Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2137
Title: THE CONCEPT OF PLACE IN VERNACULAR ARCHITECTURE CASE STUDY: THE SETTLEMENT AND HOUSES IN TAI YAI AND TAI DAM GROUPS
ความเป็นสถานที่ในงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น กรณีศึกษา ถิ่นฐานและเรือนอาศัยของชาวไทใหญ่และไทดำ
Authors: Adisorn SRISAOWANUNT
อดิศร ศรีเสาวนันท์
VIRA INPUNTUNG
วีระ อินพันทัง
Silpakorn University. Architecture
Keywords: ความเป็นสถานที่
ปรากฏการณ์วิทยา
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
PLACE
Phenomenology
Vernacular Architecture
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis studies on the concept of place in vernacular architecture that belongs to Tai group. The objective is to study and analyze theory of place as a postmodern concept that derives from the western context in order to use this theory to clarify meaning of place in vernacular architecture and to make constructive criticism of the theory. The study assumes that the concept of place will be more helpful in interpret vernacular architecture. Research framework comes from concept of Christian Norberg-Schulz which focuses on research through preliminary document and study on the dwelling of Tai Yai and Tai Dam groups. The method of study begins from analyzing phenomenology article called "Genius Loci: towards a Phenomenology of Architecture" and synthesizes into a relationship diagram that used to analyze meaning of phenomenon in sky, earth and human beings, leading to find references for orientation, identification, space and character then conclude the concept of place in local dwelling of the two Tai groups. The study shows that the concept of place in dwelling of the Tai Yai group constructed from "order" which influenced by phenomenon of the sky and high land consequently has impact on order of space, enclosure and physical. Place of the Tai Dam group constructed from "Relationship" of diverse in the earth that forms the polarity relationship of gender space, human body and earth, shape expression and symbols from living creatures. Conclusion of concept of place of Tai group draws from distinct common characteristics of case study which is shape of the longitudinal space that represents top, center and bottom positions. State of inside formed by location of sleeping, bed wall and belief in “KWAN”, divinity related to the sky. This state has vertical elements which are large trees and wooden columns act as boundary mark and connection to sacred things. The roof is a cover that forms place for human. Water is external element that highlights identity of the place.  Theory of place reveals following points: comparative research, dwelling concept of Heidegger, grouping of phenomena, factors from social groups, observation on concept of basic needs, recognition of rational system and symbolic meaning and the study of character.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาความเป็นสถานที่ (Place) ในงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของกลุ่มผู้พูดภาษาไท มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีเรื่องสถานที่ในฐานะแนวคิดหลังสมัยใหม่ที่มาจากบริบทตะวันตก เพื่อใช้ทฤษฎีดังกล่าวไปอธิบายความหมายของสถานที่ในงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และเพื่อวิพากษ์สร้างส่วนขยายทฤษฎี งานศึกษายังมีสมมติฐานว่าความเป็นสถานที่จะช่วยทำความเข้าใจ ความหมายที่มีอยู่ในงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้เพิ่มมากขึ้น มีกรอบการศึกษาเป็นแนวคิดของ Christian Norberg-Schulz เน้นการศึกษาผ่านเอกสารชั้นต้น และศึกษาผ่านตัวอย่างเรือนอาศัยพื้นถิ่นในบริบทของกลุ่มไทใหญ่และไทดำ วิธีการศึกษาเริ่มโดยวิเคราะห์งานเขียนทางปรากฏการณ์วิทยา ชื่อ  Genius Loci : towards a Phenomenology of Architecture สังเคราะห์เป็นแบบแผนความสัมพันธ์ นำแบบแผนดังกล่าวไปใช้ลำดับหาความหมาย จากปรากฏการณ์ ของท้องฟ้า ผืนดิน และมนุษย์ นำไปสู่การอ้างอิงตำแหน่งทิศทาง การจำแนกคุณลักษณะ ที่ว่าง และคุณลักษณะ แล้วจึงสรุปเป็นความเป็นสถานที่ในเรือนอาศัยพื้นถิ่นของชาวไททั้งสองกลุ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นสถานที่ในเรือนของกลุ่มไทใหญ่เกิดขึ้นจาก “ระบบ” ที่ได้รับมาจากปรากฏการณ์ของท้องฟ้าและผืนดินที่สูง ส่งผลต่อลำดับของที่ว่าง ระดับของการปิดล้อม และคุณลักษณะทางกายภาพที่เกิดจากระเบียบและเหตุผล ส่วนสถานที่ของชาวไทดำเกิดขึ้นจาก “ความสัมพันธ์” ที่มาจากความหลากหลายของผืนดิน ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก เกิดเป็นที่ว่างที่มาจากความสัมพันธ์แบบคู่ตรงข้ามระหว่างชายหญิง ร่างกายของมนุษย์กับดินน้ำ และส่งผลต่อคุณลักษณะในด้านบรรยากาศ การแสดงออกทางรูปทรง และสัญลักษณ์ที่มาจากสิ่งมีชีวิต ส่วนสรุปความเป็นสถานที่ของชาวไท เลือกมาจากลักษณะร่วมที่เด่นชัดของกรณีศึกษา คือ รูปร่างของที่ว่างตามยาวที่แสดงคติหัวกลางท้าย ความเป็นภายในที่เกิดจาก ที่นอน ผนังหัวนอน และความเชื่อเรื่องขวัญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวข้องกับท้องฟ้า มีองค์ประกอบแนวตั้งเป็นต้นไม้ใหญ่และเสาไม้ ทำหน้าที่เป็นหลักเขตและส่วนเชื่อมต่อไปสู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังคา เป็นสิ่งปกคลุมที่ทำให้เกิดสถานที่ของมนุษย์ และ น้ำ เป็นองค์ประกอบจากภายนอกที่ทำให้ตัวตนของสถานที่ปรากฏชัดเจนขึ้น ส่วนข้อสังเกตที่ได้จากทฤษฎีเรื่องสถานที่ ได้แก่ วิธีการศึกษาโดยการเปรียบเทียบ แนวคิดเรื่องการอาศัยของ Heidegger การจัดกลุ่มปรากฏการณ์ ปัจจัยจากกลุ่มสังคม ข้อสังเกตเกี่ยวกับมโนทัศน์ในเรื่อง ความต้องการพื้นฐาน การรับรู้กับระบบเหตุผลและความหมายสัญลักษณ์ และการศึกษาเรื่องของคุณลักษณะ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2137
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56057806.pdf12.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.