสนทนา และเปิดโอกาสให้ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบคำถามที่ผู้วิจัยเตรียมไว้ โดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การใช้เทคนิค พรรณนาวิเคราะห์เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการวิจัย ผลการศึกษา พบว่า1) สภาพปัจจุบันของการจัดการหลาดท่าทองเมืองเก่า มีการจัดการตลาดที่มีความเหมาะสม โดยมีการแบ่งคณะทำงานออกเป็น 9 คณะ ซึ่งคณะทำงานมาจากคนในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นตำบลท่าทองเป็นส่วนใหญ่ และเป็นระบบหน้าที่แก่การนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับชุมชนท้องถิ่นอื่นที่มีความสนใจในการจัดตั้งตลาด โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นที่มีอยู่มาเป็นจุดเด่น ในการสนับสนุนการจัดการตลาดให้เป็นที่น่าสนใจ และที่สำคัญการจัดตั้งตลาดในลักษณะนี้จะทำให้ผู้คนเกิดความสนใจมาเยี่ยมชมและใช้บริการตลาด อีกทั้งทำให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย และ 2) การเสนอแนวการจัดการเศรษฐกิจชุมชนสำหรับหลาดท่าทองเมืองเก่า ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ด้าน คือ ด้านที่ 2.1) การจัดการเศรษฐกิจชุมชนด้านความรู้ความสามารถของคนในชุมชน ด้านที่ 2.2) การจัดการเศรษฐกิจชุมชนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนหลาดท่าทองเมืองเก่า ด้านที่ 2.3) การจัดการเศรษฐกิจชุมชนด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนหลาดท่าทองเมืองเก่า
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2024
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59601704.pdf8.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.