Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2066
Title: The studying in Art Achievement and Creative Art work of A Student’s  4 th grade : Art Composition by The Art Activities based on The Six Hats with the Analyzation of Visual Art.
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะ เรื่ององค์ประกอบศิลป์ และความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์
Authors: Alongkot YAWILAKAD
อลงกต ยาวิละกาศ
WISUD PO NEGRN
วิสูตร โพธิ์เงิน
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education
Keywords: กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบ
การวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน
The Art Activities Based on the Six Hats
Analyzation of Visual Art
learning achievement
Creative ability
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to 1) study the Efficiency of learning activities in Art Composition by the Art Activities Based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art 2) to compare student’s learning achievement in Art Composition before and after the Art Activities Based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art. 3) to study the creative ability of grade 4 students in Art Composition by the Art Activities based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art, and 4) to study the satisfaction of Grade 4 students in Art Composition by the Art Activities Based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art. Samples used is a classroom with 32 grade 4 students of the 1st  semester, 2018 from Duangvipa School, a private school in Bangkok, which has been selected by Simple random sampling. The experimental groups were divided into groups by Random Cluster Sampling method. Tools used in the research are 1) arts activities plan based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art in Art Composition 2) grade 4 students creative work evaluation 3) achievement test of art learning activities based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art in Art Composition 4) satisfaction questionnaire toward art learning activities based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art in Art Composition and after experimental analysis the statistical average was used  (x) and standard deviation (S.D.)  The research found that: 1. The created learning activities in Art Composition by the Art Activities Based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art for Grade 4 students had efficiency of 80.31/85.31  which met the criterion set at 80/80. 2.The efficiency after art learning activities in Art Composition by the Art Activities Based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art for Grade 4 students had a statistic significantly higher than before using the activities at the .05. 3. The overview creative ability of grade 4 students in Art Composition by the Art Activities based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art was at a very good level with an average (x=15.88) and standard deviation (S.D.) was at 1.76.  4. The overall satisfaction of grade 4 students in Art Composition by the Art Activities based on the Six Hats with the Analyzation of Visual Art were at the highest level with an average (x=4.54) and the standard deviation(S.D.) was at 0.65.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่ององค์ประกอบศิลป์ โดยใช้กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์ 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่ององค์ประกอบศิลป์ ก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์  3)เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่ององค์ประกอบศิลป์ โดยใช้กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์  และ4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่ององค์ประกอบศิลป์ โดยใช้กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์  ​กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มทดลองได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม  (Cluster Random Sampling) จากโรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้กลุ่มโรงเรียนเอกชน โรงเรียนดวงวิภา แบบวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน  จำนวนนักเรียน  32  คน  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  1)แผนกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์ เรื่ององค์ประกอบศิลป์  2)แบบประเมินการสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากผลงาน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์ เรื่ององค์ประกอบศิลป์  4)แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์ เรื่ององค์ประกอบศิลป์  หลังการทดลองการวิเคราะห์ใช้ค่าสถิติ  (คะแนนเฉลี่ย)  และหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1.กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์ เรื่ององค์ประกอบศิลป์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4   ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด  คือ  80.31/85.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน  โดยใช้กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์  เรื่ององค์ประกอบศิลป์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เรื่ององค์ประกอบศิลป์  โดยใช้กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์ ภาพรวมของกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย (x) เท่ากับ 15.88 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.76  4.ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เรื่ององค์ประกอบศิลป์  โดยใช้กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดหมวกหกใบร่วมกับการวิเคราะห์ทางทัศนศิลป์ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.54 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) เท่ากับ 0.65
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2066
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58901336.pdf14.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.