Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2228
Title: THE DEVELOPMENT OF EXERCISE PROBLEM SOLVING ABILITY BY USING KWDL TECHNIQUE TOGETHER WITH FLIPPED CLASSROOM TO FOR THE STUDENTS IN FOURTH GRADE
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL  ร่วมกับแนวคิด  Flipped Classroom  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Authors: Saranjit AONPA
สราญจิต อ้นพา
chanasith Sithsungnoen
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน
Silpakorn University. Education
Keywords: แบบฝึกทักษะ
เทคนิค KWDL
แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน
ความสามารถในการแก้ปัญหา
EXERCISES SOLVING MATHEMATIC PROBLEM
KWDL TECHNIQUE
FLIPPED CLASSROOM
PROBLEM SOLVING ABILITY
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were 1.To assess the fundamental and needs for development of exercises for solving mathematic problems by using KWDL technique together with Flipped Classroom for the students in fourth grade. 2.To develop exercises for solving mathematic problems by using KWDL technique together with Flipped Classroom for the students in fourth grade. 3.To compare learning outcomes of fourth grade students before and after using of mathematic problem solving exercises, using KWDL technique together with Flipped Classroom 4.To study mathematics problem solving ability of fourth grade students after using of mathematic problem solving exercises, using KWDL technique together with Flipped Classroom 5.To study students’ opinion in mathematic problem solving exercises using KWDL technique together with Flipped Classroom. The sample was 37 students in exercises for solving mathematic problems by using KWDL technique together with Flipped Classroom for the students in fourth grade who are studying in the first semester 2018 academic year, the demonstration school of Silpakorn Univercity (Early Childhood and Elementary).The research instruments were 1. Problem solving exercise 2. Lesson plan 3. Learning outcome test before and after study 4. Problem solving ability tests 5. The questionnaires about the student’s opinion toward the exercise. The statistical analysis employed were percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis. The results of the study 1) The student and mathematic teachers have realized the significance of exercise.The exercise includes the significant components such as title, introduction, direction, content, objective, exercise, pretest and post-test. 2) The result of development of exercise in mathematic according to stand criterion 82.46/80.95 higher than 80/80.  3) Learning outcome on using exercise were statistically significant different at .05 level. The mean scores of students’ learning outcome on using exercise after the learning were higher than before the learning 4) The problem solving of students have good level.  5) The opinion have good attitudes toward the exercises problem solving.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด  Flipped Classroom  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด  Flipped Classroom  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  3) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ของนักเรียน โดยการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด  Flipped Classroom  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  4) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด  Flipped Classroom  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด  Flipped Classroom  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) จำนวน  1 ห้องเรียน โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากห้องเรียน คือ นักเรียนชั้น ป.4/1 จำนวน 37 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บวก ลบ คูณ หาร สราญสุข  2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด  Flipped Classroom  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ประกอบด้วย แผนปฐมนิเทศ  จำนวน 1 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง   แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง และ แผนสรุปเนื้อหา จำนวน 1 แผน  แผนละ 1 ชั่วโมง  รวมทั้งหมด 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เห็นความสำคัญต่อการใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้  โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด  Flipped Classroom  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเห็นว่าแบบฝึกทักษะควรประกอบด้วย ชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ คำชี้แจง คำแนะนำในการใช้แบบฝึกทักษะ จุดประสงค์การทำแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบหลังเรียน แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา เฉลย และบรรณานุกรม 2) แบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค  KWDL ร่วมกับแนวคิด The Flipped Classroom เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 82.46/80.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80  3) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะ พบว่าผลการเรียนรู้หลังใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ความสามารถในการแก้ปัญหาหลังใช้แบบฝึกทักษะ พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนอยู่ในระดับดี  5) ความคิดเห็นของนักเรียนต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด  Flipped Classroom  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากทุกด้าน
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2228
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57253204.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.