Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2043
Title: Cause and Effect of Emotional Labor on Feed Mill’s Salesman 
สาเหตุและผลกระทบของการแสดงความรู้สึกขณะทำงานของพนักงานขายอาหารสัตว์
Authors: Orrawee MEESIRI
อรวี มีศิริ
PANUSCHAGONE SIMAKHAJORNBOON
พนัชกร สิมะขจรบุญ
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: ความฉลาดทางอารมณ์
การแสดงความรู้สึกขณะทำงาน
ความเหนื่อยล้า
ความตั้งใจลาออก
Emotion Intelligence
Emotion Labor
Burnout
Intention to quit
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The main objectives of this research were to study 1) the effect of Emotional Intelligence to Emotion Labor 2) the effect of Emotional Labor to Burnout 3) the effect of Burnout to Intention to quit on feed mill’s salesman in Thailand.  The samples of this study were 138 feed mill’s salesman in Thailand derived random by power analysis using G*Power 3.0.10. Likert-type questionnaires were employed to collect the data. The content validity of the questionnaire was verified using Index Objective Congruence (IOC). The researcher used Partial Least Square SEM (PLS-SEM) by Smart PLS program. Findings showed that emotional intelligence had positive impact on surface acting (β=0.290, p=0.003), emotional intelligence had positive impact on deep acting (β=0.494, p=0.000), surface acting had positive impact on burnout (β=0.441, p=0.000), deep acting had negative impact on burnout (β=-0.331, p=0.000), and burnout had positive impact on intention to quit (β=0.604, p=0.000). The structural equation model can explain the intention to quit 36.5%. The findings suggest that organizations should focus on various factors that affect to intention to quit. The researcher has proposed the guidelines for applying research results to 1) should be selected and developed emotional intelligence to feed mill's salesman and 2) find ways to reduce burnout caused by emotional labor of feed mill's salesman.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อการแสดงความรู้สึกขณะทำงาน 2) อิทธิพลของการแสดงความรู้สึกขณะทำงานที่มีต่อความเหนื่อยล้า 3) อิทธิพลของความเหนื่อยล้าที่มีต่อความตั้งใจลาออก กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขายอาหารสัตว์ในประเทศไทยจำนวน 138 ตัวอย่าง ที่ได้จากการสุ่มด้วยวิธีวิเคราะห์กำลัง (Power Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*Power 3.0.10 ใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยเทคนิค Index of item objective congruence (IOC) วิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างด้วยเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Square SEM; PLS-SEM) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Smart PLS 3.0 ผลการศึกษา พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลทางบวกต่อการแสร้งแสดงความรู้สึก (β=0.290, p=0.003) ความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลทางบวกต่อการแสดงความรู้สึกจากภายใน (β=0.494, p=0.000) การแสร้งแสดงความรู้สึกมีอิทธิพลทางบวกต่อความเหนื่อยล้า (β=0.441, p=0.000) การแสดงความรู้สึกจากภายในมีอิทธิพลทางลบต่อความเหนื่อยล้า (β=-0.331, p=0.000) และความเหนื่อยล้ามีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจลาออก (β=0.604, p=0.000) โมเดลสมการโครงสร้างสามารถอธิบายความตั้งใจลาออกได้ร้อยละ 36.5 (R2 = 0.365) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า องค์กรควรให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงาน ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนวทางของการนำผลการวิจัยไปใช้คือ 1) ควรมีการคัดเลือกและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่พนักงานขาย และ 2) หาวิธีการลดความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการแสร้งแสดงความรู้สึกของพนักงานขาย
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2043
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59602365.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.