Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2160
Title: Western Architectural Influences Related to Forest Concession in Lampang and Phrae
สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกที่สัมพันธ์กับการสัมปทานป่าไม้ในเมืองลำปางและเมืองแพร่
Authors: Nuttachat KOSINTRANONT
ณัฐชาติ โกสินทรานนท์
Kreangkrai Kirdsiri
เกรียงไกร เกิดศิริ
Silpakorn University. Architecture
Keywords: สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก
การสัมปทานป่าไม้
เมืองลำปาง
เมืองแพร่
Western Architectural Influences
Forest Concession
Lampang
Phrae
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research covers the areas in two districts namely: the Eastern side of Wang river, Wiang Nua Subdistrict, Lampang Municipality, Mueang Lampang, and the Western side of Yom river, Nai Wiang Subdistrict, Mueang Phrae Municipality, Phrae. Both areas have one character in common; several groups of people who are involved in forest concessions tend to have Westernized houses as their residence, which leads to the question “What are the formats of residential houses within Lampang and Phrae forest concessions?”.  This research uses a field survey as a method and residential houses in Lampang and Phrae forest concessions as the population. The sample houses are selected specifically: 21 in Lampang and 21 in Phrae. The data is collected through survey, measurement, long-term observation and non-structured interview since this study is categorized as a historical research, which focuses on chronological analysis, combined together with comparative analysis. The process leads to an apparent result in diversity of residential houses within the scope of study areas. They can be divided into 2 categories; traditional architecture, and applied architecture which can be categorized into 4 types namely: houses with balconies, houses with perforated wood decorations, houses with Westernized space usage and houses with and traditional space usage. Moreover, the result can define common and distinct characters of houses within the area and factors of such conditions. The factors consist of 1) Internal factors affecting the common characters; for example, geographic conditions and local culture 2) Internal factors affecting the distinct characters; namely directions, city axis and official forestry policy 3) External factors affecting the common characters; namely Siamese politics and the use of new materials and 4) External factors affecting the distinct characters; namely Siamese politics, introduction of non-local people, construction workers and construction.
งานวิจัยนี้ มีพื้นที่ศึกษาคือ เมืองลำปาง ครอบคลุมพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำวัง ตำบลเวียงเหนือ เทศบาลนครลำปาง  และเมืองแพร่ ครอบคลุมพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม ตำบลในเวียง เทศบาลเมืองแพร่  ความน่าสนใจของพื้นที่ทั้งสองแห่งคือ การมีผู้คนหลากหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการสัมปทานป่าไม้อาศัยอยู่ร่วมกัน กลุ่มคนเหล่านี้กระทำสิ่งที่เหมือนกันคือ การรับเอาแบบอย่างเรือนตะวันตกไปปลูกสร้างเป็นที่อยู่ของตน ทำให้เกิดคำถามว่า “รูปแบบของเรือนพักอาศัยในช่วงสัมปทานป่าไม้ในเมืองลำปางและเมืองแพร่มีลักษณะอย่างไร?” นำไปสู่วัตถุประสงค์ของการวิจัยในการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างการสัมปทานป่าไม้กับการก่อรูปของเรือนพักอาศัยในเมืองลำปางและเมืองแพร่ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยภาคสนาม ประชากรในการวิจัยคือ เรือนพักอาศัยในช่วงสัมปทานป่าไม้ในเมืองลำปางและเมืองแพร่ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย เรือนคัดสรรในเมืองลำปาง จำนวน 21 หลัง และเรือนคัดสรรในเมืองแพร่ จำนวน 21 หลัง วิธีการเก็บข้อมูลใช้การสำรวจ รังวัด การสังเกตการณ์ระยะยาว และสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยด้วยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เนื่องจากงานวิจัยนี้จัดอยู่ในประเภทงานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (historical research) จึงเน้นการวิเคราะห์ตามลำดับเหตุการณ์ (chronological analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (comparative analysis) เข้าด้วยกัน งานวิจัยนี้นำไปสู่ข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องความหลากหลายของเรือนคัดสรรในพื้นที่ศึกษา สามารถจำแนกรูปแบบออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม คือ เรือนไม้แบบดั้งเดิม และกลุ่มสถาปัตยกรรมแบบประยุกต์ คือ เรือนไม้ประยุกต์แบบมีเฉลียงรอบ เรือนไม้ประยุกต์แบบประดับไม้ฉลุลาย เรือนไม้ประยุกต์พื้นที่ใช้สอยแบบอิทธิพลตะวันตก และเรือนไม้ประยุกต์พื้นที่ใช้สอยแบบเรือนดั้งเดิม นอกจากนี้สามารถระบุลักษณะร่วมและลักษณะเฉพาะของเรือนรูปแบบต่างๆในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะร่วมและลักษณะเฉพาะดังกล่าว ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อลักษณะร่วม ได้แก่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น คติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ไม้ 2) ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ทิศทางการวางแกนเมือง นโยบายด้านกิจการป่าไม้ของกลุ่มเจ้านายท้องถิ่น 3) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อลักษณะร่วม ได้แก่ การเมืองการปกครองของรัฐบาลสยาม การใช้วัสดุสมัยใหม่  และ 4) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อลักษณะเฉพาะ ได้แก่ การเมืองการปกครองของรัฐบาลสยาม การเข้ามาของคนต่างถิ่น ช่างก่อสร้าง และการก่อสร้าง
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2160
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58057203.pdf22.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.