Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2164
Title: A Study for Comparing the Development of Connected Area between Bangkok and Nonthaburi Provinces: The Case of Chaengwattana Area 
การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาพื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี กรณีศึกษาย่านแจ้งวัฒนะ
Authors: Sakoltorn YOOYUED
สกลธร อยู่ยืด
Singhanat Sangsehanat
สิงหนาท แสงสีหนาท
Silpakorn University. Architecture
Keywords: การใช้ประโยชน์ที่ดิน
การใช้ประโยชน์อาคาร
แจ้งวัฒนะ
Land Use
Building Use
Chaengwattana
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The expansion of city from past to present makes in a transitional area between Bangkok and Metropolitan became the same community. While the same urban areas are under terms of the administration and law courses are different. This has impact of land use between the two territories. The issue brings to study and research with focus of land use and building in terms of types, proportions, changes, density, including urban planning laws and comparative building between Nonthaburi and Bangkok within the parallel period of 2,500 meters on both sides of the road. To find that the use of land and building is coincident or different under terms of administration and law courses are different. The study found the use of land and building of Chaengwattana between Nonthaburi and Bangkok under the administration and law courses are different. Nonthaburi can develop in proportion than Bangkok causing density of land use activities that are dense and concentrated with strict rules of city plan is control over. Expansion of urban areas has grown dramatically in the metropolitan area plan of measures could not stop the expansion into suburban and important is causing the expansion of city quickly and without direction. Results led to guide the management of problems is proposing a master plan provide framework for development of community same direction and provide agency with mission of urban areas between the Metropolitan to make data synchronization. Planning is more consistent lead to the prevention of the expansion of the city without direction effectively.
การขยายตัวของเมืองนับจากอดีตถึงปัจจุบันส่งผลให้พื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกลายเป็นพื้นที่ชุมชนเดียวกัน ในขณะที่พื้นที่ซึ่งมีความเป็นชุมชนเมืองหนึ่งเดียวกันนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขของเขตการบริหารการปกครองและกฎหมายทางผังเมืองที่มีความแตกต่างกัน จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างพื้นที่ทั้งสองเขตการปกครอง ประเด็นปัญหาดังกล่าวนำมาสู่การศึกษาและวิจัยที่มุ่งศึกษาข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารทั้งในมิติด้านประเภท สัดส่วน การเปลี่ยนแปลง ความหนาแน่น รวมถึงกฎหมายทางผังเมืองและอาคารเปรียบเทียบระหว่างเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและเขตกรุงเทพมหานคร พื้นที่ภายในเส้นขนานระยะ 2,500 เมตร ทั้งสองฝั่งของถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อค้นหาว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารมีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไรภายใต้เงื่อนไขของเขตการบริหารการปกครองและกฎหมายทางผังเมืองที่มีความแตกต่างกัน การศึกษาพบว่าลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารของชุมชนย่านแจ้งวัฒนะระหว่างเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและเขตกรุงเทพมหานครภายใต้เขตการบริหารการปกครองและกฎหมายทางผังเมืองที่มีความแตกต่างกัน มีลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารแตกต่างกัน โดยพื้นที่ในฝั่งจังหวัดนนทบุรีสามารถพัฒนากิจกรรมประเภทต่างๆ ได้ในสัดส่วนที่มากกว่ากรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดความหนาแน่นของกิจกรรมการใช้ที่ดินที่หนาแน่นและเข้มข้นมากกว่า ด้วยปัจจัยของข้อกฎหมายทางผังเมืองที่มีความเข้มงวดและระดับการควบคุมที่น้อยกว่า การขยายตัวของชุมชนเมืองจึงมีการเติบโตในพื้นที่ปริมณฑลอย่างมาก มาตรการทางผังเมืองของกรุงเทพมหานครไม่สามารถยับยั้งการขยายตัวออกสู่พื้นที่ชานเมืองได้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วและไร้ทิศทาง ผลการศึกษาดังกล่าวได้นำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการวางแผนบริหารจัดการเมือง คือเสนอให้มีแผนแม่บทซึ่งเป็นผังนโยบายระดับภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อเป็นกรอบในการชี้นำการพัฒนาให้ชุมชนเมืองไปในทิศทางเดียวกัน และเสนอให้พื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑลอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของกฎหมายการผังเมืองฉบับเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การประสานข้อมูลและการวางผังเมืองมีความสอดคล้องกันมากขึ้นเพื่อป้องกันปัญหามาตรการทางผังเมืองที่ขัดแย้ง นำไปสู่การป้องกันการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทางอย่างมีประสิทธิภาพ
Description: Master of Urban and Environmental Planning (M.U.E.P)
การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2164
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58058316.pdf22.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.