Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2232
Title: | PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY BLENDED TECHNOLOGIES TO ENHANCE THE COMPETENCY OF LEARNING MANAGEMENT BY ART BASED EDUCATION AND IMPROVE THE SKILLS OF CREATIVE INNOVATION CREATION FOR ELEMENTARY STUDENTS ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพโดยผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา |
Authors: | Suwimon SAPHUKSRI สุวิมล สพฤกษ์ศรี MAREAM NILLAPUN มาเรียม นิลพันธุ์ Silpakorn University. Education |
Keywords: | ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูโดยผสมผสานเทคโนโลยี สมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม A PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY BLENDED TECHNOLOGIES A COMPETENCY OF LEARNING MANAGEMENT FOR ART BASED LEARNING A COMPETENCY OF INNOVATION CREATION |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The research aimed to 1) develop and find a quality of professional learning community blended technologies to enhance the competency of learning management by Art Based Education and improve the skills of creative innovation creation for elementary students 2) study an effectiveness of professional learning community blended technologies to enhance the competency of learning management by Art Based Education and improve the skills of creative innovation creation for elementary students. The design of this research was Research and Development : R&D with Mixed Methods Research (The Embedded Design).The samples were 12 teachers and 216 students from Grade 1st – 6th at The Demonstration School of Silpakorn University (Early Childhood and Elementary) who were studying in the first semester of 2561 academic year. A duration in this research was in the first semester of 2561 academic year. Data analysis used for basic statistic were Mean, Standard Deviation, t-test (Dependent).
The research yielded the following results: 1. The Model developed in this research is called “IDEA Model”. The operational process with 4 steps :1)Inspiration : I, 2) Destination : D, 3) Empowering : E, 4) Action: A.The efficiency of this model was 85.56/86.67. 2. The effectiveness of model was found that 1) after participating the professional learning community, the teachers’ understanding of Art based Learning and the professional learning community is higher than before in the .05 level of statistical significance 2) the teachers could develop the learning management thru Art based Learning that enhanced an ability of creation for innovations thru the evaluation of Art based learning by Expert Coaching, Peer Coaching, and Executive Coaching was higher 3) the result from teachers’ opinion was in High level. Considering to each topic found that the highest average scores was on a pattern organization, a result of pattern’s usage, and an application respectively. 4) the result of overall students’ innovation evaluation after studying was higher respectively. 5) the students’ satisfaction was in High level, and the highest average score was on the evaluation, learning activities, learning atmosphere. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพโดยผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา2) ศึกษาประสิทธิผลของชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพโดยผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ที่มีลักษณะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embeded Design) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 12 คน และนักเรียน จำนวน 216 คน จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยเริ่มทำการวิจัยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test)แบบ Dependent ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) รูปแบบชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพฯ ที่พัฒนามีชื่อว่า “IDEA Model” ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างแรงบันดาลใจ ( Inspiration : I ) ขั้นที่ 2การกำหนดเป้าหมาย (Destination : D ) ขั้นที่ 3 การเสริมสร้างพลังการสอน(Empowering:E) ขั้นที่ 4 การทบทวนและปรับปรุงพัฒนา (Action : A) ทั้งนี้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีการให้คำแนะนำช่วยเหลือ (Coaching) การเป็นผู้ดูแลให้คำปรึกษา( Mentoring) การสะท้อนผลแลกเปลี่ยนความคิดเห็น(Reflection) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ (Evolution) ผ่านเทคโนโลยีในกระบวนการ ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพฯ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงทำให้รูปแบบประสบความสำเร็จ รูปแบบมีประสิทธิภาพเท่ากับ85.56/86.67 2) ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 1) หลังการพัฒนาชุมชนชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพฯครูมีผลการถอดบทเรียนความรู้ความเข้าใจสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ครูมีพัฒนาการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยใช้แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน โดยการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert Coaching) และการโค้ชแบบเพื่อนร่วมวิชาชีพ (Peer Coaching) และการโค้ชโดยผู้บริหาร ( Executive Coaching) มีพัฒนาการในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวสูงขึ้น 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของครู มีระดับความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านองค์ประกอบของ 4) ผลการประเมินทักษะการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียนโดยภาพรวม คะแนนเฉลี่ยประเมินความสามารถหลังเรียนครั้งที่ 1 –4 มีพัฒนาการสูงขึ้นตามลำดับ5) ผู้เรียนมีความคิดเห็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2232 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57253801.pdf | 7.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.