Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/211
Title: การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา
Other Titles: DEVELOPMENT OF PROGRAM FOR REINFORCING THE EDUCATIONAL INNOVATOR POTENTIALITY
Authors: สุทธาวาศ, วสันต์
Sutthawart, Wasan
Keywords: นวัตกร
นวัตกรรม
ศักยภาพ
EDUCATIONAL INNOVATOR
INNOVATION
POTENTIALITY
Issue Date: 29-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเชิงทฤษฎีของคุณลักษณะและการเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา และ 3) ประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม โดยงานวิจัยและพัฒนาเป็นแบบผสมผสานด้วยวิธี 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อตรวจสอบกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี ด้วยการสร้างทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) จากบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญนวัตกรรม จำนวน 17 คน 2) การวิจัยเชิงปริมาณ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เพื่อสร้างรายละเอียดโปรแกรม และเพื่อการทดลองภาคสนามโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental) โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิชาการศึกษาระดับปฏิบัติการ สังกัด สพฐ. แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน และ 3) การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อการปรับปรุงโปรแกรมเชิงนโยบาย ด้วยการหาฉันทามติและข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้บริหารระดับนโยบายด้านการศึกษา จำนวน 5 คน เกี่ยวกับการนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะความเป็นนวัตกรการศึกษามี 4 ด้าน (ADAB) ประกอบด้วย ความสามารถ ทักษะการค้นพบ เจตคติ และพฤติกรรม รวมถึงมีหลักการทำงานที่สำคัญ 4 ประการ (GIVE) ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม การบูรณาการ การสร้างคุณค่าที่แท้จริง และ การส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม โดยโปรแกรมพัฒนาจากแนวคิด ARM Model มีองค์ประกอบเชิงระบบ 3 โมดูล (3As) ได้แก่ การเพิ่มพูนความพร้อม การประยุกต์สร้างสรรค์ และการประเมินคุณค่า เชิงนวัตกรรม โดยมีภารกิจ (Task) ที่ใช้การจำลองสถานการณ์และประยุกต์ใช้กับภาระงานจริง (Sim & Scene) เป็นตัวกระตุ้นศักยภาพ และใช้แนวคิด ARM Matrix ในการวิเคราะห์แนวโน้มศักยภาพ ทั้งนี้ ผลการเสริมสร้างศักยภาพ พบว่า คุณลักษณะความเป็นนวัตกรการศึกษาหลังการพัฒนาของกลุ่มทดลองโดยรวมทุกด้าน มีค่าสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนา รวมถึงสูงกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รวมถึงมีข้อค้นพบเกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งการยอมรับนวัตกรรม (Moment in Innovation) สำหรับภาพรวมโปรแกรมนี้ได้รับการยอมรับเป็นฉันทามติเชิงนโยบาย โดยได้ค่าสัมประสิทธิ์ Cohen’s Kappa ในระดับดี (Substantial) ที่ .634 นอกจากนี้ ได้สังเคราะห์และสรุปเป็นรูปแบบ เรียกว่า “วงรอบแห่งการพัฒนานวัตกรการศึกษา” และเป็นความสัมพันธ์เชิงระบบ เรียกว่า “รูปแบบความเชื่อมโยงของโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพความเป็น นวัตกรการศึกษา” เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างต่อไป This research aims to 1) study the theoretical concepts of attributes and potentiality reinforcement of educational innovator, 2) develop reinforcement program for educational innovator, and 3) evaluate the efficiency of the program. This research and development includes 1) qualitative research in order to examine the theoretical framework by creating grounded theory from 17 persons in the Office of the Basic Education Commission (OBEC) 2) quantitative research which can be divided into two parts: to create program details and quasi-experimental research methodology with the operational academic educators working for OBEC: experimental group ten persons and control group ten persons and 3) quantitative research was to program improvement based on policy by the consentient feasibility and further comments concerning the suitability of the program and application on policy benefits from five educational policy executive educators. The findings revealed that the attributes of educational innovator consist of four categories (ADAB): ability, discovery skills, attitude, and behavior, four working principles (GIVE): goal optimization, integration, value creation, and encouragement of innovation, this program developed from ARM Model consists of three modules (3As): Acquiring, Applying and Appraising by the task “Simulation and Scenario” (Sim & Scene) and analyzed potentiality by ARM Matrix concept. The result showed that ADAB after the experimental group development was higher than before development and difference from the control group, statistically significant at .01 level, and discovered the “Moment in Innovation”. Overall, the program was recognized as policy consensus at substantial level of Cohen’s Kappa coefficient value of .634. This study was synthesized and summarized as a "Lifecycle of Educational Innovator Development Model" and systematic relationship model called "Linkage Model of Educational Innovator Potentiality Reinforcement" in order to be used further in the future.
Description: 56604929 ; สาขาวิชาการจัดการ -- วสันต์ สุทธาวาศ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/211
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
วสันต์.pdf127.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.