Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2151
Title: A STUDY OF THE RELATIONSHIP BETWEEN LOCAL TOURISM PROMOTION AND PHYSICAL IMPROVEMENT OF KLONG BANG-LUANG COMMUNITIES, BANGKOK
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นกับการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของชุมชนริมคลองบางหลวง กรุงเทพมหานคร
Authors: Pacharinporn YOTHAPAKDEE
พัชรินภรณ์ โยธาภักดี
CHAISIT DANKITIKUL
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล
Silpakorn University. Architecture
Keywords: ชุมชนริมคลองบางหลวง
การส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น
องค์ประกอบทางกายภาพชุมชน
Klong Bang Luang Waterfront Community
Local Tourism Promotion
Physical Element of The Community
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Klong Bang Luang Waterfront Community was a historic community since  Ayuthaya period. Nowadays, the community people encourage their tourist attraction. Objective of the research were 1. to study the physical element development at Klong Bang Luang Waterfront. 2. to study the advantages and disadvantages of physical element development at Klong Bang Luang Waterfront. 3. to recommend how to develop appropriate guidelines for improving the community development. The research has found that tourism promotion has resulted the community people to develop their community harmoniously to the original state of the community. These are the advantages that should be promoted and conserved in order to be unique for their traditional waterfront lifestyle. However, It was found some problems such as too much solid waste floated in the canal while community' s boardwalk was too narrow and often be damaged, moreover it was lack of parking area, lastly the direction signs are not clear for visibility. Therefore, the study has proposed some appropriate way to develop the physical elements of the community for the tourist attraction. 1. Encourage the community along the Klong Bang Luang waterfront to be the attraction in art, culture and local history. 2. Develop campaign for the community people and tourists to help maintain the canal continually including public relation, community waste and wastewater management. 3. Redesign direction sign and information sign to be fitted in installation area with appropriate distance. 4. Improve concrete boardwalk, community's alleys area decayed areas. Promote the tourist walking track within the community to relieve the congestion along the waterfront walk way. 5. Reorganize parking area and contact area with herbal garden. Make sure to have a clear view of the scenery for visual aesthetics and parking space increase.
บริเวณคลองบางหลวงเป็นที่ตั้งชุมชนริมน้ำดั้งเดิมตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันคนในชุมชนร่วมกันส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการปรับปรุงองค์ประกอบทางกายภาพเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชนริมคลองบางหลวง 2. ศึกษาข้อดีและข้อจำกัดในการปรับปรุงองค์ประกอบทางกายภาพเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชนริมคลองบางหลวง 3. เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงองค์ประกอบทางกายภาพเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชนริมคลองบางหลวง โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีสังเกตการณ์และสำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนจำนวน 3 ราย และเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยในชุมชนจำนวน 32 ราย และนักท่องเที่ยว 110 ราย ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวส่งผลให้คนในชุมชนมีแนวคิดที่จะปรับปรุงพัฒนาองค์ประกอบทางกายภาพของชุมชน โดยมีรูปแบบที่กลมกลืนไม่แตกต่างจากสภาพเดิมของชุมชน ซึ่งเป็นข้อดีที่ควรส่งเสริมและรักษาไว้เพื่อเป็นเอกลักษณ์ในด้านวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำดั้งเดิม อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีข้อจำกัดคือ การพบขยะในแม่น้ำลำคลอง ทางเดินริมน้ำส่วนที่เป็นชานไม้คับแคบไม่พอต่อการรองรับนักท่องเที่ยวและชำรุดบ่อย พื้นที่จอดรถไม่เพียงพอ ป้ายบอกทางมีขนาดเล็ก จึงได้เสนอแนวทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนาองค์ประกอบทางกายภาพของชุมชนเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ชุมชนริมคลองบางหลวงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 2) รณรงค์ให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวช่วยกันดูแลรักษาแม่น้ำคลองบางหลวงอย่างต่อเนื่อง 3) การจัดทำป้ายบอกทางควรออกแบบขนาดให้เหมาะสมกับบริเวณที่ทำการติดตั้งและมีระยะทางกำกับ 4) ปรับปรุงบริเวณทางเดินริมน้ำส่วนที่เป็นคอนกรีตและปรับปรุงซอยภายในชุมชนเพื่อส่งเสริมให้เป็นเส้นทางเดินท่องเที่ยวภายในชุมชน 5) จัดระเบียบบริเวณพื้นที่จอดรถและพื้นที่ติดต่อกับสวนสมุนไพรให้เป็นสัดส่วนชัดเจนเพื่อให้เกิดทัศนียภาพความงามทางสายตาและเพิ่มพื้นที่จอดรถได้มากขึ้น
Description: Master of Urban and Environmental Planning (M.U.E.P)
การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2151
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57058305.pdf6.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.