Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2254
Title: APPROPRIATE SOCIAL NETWORK BEHAVIOR OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN MUANG SONGKHLA PROVINCE
พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
Authors: Janjira KAEWKHWAN
จันจิรา แก้วขวัญ
NONGNUCH ROTJANALERT
นงนุช โรจนเลิศ
Silpakorn University. Education
Keywords: พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสม, การควบคุมตนเอง, การเลียนแบบเพื่อน, การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว, การได้รับแรงสนับสนุนจากโรงเรียน
APPROPRIATE SOCIAL NETWORK BEHAVIOR
SELF-REGULATION
IMITATION BEHAVIOR FROM FRIENDS
SOCIAL SUPPORT FROM FAMILY
SOCIAL SUPPORT FROM SCHOOL
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were 1) to study the level of appropriate Social Network behavior, self-regulation, imitation behavior from friends, social support from family and social support from school of students 2) to compare appropriate Social network behavior, sex, educational level, living condition, the average income of student and number of social network user and 3) to study self-regulation, imitation behavior from friends, social support from family and social support from school as the affect to appropriate social network behavior. The subjects were 383 students of secondary school students in Muang district, Songkhla province. Derived by a stratified random sampling technique. Instrument used to collect data was questionnaires constructed by the researcher. Data was expressed as percentage, mean, and standard deviation. The statiscal analysis was performed by t-test, One-Way ANOVA and stepwise multiple regression analysis. The results of this research were as follows: 1. Self-regulation was at high level social support from family, social support from school and appropriate Social Network behavior were at moderate level. 2. Appropriate Social Network behavior of students as classified by, sex, educational level, number of social network user was different with statistical significance at .05. However, when it was classified by living condition, the average income of student was not significantly different. 3. Social support from school, imitation behavior from friends, self-regulation and social support from family, predicted the appropriate Social Network behavior of students at percentage of 48.0 with statistical significance of .05.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง เหมาะสมของนักเรียน การควบคุมตนเอง การเลียนแบบเพื่อน การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากโรงเรียน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง เหมาะสมของนักเรียน จำแนกตาม เพศ ระดับชั้น การพักอาศัย ค่าใช้จ่ายที่นักเรียนได้รับในแต่ละเดือน และจำนวน เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้ 3) ศึกษาการควบคุมตนเอง การเลียนแบบเพื่อน การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจาก ครอบครัว และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากโรงเรียน เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัด สงขลา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 383 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One –Way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนมีการควบคุมตนเองอยู่ในระดับมาก ส่วนการเลียนแบบเพื่อน การได้รับแรงสนับสนุน ทางสังคมจากครอบครัว การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากโรงเรียน และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์อย่างเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง 2. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียน จำแนกตามเพศ ระดับชั้น จำนวนเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตาม การพักอาศัย ค่าใช้จ่ายที่นักเรียนได้รับในแต่ละเดือนพบว่าไม่แตกต่างกัน 3. การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากโรงเรียน การเลียนแบบเพื่อน การควบคุมตนเอง และ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ร่วมกันเป็นตัวทำนายพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างเหมาะสมของนักเรียนได้ ร้อยละ 48.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2254
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57256307.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.