Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/222
Title: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างจริยธรรมองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Other Titles: THE CAUSAL RELATIONSHIP MODEL BETWEEN ETHICAL ORGANIZATION AND ORGANIZATIONAL CITIZENSHIP BEHAVIOR ON ACADEMIC PERFORMANCE OF RAJABHAT UNIVERSITY LECTURER
Authors: ปานยินดี, จันจิราภรณ์
Panyindee, Janjirapon
Keywords: จริยธรรมองค์การ
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ
ผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ
ETHICAL ORGANIZATION
ORGANIZATIONAL CITIZENSHIP BEHAVIOR
ACADEMIC PERFORMANCE
Issue Date: 10-May-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) จริยธรรมองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างจริยธรรมองค์การ และพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) แนวทาง การพัฒนาจริยธรรมองค์การ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยแบบสอบถามกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 720 คน และวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีปรากฏการณ์วิทยา สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเกี่ยวกับจริยธรรม จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 2 อันดับ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลวิจัยพบว่า 1.จริยธรรมองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2.โมเดลการวัดจริยธรรมองค์การ ประกอบด้วย วัฒนธรรมองค์การทางจริยธรรม โปรแกรมจริยธรรม และภาวะผู้นำทางจริยธรรม โมเดลการวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ประกอบด้วย พฤติกรรมมุ่งเน้นนักศึกษา พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ และการพัฒนาวิชาชีพ และโมเดลการวัดผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ ประกอบด้วย การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 3.รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างจริยธรรมองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (P-value of Chi-square = 0.000, CMIN/DF = 2.245, GFI = 0.908, TLI = 0.949, CFI = 0.953, NFI = 0.919, RMSEA = 0.042, Critical N = 352) ซึ่งจริยธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานทางวิชาการและมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานทางวิชาการผ่านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การ จริยธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ 4.แนวทางการพัฒนาจริยธรรมองค์การ ได้แก่ ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมองค์การ และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี กำหนดวัฒนธรรมองค์การทางจริยธรรมและกิจกรรมที่ส่งเสริมจริยธรรม โดยเปิดโอกาสให้อาจารย์ได้มีส่วนร่วม เชื่อมโยงจริยธรรมกับระบบการทำงาน โดยเฉพาะระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมทั่วทั้งองค์การและใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย และมีระบบการให้รางวัลและการลงโทษ ประโยชน์ของการวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางการกำหนดนโยบายและจัดทำเกณฑ์มาตรฐานจริยธรรมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและมีผลการปฏิบัติงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น The objectives of this research were to study 1) the ethical organization, organizational citizenship behavior (OCB), and the academic performance, 2) the causal relationship between ethical organization and OCB on academic performance of Rajabhat University lecturer and 3) the approaches of the ethical organization development. This research was a mixed method. The quantitative research was used for examining the casual relationship. The questionnaire was used as the tool for data collection from 720 Rajabhat University lecturers. For the qualitative research, the phenomenological research was used by the in-depth interview. Moreover, the ten qualify lecturers with high reputation of the ethical performance, were interviewed. The data was analyzed by the method of second order confirmatory factor analysis and structural equation modeling. The results indicated as follows: 1. Ethical organization, OCB and academic performance were rated at the high level. 2.The measurement model of ethical organization consisted of ethical culture, ethical program and ethical leadership. The measurement model of OCB consisted of student – directed behavior, civic virtue, and professional development. The measurement model of academic performance consisted of teaching, research, academic service and culture assertion. 3.The causal relationship model between ethical organization and OCB on academic performance of Rajabhat University lecturer was congruent with the empirical data (P-value of Chi-square = 0.000, CMIN/DF = 2.245, GFI = 0.908, TLI = 0.949, CFI = 0.953, NFI = 0.919, RMSEA = 0.042, Critical N = 352). In addition, ethical organization had direct effect on academic performance and indirect effect through OCB. Moreover, ethical organization had direct effect on OCB and OCB had direct effect on academic performance. 4. The approaches of ethical organization development were suggested from the qualify lecturers as; the awareness of ethics and role model of leader, creating ethical culture and activities by participative lecturers, linking between ethics and work system especially human resource management system, communicating for the understanding of ethics throughout organization by using various communication channels, reward as well as punishment system. The benefits of this research can provide an approach to determine policy and create criteria of standard ethics for supporting OCB which can increase academic performance.
Description: 55604803 ; สาขาวิชาการจัดการ -- จันจิราภรณ์ ปานยินดี
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/222
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55604803_จันจิราภรณ์ ปานยินดี.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.