Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2168
Title: | Architectural elements formed by the fear of human องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นจากความกลัวของมนุษย์ |
Authors: | Kanokwan PIPAKSAMUT กนกวรรณ พิภักดิ์สมุทร Nantapon Junngurn นันทพล จั่นเงิน Silpakorn University. Architecture |
Keywords: | ความกลัว องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม การรับรู้ Fear Architectural elements Perception |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | "Fear" is the basic human emotion that comes from perceiving the threat of life. This causes brain changes and organ function. And finally change the behavior.
"Fear" is a response to the "stimulus" that occurs in the present or future situation, which human beings perceive as a health risk or life, status, power, security, or wealth. Or any value that can be controlled or avoided. Fear response is a mechanism that leads to confrontation, prevention, or avoidance of threats to struggle for survival in a situation or situation. This is the basic mechanism of survival for one specific stimulus.
Threats that cause insecurity, which are factors or triggers that make human beings struggling to survive, are classified as "external threats," a threat posed by external environments, such as people, animals, organisms, and natural disasters. "Threat of internal factors", which is a threat of mental behavior, emotion, experience, threats from external factors. These limits are specific to a human urge to create space and architectural elements in the struggle to survive the threat. The purpose of this study is to investigate and test how space and architectural elements can be shaped by human fear. Space and architectural elements are formed by physical factors and psychological factors. This article is part of a thesis on the architectural elements arising from human fear. Master of Architecture Program Architectural. “ความกลัว” เป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ที่เกิดจากการรับรู้ภัยคุกคามของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมองและการทำงานของอวัยวะ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด ซึ่งแท้จริงแล้วมนุษย์ทุกคนมี “ความกลัว” แฝงอยู่ในจิตใจ โดยแสดงออกในรูปแบบต่างๆ เช่น ทางสีหน้า ทางอารมณ์ หรือ ทางพฤติกรรม ความกลัวอาจถูกแปลงค่าและแสดงออกทางอาการในลักษณะหวาดกลัว หรือหวาดระแวงต่อความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งความกลัวนั้นมีความหมายใกล้เคียงกับ "ความกังวล" แต่แตกต่างกัน โดยความกังวลเกิดขึ้นเป็นผลจากภัยคุกคามที่รับรู้ว่าควบคุมไม่ได้หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่ความกลัวเป็นผลจากภัยคุกคามที่รับรู้ว่าควบคุมได้หรือหลีกเลี่ยงได้ “ความกลัว” จึงเป็นการตอบสนองต่อ “ตัวกระตุ้น” ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือในอนาคต ซึ่งมนุษย์รับรู้ว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิต สถานภาพ อำนาจ ความปลอดภัย หรือความมั่งคั่ง หรือสิ่งมีค่าใด ๆ ที่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้ การตอบสนองความกลัวจึงเป็นกลไกที่นำไปสู่การเผชิญหน้า การป้องกัน หรือการหลบหลีกจากภัยคุกคามเพื่อดิ้นรนต่อการเอาตัวรอดในสถานการณ์หรือในภาวะการณ์ที่เกิดขึ้น นับเป็นกลไกพื้นฐานในการเอาตัวรอดต่อสิ่งกระตุ้นสิ่งหนึ่งที่จำเพาะ ซึ่งในอดีตจากพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีวิวัฒนาการของการป้องกันตัวเองจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเพื่อป้องกันตัวเองจากสิ่งที่ทำให้กลัวหรือรู้สึกไม่ปลอดภัย จากเคยอาศัยอยู่ในถ้ำ อยู่ใต้ดิน และอยู่บนดิน โดยสร้างสิ่งปลกคลุมตัวเองเพื่อป้องกันตัวเองจากสภาพแวดล้อมภายนอก ภัยคุกคามที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยซึ่งเป็นปัจจัย หรือ ตัวกระตุ้นที่ทำให้มนุษย์ดิ้นรนเอาตัวรอด แบ่งได้เป็น “ภัยคุกคามจากปัจจัยภายนอก” ซึ่งเป็นภัยคุกคามจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น คน สัตว์ สิ่งมีชีวิต ภัยธรรมชาติ และ “ภัยคุกคามจากปัจจัยภายใน” ซึ่งเป็นภัยคุกคามจากพฤติกรรม จิตใจ อารมณ์ความรู้สึก ประสบการณ์ ซึ่งภัยคุกคามจากปัจจัยภายนอกที่จำเพาะเจาะจงจะเป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์สร้างพื้นที่และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมเพื่อดิ้นรนในการเอาตัวรอดจากภัยคุกคามนั้น โดยในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าและทดลองว่าพื้นที่และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมสามารถก่อรูปจากความกลัวของมนุษย์ได้อย่างไรบ้าง |
Description: | Master of Architecture (M.Arch) สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2168 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59054205.pdf | 5.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.