Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/226
Title: การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของบัณฑิตในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาที่มีอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์
Other Titles: CREATIVE THINKING DEVELOPMENT OF UNDERGRADUATES IN THE HIGHER EDUCATION INSTITUTE WITH CREATIVE IDENTITY
Authors: ดีเลิศ, สิริชัย
Deelers, Sirichai
Keywords: ความคิดสร้างสรรค์
อุดมศึกษา
อัตลักษณ์
นวัตกรรม
CREATIVE THINKING
HIGHER EDUCATION
IDENTITY
INNOVATION
Issue Date: 28-Dec-2558
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และประเมินกระบวนการพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความคิดสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ขององค์การ นวัตกรรม นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และระดับความคิด สร้างสรรค์ของบัณฑิตในหลักสูตรแต่ละคณะวิชา ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิธีการศึกษา เป็นแบบแผนการวิจัยผสานวิธี โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ ข้อมูลหลัก จำนวน 26 คน จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้กระบวนการพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ด้วยวิธีของทฤษฎีฐานราก และหาข้อสรุปเชิงทฤษฎี และนำเครื่องมือที่ได้ประเมินองค์กร นวัตกรรม นวัตกรรมเทคโนโลยี และกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ใช้หน่วยวิเคราะห์คือ หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์ในหลักสูตรของแต่ละคณะวิชา และประเมินระดับความคิดสร้างสรรค์ ของบัณฑิตแต่ละหลักสูตรโดยใช้กลุ่มตัวอย่างบัณฑิตที่จบการศึกษา 2557 นำข้อมูลทั้ง 2 ชุด มา ประมวลผลร่วมกันได้จำนวน 70 หลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์เชิงซ้อน การวิเคราะห์การสมนัยอย่างง่าย และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การพัฒนา ความรู้ 2) การพัฒนาทักษะและทัศนคติ 3) การสร้างความคิด 4) การประยุกต์ใช้ความคิด และ 5) การ สร้างอัตลักษณ์ มีจำนวน 26 ตัวบ่งชี้ เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกระบวนการพัฒนาความคิด สร้างสรรค์สามารถวัดได้จากตัวแปรสังเกตในแต่ละขั้นตอน และองค์การนวัตกรรมสามารถอธิบายได้ด้วย ตัวแปรสังเกต คือ วิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำ องค์การแห่งการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม การพัฒนาบุคลากร บรรยากาศในการสร้างนวัตกรรม ปัจจัยด้านเครือข่ายภายนอก เมื่อวิเคราะห์สมการโครงสร้างความสัมพันธ์ขององค์การนวัตกรรมส่งผลต่อระดับความคิดสร้างสรรค์ของ บัณฑิต และกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถส่งผลต่อระดับความคิดสร้างสรรค์ของ บัณฑิตได้ ซึ่งบัณฑิตที่มีระดับความคิดสร้างสรรค์ที่ในระดับดี คือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพ พิมพ์ มัณฑนศิลป์ เภสัชศาสตร์ ดุริยางศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจัยด้าน รายได้มารดา อาชีพบิดา สาขาวิชา คณะวิชา และหลักสูตรที่จบการศึกษาส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของ บัณฑิต The study aims to 1) develop indicators of creative thinking development process; 2) analyze factors which affect levels of creativity of undergraduate students; and 3) study the relationship between the innovative organization and the technological innovation which have an impact on creative thinking process and the levels of creativity of undergraduate students in each faculty, Silpakorn University This research is an integrated research, using mixed method, i.e. in-depth interviews and questionnaires. 26 in-depth interviews of professors and administrators were conducted to develop questionnaires based on developing the indicators of creative thinking development process in accordance with a grounded theory, making theoretical conclusions, applying them to the evaluation of the innovative organization, technological innovation and creative thinking development process. The sample of the questionnaires included lecturers of each program of each faculty who act as a representative of each curriculum. Moreover, undergraduate students in the academic year 2014 were the samples who provided data to evaluate the levels of creativity of undergraduate students of each program. The data collected from both data source revealed the number of the programs in Silpakorn University included 70 programs. The collected data were analyzed by using Mean, Standard Deviation (S.D.), One – Way ANOVA, Multiple Comparisons, Simple Correspondence Analysis and Structural Equation Model (SEM). The findings revealed that there were 5 stages of creative thinking development process 1) Knowledge development; 2) attitude and skill development; 3) thinking creation; 4) thinking application; and 5) identity development. There were also 26 indicators. According to the analysis of confirmatory elements, the creative thinking development process could be explained by observatory factor, i.e. Shared Vision, Appropriate Structure, Leadership, Learning Organization, Effective Team Working, Personal Development, Work Climate, and Co-Creation. Furthermore, the analysis of equation of correlation between the innovative organization towards the levels of creativity of undergraduate students and the creative thinking development process which could affect the levels of undergraduate students’ creativity presented that undergraduate students who had the high levels of creativity included those who were from the Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts, Faculty of Decorative Arts, Faculty of Pharmacy, Faculty of Music, and Faculty of Information and Communication Technology. The factors which affect undergraduate students’ creativity included mothers’ income, fathers’ occupation, programs, faculties and curriculum.
Description: 54604708 ; สาขาวิชาการจัดการ -- สิริชัย ดีเลิศ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/226
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สิริชัย.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.