Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2029
Title: Causal relationship of factors affecting the happiness ofcivil servant’s Local government organizationIn Nakhon Chai Si district, Nakhon Pathom province
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
Authors: Monrudee PHEWPHONG
มนฤดี ผิวผ่อง
THIRAWAT CHANTUK
ธีระวัฒน์ จันทึก
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ความสุขในการทำงาน
ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
The causal relationship
Workplace happiness
Civil servant’s local
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aimed objective to study Causal relationship of factors affecting the happiness of civil servant’s local government organization In NakhonChai Si district, Nakhon Pathom province. Sample group of this research are 200 participants. Using random sampling methods regardless of probability (Non-Probability samping), which is a technique for determining sample groups referring to the research population. By using specific methods (purposive samping).using questionnaire as a research instrument. This questionnaire has been checked for IOC which equal to 0.67–1.00 and check for reliability which excess 0.91 Regarding to analyzing data a researcher us descriptive statistics, namely frequency, percentage, mean and standard deviation and used inferential statistics, namely confirmatory component  analysis and (Structural Equation Modeling: SEM)   The result found that overall have high level of working happiness of civil servant’s local  government organization  In Nakhon Chai Si district, Nakhon Pathom . found that Chi-Square  is 95.15 which has statistical significance at p-value = 0.12, Relative Chi-Square  = 1.24, Comparative Fit Index (CFI) = 1.00, Goodness of Fit Index (GFI) = 0.96, Adjust Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.96 and Root Mean Square of Approximation (RMSEA) = 0.04 which all of them passed the criteria. In consideration  of civil servant’s local  government working happiness which is the final result of this model found that such happiness obtains the maximum influence from organizational environment, followed by agreement with the organization And personal development and competency.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบความสุขในการทำงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอนครชัยศรี จำนวน 200 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น (Non-Probability samping) โดยเลือกใช้วิธีแบบจำเพาะเจาะจง (purposive Samping ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุส่งผลต่อความสุขในการ โดยมีการนำแบบสอบถามไปตรวจสอบค่า IOC ได้ค่าเท่ากับ 0.67-1.00 และตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นได้ค่าเกินกว่า 0.91 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)   ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนครชัยศรี ด้านสภาพแวดล้อมในองค์การ ด้านข้อตกลงกับองค์กร ด้านการพัฒนาและความสามารถส่วนบุคคลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านความพึงพอใจในงานด้านความพึงพอใจในงาน  ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขในการทำงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนครชัยศรี ด้านการติดต่อ ด้านความรักในงาน  ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการเป็นที่ยอมรับมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน  ผลการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ค่าไค-สแควร์ มีค่า 95.15 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 0.12 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ = 1.24 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) = 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI)= 0.96 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.96 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA) = 0.04 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่า เมื่อพิจารณาความสุขในการทำงาน ซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้ายของโมเดล พบว่า ความสุขจากการทำงานนั้น ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจาก สภาพแวดล้อมในองค์การ รองลงมา การพัฒนาและความสามารถและข้อตกลงกับองค์กร ตามลำดับ
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2029
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59602319.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.