Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2270
Title: | THE STRATEGIES OF CREATING A PARTNERSHIP NETWORK IN THE EDUCATIONAL MANAGEMENT OF LOCAL GOVERNMENT ยุทธศาสตร์การสร้างภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
Authors: | Peeraphat RUNGRUANG พีรพัฒน์ รุ่งเรือง WANNAWEE BOONKOUM วรรณวีร์ บุญคุ้ม Silpakorn University. Education |
Keywords: | ยุทธศาสตร์การสร้างภาคีเครือข่าย การจัดการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น STRATEGIES OF CREATING A PARTNERSHIP NETWORK EDUCATIONAL MANAGEMENT LOCAL GOVERNMENT |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to 1) study the participation of partnership network in the local educational management, 2) study the best practices in the local educational management,
3) analyze the external and internal environment of the local educational management, and 4) present
the strategies network building in the local educational management. The mixed methods research
combined quantitative method and the qualitative method. The qualitative method applied
questionnaires to correct data with administrators, staff and educational committees. The municipal
schools in local education province group 4th. The sample were 36 municipal schools with the total of
252 people. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. In relation to the qualitative research, in-depth interviews with three schools have the best practices in the educational management, five educational experts and the arranged connoisseurship meetings with nine experts.
The collected data were analyzed by content analysis.
The findings of the research were as follows: 1) The participation of partnership
network in educational management, as a whole and as an individual, were found at a high level.
2) The study of the best practices found that, the administrators should start to improve their moral, ethics, adhere to the principles management by using good governance and sufficiency philosophy, provide effective management, good management skills, building internal and external network and supporting all steps of network participation. 3) Result of environment analysis found that the external environment (PESTE) policies and politics promoted and supported in setting up roles and decentralization, as well as helping to build an effective network. As for the internal environment (4M+7S), it was found that there were enough personnel with knowledge following their professional autonomy, budget and material support, appropriated corporate strategy. 4) The strategies of creating a partnership network to five strategic consisted of: (1) establishing relationship between network and school, (2) participation encouragement between network and school, (3) potential development of strong network, (4) establishing and transferring to of the educational network and (5) maintaining network to be sustainable. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) เสนอยุทธศาสตร์การสร้างภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้บริหารสถานศึกษา พนักงานครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 4 จำนวน 36 โรง รวม 252 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาโรงเรียนที่มีภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาได้อย่าง เป็นเลิศ จำนวน 3 โรง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน การจัดประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา พบว่า แนวทางการสร้างภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษา วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ พบว่า ควรเริ่มจากผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดหลักธรรมาภิบาลและ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหาร จัดระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพ มีทักษะการบริหารที่ดี สร้างภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารทุกขั้นตอน 3) ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน พบว่า การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (PESTE) พบว่า นโยบายและการเมืองช่วยส่งเสริม สนับสนุน การกำหนดบทบาท การกระจายอำนาจ ช่วยทำให้การสร้างภาคีเครือข่าย มีประสิทธิภาพ และผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (4M+7S) พบว่า บุคลากรมีความรู้ความสามารถและเพียงพอ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ มีวัสดุเพียงพอ มีกลยุทธ์องค์กรที่สอดคล้องและเหมาะสม และ 4) ยุทธศาสตร์การสร้างภาคีเครือข่ายฯ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาคีเครือข่ายกับสถานศึกษา 2) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายกับสถานศึกษา 3) การพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง 4) การสร้างและเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายทางการศึกษา และ 5) การธำรงรักษาภาคีเครือข่ายให้ยั่งยืน |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2270 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57260913.pdf | 8.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.