Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2143
Title: NEW NATIONAL ASSEMBLY OF SIAM
อาคารรัฐสภาเเห่งใหม่
Authors: Peerapong VEJASONGSERM
พีระพงศ์ เวชส่งเสริม
SOMCHART CHUNGSIRIARAK
สมชาติ จึงสิริอารักษ์
Silpakorn University. Architecture
Keywords: อุดมการณ์
ประวัติศาสตร์
สัญลักษณ์
การเมือง
จิตวิญญาน
สถาปัตยกรรม
ไทย
ideology
History
Symbols
Politics
Spirituality
Architecture
Thai
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The national Assembly building is a political architecture , which reflects many aspect about political history and their ideology. Along time ago, we have found that architecture shows clearly and obviously evidences  that tell us straightforwardly  about many hidden concepts  in form , included philosophy and each of social conditions in various places . If we regress to scrutinize Thai styles of  architecture ,  that has evolved over thousands of years , since the Dvarati period  to  Kingdom of Siam . When western civilization expanded  their's influence to Siamese society , in the reign of Rama V and became  to Thai again in the reign of Rama VI as  Monarchical Nationalism . One of the theory of Modern architecture is Form follow function , which told that Thai architecture form is useless in some area . It can be extravagantly in structure , user area  and  more expensive budget to keep  Thai identity in roof form . This momentous problem occurred in Japan at the same time . So that  some  group of architect (who  strive for national architecture form)  offered common Japanese roof : Teikan Yoshiki  to be national architecture  nevertheless it was  not accomplished and was back to square one , that is good benefit to produced  own  japan  architects’ work  extremely,  can make a  new Japanese style. Then have been accepted in the world of Architectural Associations. For all the mentioned above that was the purpose of study to expand a new conceptual design in Thai architectures ,  and does not copy , imitate or reproduction  an old  architecture.  Including linkage of the Thai historical context and  ideology  of democracy , which is looking for vital political institutions in  both of  pre and post the Siamese coup d'état of 1932 , and  eventually  could bring us to create a meaning full process of change  in  Architecture with Thai spirit.    
อาคารรัฐสภาเป็นสถาปัตยกรรมทางการเมืองที่สามารถเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้ในหลายมิติอีกทั้งยังสะท้อน แนวความคิดท่ามกลางบริบททางการเมืองของประเทศนั้นๆผลจากการศึกษาพบว่าบริบททางประวัติศาสตร์ที่ผ่านเวลาที่ยาวนานของประเทศหนึ่งประเทศใดมีตัวสถาปัตยกรรมและที่ตั้งเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดในฐานะของ สัญลักษณ์ทางการเมืองโดย รูปแบบทางสถาปัตยกรรมสามารถเล่าแนวความคิด รูปแบบ และปรัชญาทางการเมือง ตลอดจนสภาพของสังคม ในยุคต่างๆอย่าง ตรงไปตรงมาและสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น  หากมองย้อนกลับมาที่รูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยมีวิวัฒนาการมาหลายร้อยปี  ตั้งแต่ยุคทวาวดีมาจนถึงราชอาณาจักรสยาม ก่อนเกิดกระแสของแนวความคิดแบบตะวันตกเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๕ และกลับมาฟื้นฟูความเป็นไทยอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๖ ที่เป็นแบบราชาชาตินิยม ซึ่งใช้แบบหลังคาแบบไทยอันเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นชัดเจน แต่ด้วยทฤษฎีของรูปทรงต้องเกิดจากการใช้สอยตามทฤษฎีตะวันตกทำให้เห็นถึงความสิ้นเปลืองอย่างมหาศาล ทั้งในโครงสร้าง, พื้นที่ใช้สอย และงบประมาณทางเศรษฐกิจเพื่อดำรงไว้ซึ่งรูปแบบหลังคาแบบไทย         ปัญหาในลักษณะแบบเดียวกันนี้ในกลายเป็นปัญหาในประเทศญี่ปุ่นเช่นกันถึงขนาดมีสถาปนิกที่ร่วมกันแสวงหาสถาปัตยกรรมแห่งชาติได้เสนอรูปทรงหลังคาแบบญี่ปุ่นบนสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ที่เรียกว่า มงกุฎจักรพรรดิ ให้เป็นสถาปัตยกรรมแห่งชาติญี่ปุ่น แต่ถูกคัดค้าน อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะไม่มีผู้รับรองว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งชาติของญี่ปุ่นแต่ผลดีของการตั้งใจผลิตผลงานของสถาปนิก อย่างจริงจังก็สามารถนำพาอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นสมัยใหม่ให้เป็นที่ยอมรับของแวดวงการออกแบบสถาปัตยกรรมของโลกในยุคปัจจุบัน  ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อที่จะพัฒนาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยขึ้นมาใหม่โดยไม่ลอกเลียนของเดิมหรือผลิตซ้ำในบริบทของประวัติศาสตร์และแนวความคิดบนอุดมการณ์แห่งประชาธิปไตยของชาติไทยในปัจจุบันตลอดจนหาความเชื่อมโยงกันของสถาบันทางการเมืองที่สำคัญ  ทั้งก่อนหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เพื่อนำไปสู่การสร้างความหมายและแทนที่ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีจิตวิญญาณแบบไทยในที่สุด
Description: Master of Architecture (M.Arch)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2143
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57053201.pdf13.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.